หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

5 มหาวิทยาลัยจบแล้วมีงานทำ100%

เนื้อหาโดย ote1986

วันเรามาแนะนำมหาวิทยาลัยยอดนิดยมให้กับน้องๆที่กำลังจะศึกษาต่อแต่ยังไม่รู้จะต่อมหาลัยไหนดี เรามาดูกันเลยคับ 5 มหาวิทยาลัยเรียนจบมาแล้วได้งานสูง

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก. – KU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ แรกเริ่มเป็น โรงเรียนช่างไหม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่และโรงเรียนกรมคลองเป็น โรงเรียนเกษตราธิการ และถูกยุบรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรีอนฯ ในปี พ.ศ. 2456 ต่อมาได้รับการก่อตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2460 ในนาม โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม และได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถัดจากนั้นมา รัฐบาลได้ปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกษตรกลาง บางเขน กับโรงเรียนวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ และสถาปนาเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2486 ระยะแรก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ บริหารธุรกิจ และงานบริการ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

การประเมินของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาการจัดการศัตรูพืช (Pest Management) จากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร อีกทั้งยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจากกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย

   ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี 3 วิทยาเขตได้แก่ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ทั้งยังมีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีอีกหนึ่งแห่งด้วย เปิดการสอน 29 คณะ 2 วิทยาลัย และสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง มีหลักสูตร 583 หลักสูตร เป็นหลักสูตรนานาชาติ 42 หลักสูตร นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ หลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อังกฤษ: Chulalongkorn University; อักษรย่อ: จฬ. หรือ จุฬาฯ – CU or Chula) เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 โดยมี "พระเกี้ยว" เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และได้รับเลือกให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 โดยผู้จัดอันดับหลายสำนัก หนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) และเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU) ในส่วนของการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษานั้นพบว่า ผู้สมัครสอบที่ทำคะแนนรวมสูงสุดในแต่ละปีส่วนใหญ่เลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วย 19 คณะ 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน จำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 506 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 113 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 393 หลักสูตร ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai University; อักษรย่อ: มช. – CMU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคและเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่หกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2507 ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการจัดการศึกษาและการวิจัยครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตร สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 21 คณะ 3 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 8 สถาบันโดยมีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะจำนวน 340 หลักสูตร ในระดับปริญญาตรี มีการจำแนกหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข และหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และแบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากกระทรวงศึกษาธิการ เป็น 1 ใน 7 สมาชิกเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย Research University Network (RUN) เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Network (AUN) และเป็นสมาชิก Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University; อักษรย่อ: มข. – KKU) เดิมชื่อมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มภน.)[5] เป็นสถาบันอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 10 และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 7 ของประเทศไทย ปัจจุบันอายุ 60 ปี ถือกำเนิดมาจากสถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น (K.I.T) ในปี พ.ศ. 2505 ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2507 และได้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 จนกระทั่งปีพ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจากกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558 มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่นการจัดการเรียนการสอนนั้นครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ใน 19 คณะ 4 วิทยาลัย 2 บัณฑิตวิทยาลัยทั้งวิทยาเขตขอนแก่นและวิทยาเขตหนองคาย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศทางด้านการเรียนการสอน และดีเยี่ยมทางด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 330 หลักสูตร แบ่งได้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก 72 หลักสูตร ปริญญาโท 129 หลักสูตร ปริญญาตรี 105 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 24 หลักสูตร โดยสัดส่วนสาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีกับระดับบัณฑิตศึกษา เท่ากับ 3.0 : 7.0 และเป็นหลักสูตรนานาชาติ/ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 11.21 มีนักศึกษาอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้วประมาณ 39,000 คน และมีบุคลากรสายวิชาการ 2,075 คน มีตำแหน่งทางวิชาการ ระดับศาสตราจารย์ 32 คน รองศาสตราจารย์ 508 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 619 คน และอาจารย์ 916 คน เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอัตราการสอบแข่งขันเข้าเรียนมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat University; อักษรย่อ: มธ. – TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (อังกฤษ: The University of Moral and Political Sciences; อักษรย่อ: ม.ธ.ก. – UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผู้ประสาสน์การและอธิการบดีมาแล้ว 23 คน อธิการบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ และนายกสภามหาวิทยาลัย คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558" ซึ่งได้มีผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอีก 30 วันต่อมา

มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบไปด้วย 19 คณะ 4 วิทยาลัย 1 สถาบัน 1 สำนักวิชา จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 297 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 139 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 6 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร ปริญญาโท 118 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ (ข้อมูล พ.ศ. 2557–2558 นอกจากนี้ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย

เราหวังว่าข้อมูลข้าต้นนี้จะเป็นแนวคิดสมทบในการตัดสิ้นใจของน้องๆในการเลือกมหาวิทยาลัยกันไม่มากก็น้อยนะครับ

เนื้อหาโดย: ote1986
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ote1986's profile


โพสท์โดย: ote1986
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้องเต้าหู้แจกไข่ให้ชาวบ้าน แต่กลับเจอมนุษย์ป้ารุมเข้ามาจัดการ ทำเอาน้องอึ้งจนพูดไม่ออก เห็นแล้วรู้สึกอายแทนจริงๆน้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
วิธีล้างผักให้สะอาดปราศจากสารพิษตกค้างจริงไหมที่คำว่า ‘Salary’ มาจาก ‘Salt’ เพราะทหารโรมันรับค่าจ้างเป็นเกลือ?อยากโกอินเตอร์? เจาะลึกวิธีหางานต่างประเทศ 2567 แบบถูกกฎหมาย ได้สิทธิเต็มที่ ไม่มีโดนหลอก!ชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย
ตั้งกระทู้ใหม่