รู้ยัง ดาวเรืองลดไขมันในเลือด
ปัจจุบันนี้คนหันมารับประทานสมุนไพรไทยกันมากขึ้นแต่คุณรู้หรือไม่ว่ามีดอกไม้ใกล้ตัวคุณสามารถช่วยลดอาการต่างๆได้มากมายและสามารถปลูกสร้างรายได้เดือนหลักแสนกันเลยทีเดียวเชียววันนี้เราจะพามารู้จักกับ " ดอกดาวเรือง " กันครับ
ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า คำปู้จู้ (ภาคเหนือ) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอริน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาเมกาและอื่น ๆ อีกหลายพันธุ์
ดอกดาวเรืองที่นิยมนำมาปลูกจะมีอยู่ 3พันธุ์ ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน, กาวเรืองฝรั่งเศษ, และดาวเรืองลูกผสม การปลูกดาวเรืองนิยมปลูกด้วยการใช้เมล็ด เนื่องจากจะได้ผลผลิตจำนวนมากและต้นมีความแข็งแรง การปลูกดาวเรืองนำเมล็ดมาปลูกลงในถาดเพาะกล้า ที่เป็นหลุมสามารถใช้ได้ทั้ง ถาดเพาะเมล็ด 200 หลุม, ถาดเพาะเมล็ด 105 หลุม และ ถาดเพาะเมล็ด 104 หลุม โดยที่มีขุยมะพร้าวขี้แกลบทราย และปุ๋ย ในอัตราส่วนต่างๆ ดูแลรดน้ำ ดาวเรืองชอบความชื้น ไม่ชอบน้ำแฉะ และน้ำท่วมขัง เมื่่อได้ต้นกล้าจึงนำมาปลูกในถุงเพาะชำหรือกระถางอีกที ดาวเรืองก็จะโตเต็มที่ การปลูกดาวเพื่อตัดดอกขาย เป็นเรื่องที่สามารถกำหนดเวลาได้ การออกดอกให้ตรงกับเทศกาลสำคัญได้จึงนิยมปลูกกัน และใช้ดาวเรืองกันมาก และยังสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
5 สายพันธุ์ดาวเรืองที่พบมาก
1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigold) สายพันธุ์นี้มีลำต้นสูงประมาณ 10-40 นิ้ว มีดอกขนาดใหญ่ กลีบของดอกซ้อนกันเยอะ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 3-4นิ้ว มีสีเลือง ส้ม ทอง และ สีขาว
2. ดาวเรืองฝรั่งเศษ (French Marigolds) สายพันธุ์นี้จะมีลำต้นที่เตี้ย ดอกเล็ก ออกดอกได้ดีเฉพาะฤดูหนาว ลำต้นสูงประมาณ 15-30ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 3-5ซม. มีสีเหลือง ส้ม ทอง และสีน้ำตาลแดง
3. ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds) เป็นสายพันธุุ์ลูกผสม ระหว่างพันธุ์ อเมริกันกับฝรั่งเศษ ออกดอกเร็๋ว ดอกบานเร็ว และอยู่นาน
4. ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet Marigold) ลักษณะต้นดาวเรืองจะต้นเตี้ย ขนาดดอกเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1นิ้ว เพราะมีกลีบดอกเพียงชั้นเดียว นิยมปลูกแถบยุโรป
5. ดาวเรืองใบ (Foliage Marigold) ลักษณะจะมีใบที่สวยงาม ขึ้นเป็นพุ่มแน่น นิยมปลูกประดับในสวน
วิธีการเพาะกล้าดาวเรือง
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์เพราะกล้าดาวเรือง
1. พีทมอส (เป็นวัสดุเพาะเมล็ดที่ปลอดเชื้อ) หรือวัสดุเพาะ
2. ตะกร้าสำหรับร่อนวัสดุเพาะ
3. ถาดหลุมเพาะกล้า ขนาด 200 หลุม
4. เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง
วัสดุเพาะกล้าดาวเรืองแนะนำให้เป็นวัสดุเพาะที่ผ่านการทดลองใช้แล้ว โดยมีคุณสมบัติ คือ ร่วนซุย ระบายอากาศและน้ำได้ดี ปลอดเชื้อโรค เหมาะเป็นอย่างยิ่งต่อการเพาะเมล็ดพันธุ์ดาวเรือง
ขั้นตอนการเพาะเมล็ดกล้าดาวเรือง
1. นำพีทมอสหรือวัสดุเพาะบรรจุลงถาดหลุม
2. ทำการเจาะหลุมที่วัสดุเพาะ
3. วางเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองลงบนถาดหลุม โดยวางความลืกประมาณ 0.5-0.7 ซม.
4. ใช้ตะกร้าร่อนวัสดุเพาะกลบเมล็ด
5. รดน้ำด้วยน้ำสะอาดเช้าเย็นเป็นประจำ (น้ำปะปาที่มีคอรีนไม่ควรใช้)
วิธีการดูแลต้นกล้าดาวเรือง
ระยะที่1 เมล็ดดาวเรืองเริ่มงอก มีรากลำต้นโผล่ขึ้นมาจากวัสดุเพาะ
- การดูแลโดยทั่วไป ควรให้ต้นกล้าได้รับการพรางแสงประมาณ 80% 3-5 วัน เพื่อลดอุณหภูมิ และเพิ่มความชื้นให้เหมาะต่อการงอก ควรใช้น้ำสะอาดรดอย่างสม่ำเสมอ
ระยะที่2 ต้นกล้าดาวเรืองเริ่มพัฒนามีรากและใบเลี้ยง
- การดูแลในระยะนี้ควรนำพรางแสงต้นกล้าดาวเรือง 50% เพื่อให้ต้นกล้าดาวเรือง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ประมาณ 2 วัน ควรใช้น้ำสะอาดรดอย่างสม่ำเสมอ
ระยะที่3 ต้นกล้าดาวเรืองเริ่มมีใบจริงขึ้นมา 1 คู่
- ระยะนี้ควรให้ต้นกล้าดาวเรืองอยู่ในสภาพแสงปกติ ไม่มีการพรางแสง เพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตเต็มที่อย่างสมบูรณ์ ควรใช้น้ำสะอาดรดอย่างสม่ำเสอม
ระยะที่4 ต้นกล้าดาวเรืองเจริญเติบโตมากขึ้นมีใบจริงเพิ่มมากขึ้น สังเกตรากเริ่มจะเจริญเต็มในถาดหลุม
- การดูแลเช่นเดียวกับต้นกล้าดาวเรืองในระยะที่ 3 เมื่ออายุต้นกล้าดาวเรืองได้ 15-18 วัน ควรย้ายปลูกลงถุงดำหรือกระฐาง
ขั้นตอนการย้ายต้นกล้าดาวเรืองลงถุงดำหรือกระถาง
วัสดุอุปกร์และวิธีการเตรียมดินในถุงเพาะชำหรือกระถาง
1. ดิน 1 ส่วน
2. ขุยมะพร้าว 2 ส่วน
3. แกลบดิน 2 ส่วน
4. คลุกให้เข้ากันแแล้วนำไปกรองลงถุงเพาะชำ
ขั้นตอนการย้ายต้นกล้าดาวเรือง
- ควรใส่ดินครึ่งถุงก่อนแล้วนำต้นกล้าดาวเรืองลงไปปลูก หลังจากเด็ดยอด 5-7 วันแล้วค่อยใส่ดินให้เต็มถุง
- การย้ายต้นกล้าดาวเรืองให้สังเกตว่าต้นกล้ามีใบจริง 2-3 คู่ อายุ 15-20 วัน
- การย้ายต้นกล้าควรหลีกเลี่ยงช่วงอากาศร้อนจัด ข้อดีจะทำให้ต้นกล้าดาวเรืองที่ปลูกฟื้นตัวได้เร็ว
ประโยชน์ของดาวเรือง
ดาวเรือง นอกจากจะปลูกประดับสวนเพื่อความงาม ดอกของดาวเรืองยังสามารถตัดดอกมาประดับประดาบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่างในช่วงวันสำคัญอีกด้วย เช่น จัดใส่แจกันตั้งหิ้งพระ จัดซุ้มดอกไม้ ทำพวงมาลัยค้องคอ และที่สำคัญสามารถปลูกเพื่อตัดดอกขายเป็นอาชีพได้อย่างดี และดาวเรืองยังมีสรรพคุณด้านความงาม เช่น นำไปผลิตน้ำมันหอมระเหยทำเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังมีสรรพคุณเป็นยา และอาหารเสริม ช่วยในเรื่องรักษาอาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามือ เป็นลม และอื่นๆอีกมากมาย
ประโยชน์ของดอกดาวเรือง สรรพคุณลือเลื่อง บำรุงสายตา ดอกดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ชนิดหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลที่มีออกซิเจน อันได้แก่ ลูทีนและซีแซนธิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสี โดยทั้งสองสารนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้ ช่วยกรองแสงสีฟ้า และยังเป็นสารออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา โดยการนำเอาสารบำรุงสายตาจากดอกดาวเรืองมาใช้ แนะนำให้นำดอกไปตากแห้ง แล้วนำมาชงเป็นชาดื่ม 1 หยิบมือ ต่อน้ำร้อน 1 แก้วกาแฟ เท่านี้ก็จะได้รับสารบำรุงสายตาที่ซ่อนอยู่ในดอกดาวเรืองแล้ว
บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทำการวิจัยสารสกัดจากดอกดาวเรืองและพบว่า สารสกัดจากดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวกอย่าง S.aureus และ S. epidermidis ได้ดี และสารสกัดดอกดาวเรืองที่ได้ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี เนื่องจากมีกรดฟีนอลิกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกลลิก กรดวานิลลิก กรดคาเฟอิก กรดคูมาริก และกรดไซรินจิก ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดริ้วรอยและทำให้ผิวพรรณดูอ่อนวัย อีกทั้งยังสามารถป้องกันผิวหนังจากรังสียูวีได้ดีอีกด้วย โดยเพียงแค่นำดอกดาวเรืองสดหรือนำดอกดาวเรืองไปตากแห้ง แล้วแช่ในเอทานอล อาจแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือแช่ในน้ำบริสุทธิ์แล้วให้ความร้อนอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้เตาไมโครเวฟ 15-35 นาที จะทำให้ได้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ เช่น บาล์ม ยาหม่อง สเปรย์น้ำฉีดผิวหน้าและผิวกาย ให้ความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคืองต่อผิว แก้ผื่นคัน หรือถ้านำไปผสมในครีมหรือโลชั่นทาบำรุงผิวพรรณเพื่อช่วยลดริ้วรอยก็ได้เช่นกัน บรรเทาโรคผิวหนัง ในดอกดาวเรืองมีสารคาเลนดูลา
(Calendula) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาปัญหาผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ แผลเป็น และผิวหนังแห้งแตก โดยการนำมาบรรเทาและดูแลปัญหาผิวหนังเหล่านี้ ควรใช้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่อยู่ในรูปครีมยา น้ำมันหอมระเหย หรือโลชั่นบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว สาวๆ ที่มีปัญหาสิวจะใช้ดอกดาวเรืองแต้มสิวก็ได้เหมือนกันค่ะ แต่ควรใช้ดอกดาวเรืองที่สกัดมาเรียบร้อยแล้วนะคะ เนื่องจากสารสกัดจากดอกดาวเรืองอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มไตรเทอปีน ฟลาโวนอยด์ และซาโปนิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีคุณสมบัติในการสมานแผล ช่วยทำความสะอาดเนื้อเยื่อ และป้องกันการติดเชื้อบนผิวหนัง ดังนั้น สาวๆ ที่มีปัญหาสิวและผิวพรรณอักเสบ สามารถใช้สารสกัดจากดอกดาวเรืองช่วยแก้ปัญหาสิวๆ เหล่านี้ได้ ทว่าหากใครอยากได้ฟีลแบบธรรมชาติบำบัดจริงๆ ก็สามารถนำใบมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำใบไปตำแล้วเอามาพอกบริเวณที่เป็นสิว หรือจะนำใบไปต้มแล้วนำน้ำมาล้างบริเวณที่เป็นสิวก็ได้ เพราะใบก็มีรสชุ่มเย็น ใช้แก้ฝี แผลพุพอง ตุ่มมีหนอง และอาการบวม อาการอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุได้ แก้ร้อนใน ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และแก้ปัญหาผิวหนังแตกแห้ง รวมทั้งฤทธิ์ต้านอาการอักเสบที่มีอยู่ในดอกดาวเรือง จึงทำให้เป็นดอกไม้รักษาอาการร้อนในได้ โดยการใช้ก็เพียงแค่นำดอกไปตากแห้งแล้วมาชงเป็นชาดื่ม จะช่วยลดความร้อนในร่างกายและทำให้อาการร้อนในลดลงได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำชาจากดอกดาวเรืองมาบ้วนปากเป็นประจำเพื่อรักษาแผลร้อนในได้อีกด้วย แก้ปวดฟัน ดอกดาวเรืองที่เราคุ้นเคยชนิดนี้มีดีมากกว่าแค่เพียงไว้ใช้ประดับให้สวยงามเท่านั้น เพราะถ้าหากนำดอกแห้ง 7-8 ดอกไปต้มกับน้ำในปริมาณที่พอเหมาะแล้วจิบทั้งวัน ก็สามารถลดอาการปวดฟันได้โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด อีกทั้งยังสามารถขับร้อนในร่างกายได้อีกด้วย ละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่อดอกดาวเรืองมีรสขม กลิ่นฉุนเล็กน้อย ทว่าก็มีสรรพคุณทางยาช่วยกล่อมตับ ขับร้อนจากร่างกาย ละลายเสมหะ แก้ไอหวัด ไอกรน บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ คางทูม และสามารถสมานแผลให้หายเร็วขึ้นได้ โดยการใช้ภายในให้นำช่อดอกดาวเรือง 3-10 กรัม ต้มน้ำแล้วจิบเป็นชา ส่วนวิธีใช้ดอกดาวเรืองรักษาแผลภายนอก ให้นำช่อดอกดาวเรืองต้ม รอให้อุ่น แล้วนำน้ำต้มมาชะล้างบริเวณที่เป็นแผล แก้วิงเวียนศีรษะ น้ำมันหอมระเหยจากดอกดาวเรืองมี
คุณสมบัติแก้อาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลม ได้ และยังมีประโยชน์ช่วยบำรุงเส้นผมและลดริ้วรอยจากอาการผิวแตกลายได้ด้วย ขับลม แก้ท้องผูก รักษาริดสีดวงทวารหนัก เห็นดอกเล็กๆ เหลืองสวยอย่างนี้ แต่ดอกดาวเรืองถือว่ามีพิษร้ายต่อโรคริดสีดวงทวารหนักเลยล่ะค่ะ เพราะมีฤทธิ์ขับลมในกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์รักษาโรคริดสีดวงทวารโดยตรง โดยตำรับจากอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกดาวเรืองมาดื่มแก้ริดสีดวงทวาร หรือบางกรณีจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกผสมน้ำอุ่นแล้วนั่งแช่ลดอาการบวมของแผลริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งจะช่วยให้หลอดเลือดหดตัว อาการริดสีดวงทวารก็จะบรรเทาลงได้
แก้ปวดประจำเดือน ชาดอกดาวเรืองมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดประจำเดือนของสาวๆ ได้ โดยสารในดอกดาวเรืองจะช่วยในการขับลมจากอาการท้องอืด พร้อมทั้งมีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ตึงเครียดคลายตัวลง อาการปวดประจำเดือนก็จะบรรเทาลงด้วย ช่วยลดน้ำตาลในเลือด จากการศึกษาของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase) ซึ่งมีหน้าที่ย่อยสลายน้ำตาลในลำไส้ส่วนเล็กเพื่อให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ดีขึ้น ดังนั้น สารสกัดจากดอกดาวเรืองจึงมีฤทธิ์ลดการดูดซึมกลูโคสในร่างกาย มีคุณสมบัติช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดี โดยเฉพาะในกรณีน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นหลังกินอาหาร และการที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงก็จะส่งผลดีในด้านช่วยลดภาวะเครียด ออกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่อาจเกิดในผนังหลอดเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้อัตราความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน (Vascular complication) ในผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้อีกด้วย ลดไขมันในเลือด นอกจากสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดแล้ว สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังพบว่า สารสกัดดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส (Pancreatic lipase) เอนไซม์ช่วยย่อยไขมันจากตับอ่อน ได้เทียบเท่ากับสารสกัดของดอกดาวกระจาย และดอกเฟื่องฟ้า โดยจัดเป็นสารพฤกษเคมีประเภทสารประกอบฟีนอลิก มีฤทธิ์ทำให้เอนไซม์ย่อยไขมันทำงานไม่เป็นปกติ ส่งผลให้การย่อยอาหารที่มีไขมันและการดูดซึมไขมันของร่างกายลดลง จึงช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และลดโอกาสเกิดโรคอ้วนได้
เป็นไงกันบ้างครับกับดอกดาวเรื่องที่เรา
รู้จักกัน มีประโยชน์เกินคาดเดากันเลยใช้มั้ยครับ