ของฝากของคนญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่นิยมซื้อของฝากเหมือนกับคนไทย หรืออาจจะมากกว่าคนไทยเสียด้วยซ้ำ ร้านขายของฝากโดยเฉพาะพวกขนมต่างๆจึงจะมีให้เห็นอยู่มากมาย โดยเฉพาะตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ เพื่อจะได้ให้ผู้โดยสารที่เดินทางไกลๆซื้อไปฝากญาติมิตร
ที่ญี่ปุ่นมักนิยมนำผลิตผลขึ้นชื่อของท้องถิ่นมาทำเป็นของฝาก หรือที่เรียกง่ายๆว่าสินค้า OTOP เช่นจังหวัดโอโมริ ผลิต apple ได้มากที่สุดในญี่ปุ่นของฝากของจังหวัดอมูริจึงมักจะเป็นแอปเปิ้ลหรือขนมที่ทำจากแอปเปิ้ล ส่วนของฝากของจังหวัดนางาซากิ คือ カステラ(คาสเทลลา) ซึ่งว่ากันว่าเป็นขนมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 16 จนกลายมาเป็นขนมที่เรื่องชื่อของจังหวัดนางาซากิในปัจจุบัน สำหรับเกียวโตก็มีขนมขึ้นชื่อคือ ยัตสึฮาชิ 八ツ橋 ซึ่งทำจากแป้ง ปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีไส้เป็นถั่วแดงบดเป็นต้น
(カステラ) คาสเทลลา
(八ツ橋) ยัตสึฮาชิ
นอกจากของฝากจำพวกของกินแล้ว ยังมีของฝากประเภทอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงตามแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย เป็นต้นว่า ของฝากที่เป็นงานฝีมือสืบทอดมาแต่ดั้งเดิม เช่น ภาชนะลงรักของจังหวัดอิชิกาวา ตุ๊กตาของจังหวัดฟุกุโอกะ ภาชนะกระเบื้องเคลือบทองของจังหวัดซากะ หรือเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดโทชิกิ เป็นต้น
คำว่าโอมิยาเกะ (おみやげ) นอกจากจะหมายถึงของฝากที่ได้จากการไปเที่ยวแล้ว ยังหมายถึงของที่นำติดไม้ติดมือไปฝากเพื่อแสดงความขอบคุณหรือฝากเนื้อฝากตัวด้วย เช่น เมื่อได้รับเชิญให้ไปเที่ยวที่บ้านเมื่อปลายฝากเนื้อฝากตัวต่อผู้ใหญ่ที่จะดูแลช่วยเหลือหรือให้ของฝากแก่เพื่อนบ้านเมื่อย้ายมาอยู่ใหม่ เป็นต้น