หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สัตว์ป่าไทยที่ใกล้สูญพันธุ์

โพสท์โดย ote1986

สัตว์ป่าของไทยในปัจุบันนี้ลดจำนวนลงอย่าง เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวในหลายๆด้านขอวประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนของประชากรก็ตาม ทำให้เกิดการบุกเบิกพื้นบุกรุกป่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ร่วมถึงการรักรอบค่าสัตว์ ทำให้สัตว์หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์ วันนี้เราจะพาท่านไปดูสัตว์ป่าของไทยที่หาดูได้อยากและใก้ลสูญพันธุ์แล้วกัน

กระซู่ (Didermocerus Samatraensis)

ลักษณะ

กระซู่เป็นสัตว์กีบคี่จำพวกแรด ลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง หนังของกระซู่มีสีน้ำตาลแดง มีขนหยาบและยาวปกคลุม เมื่อโตเต็มที่สูง 120–145 ซม. ยาว 250 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 500-800 กก. พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ป่าพรุ และ ป่าดิบเขาในประเทศอินเดีย ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า ลาว ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน กระซู่เป็นสัตว์สันโดษ มักพบหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกอ่อน ว่ายน้ำเก่ง สามารถว่ายน้ำข้ามแม่น้ำที่เชี่ยวกรากได้ ชอบนอนแช่ปลักโคลนมาก หากหาปลักโคลนไม่ได้ กระซู่จะขุดดินเลนด้วยขาและนอเพื่อสร้างปลัก การแช่ปลักโคลนนี้จะช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังจากปรสิตและแมลงอื่นๆ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)

กระซู่ถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ สาเหตุอันดับแรกของการลดลงของจำนวนประชากรคือการล่าเอานอซึ่งมีค่ามากในการแพทย์แผนจีน ขายได้ถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมในตลาดมืด นอกจากนี้ยังถูกคุกคามถิ่นอาศัยจากอุตสาหกรรมป่าไม้และเกษตรกรรม ในอดีตประเทศไทยเองก็มีรายงานถึงการพบกระซู่ในหลาย ๆ แห่งได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) ปัจจุบันคงเหลือประชากรกระซู่ ไม่ถึง 100 ตัว และพบบนเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น การค้นพบและศัพทมูลวิทยา

กวางผาถูกค้นพบและศึกษาครั้งแรกในทางสัตววิทยา เมื่อปี ค.ศ. 1825 ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล มีลักษณะคล้ายแอนทีโลปที่พบในทวีปแอฟริกา จึงได้รับการจำแนกและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Antilope goral ต่อมาพบว่ามีลักษณะและนิสัยแตกต่างกันเด่นชัด จึงจำแนกออกเป็นสกุลใหม่ในปี ค.ศ. 1827 โดย ชาลส์ แฮมิลตัน สมิท นักธรรมชาติวิทยาและทหารชาวอังกฤษ คือ Naemorhedus[1]

กวางผา (Naemorhedus griseus)

กวางผา (อังกฤษ: Gorals) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae ใช้ชื่อสกุลว่า Naemorhedus การค้นพบและศัพทมูลวิทยากวางผาถูกค้นพบและศึกษาครั้งแรกในทางสัตววิทยา เมื่อปี ค.ศ. 1825 ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล มีลักษณะคล้ายแอนทีโลปที่พบในทวีปแอฟริกา จึงได้รับการจำแนกและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Antilope goral ต่อมาพบว่ามีลักษณะและนิสัยแตกต่างกันเด่นชัด จึงจำแนกออกเป็นสกุลใหม่ในปี ค.ศ. 1827 โดย ชาลส์ แฮมิลตัน สมิท นักธรรมชาติวิทยาและทหารชาวอังกฤษ คือ Naemorhedus ชื่อสามัญของกวางผาในภาษาอังกฤษคือ “โกราล” (Goral) มาจากภาษาฮินดี (गोरल) ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Naemorhedus คำว่า Naemor มาจากคำว่า “Nemoris” ในภาษาลาติน แปลว่า “ป่า” และ haedus มาจากภาษาลาติน แปลว่า “แพะหนุ่ม” หรือ”แพะตัวผู้”

ลักษณะและพฤติกรรมกวางผามีรูปร่างคล้ายแพะหรือเลียงผา (Capricornis spp.) ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งครั้งหนึ่งเลียงผาเองก็เคยใช้ชื่อสกุลเดียวกับกวางผาด้วย มีเขาสั้น ๆ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นกรวยปลายเรียวแหลมคล้ายกันทั้ง 2 ข้าง ไม่มีการแตกกิ่งเขา เปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับบนแกนเขา ซึ่งเป็นแกนกระดูกที่งอกติดกับกะโหลกศีรษะชิ้นหน้าผาก ตัวเขาเจริญขึ้นตามอายุ และมีชุดเดียวตลอดชีวิต ไม่มีการผลัดเขาเหมือนกวาง กวางผาไม่มีเคราใต้คางเหมือนแพะรวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าเลียงผาเกือบเท่าตัว ขนมีสีอ่อนไม่เข้มเหมือนเลียงผา ขนชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งไม่พบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้าง ไปถึงหลังใบหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจน ถัดต่อมาบริเวณหลังและสะโพกมีแผงขนยาวคล้ายอานม้าบาง ๆ สีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและแผ่นอกสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลายจาง ๆ บริเวณแผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลม ปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย โคนเขาใหญ่มีรอยหยักเป็นวง ๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยักรอบโคนเขาไม่ลึกชัดเจนอย่างเขาของตัวผู้ ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่อาศัยและหากินบนที่ราบสูงที่เป็นภูเขาหรือ

หน้าผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000–4,000 เมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยจรดจนถึงเอเชียตะวันออก มีประชากรบางส่วนลงมาในเอเชียอาคเนย์ด้วย เป็นสัตว์ที่มีกีบเท้าที่แข็งแรงรับน้ำหนักได้ จึงเหมาะกับการกระโดดไปมาและไต่ไปตามหน้าผา เป็นสัตว์ที่มีการระแวดระวังภัยสูง ใช้ประสาทการมองเห็นมากกว่าการดมกลิ่น อีกทั้งยังเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ และว่ายน้ำได้เก่งอีก ด้วยซ้ำ เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้

กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)

กูปรี หรือโคไพร สัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย ตามรายงานขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN เดิมเราสามารถพบฝูงกูปรีได้ในพื้นที่แถบอีสานใต้ ตามบันทึกของ นพ. บุญส่ง เลขะกุล ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของไทย พบรอยกูปรีในแถบ เทือกเขาพนมดงรักชายแดนประเทศไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2488 และรายงานการพบที่ป่าดงอีจาน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา เมื่อปี 2492 ประมาณปี 2517 พบฝูงกูปรีย้ายเข้ามาหากิน บริเวณป่า ชายแดน จ.สุรินทร์ ในช่วงฤดูฝน และในปี 2518 กรมป่าไม้ ทราบข่าวที่ไม่มีการยืนยัน กล่าวถึงการพบกูปรีในป่าบริเวณชายแดน จ.ศรีสะเกษเป็นฝูงกูปรีจํานวน 20 ตัว ในปี 2525 มีข่าวการพบฝูงกูปรีอีกครั้ง จํานวน 5 ตัว โดยการยืนยันของพรานท้องถิ่น บรรยายลักษณะรูปร่างได้ถูกต้อง ตรงกับลักษณะกูปรี โดยพบเห็นในบริเวณป่า “นาจราง” อ.ขุขันธ์ ชายแดน จ.ศรีสะเกษ

หลังจากนั้นไม่มีการบันทึกใดใดที่เกี่ยวกับการพบกูปรีในประเทศไทยอีกเลย จนกระทั่งมีข่าวการพบฝูงกูปรี ในปี 2549 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ออกลาดตะเวนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้รอยต่อประเทศกัมพูชา และ ส.ป.ป.ลาว ได้บังเอิญพบกับสัตว์ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกับกระทิง จำนวน 3 ตัว หากินอยู่ในทุ่งหญ้าโล่ง ลักษณะเขาแปลกกว่าเขาของกระทิง และมีตัวสูงใหญ่กว่า แต่การรายงานดังกล่าวไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าเป็นกูปรีจริงหรือไม่

เนื่องจากลักษณะของกูปรีมีความคล้ายคลึงกับกระทิงและวัวแดง ซึ่งจากการสำรวจของ นพ.บุญส่ง พบว่าสัตว์ชนิดนี้มักอยู่ปนกับฝูงวัวแดง ทั้งนี้ นอกจากกูปรีจะเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากป่าของไทยแล้ว ในรายงานของ IUCN ระบุอีกด้วยว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วในเวียดนาม ส่วนในกัมพูชาและลาวคาดว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว (Possibly Extinct) เช่นกัน

ซึ่งในปี 2491 เคยประมาณกันว่ามีกูปรีหลงเหลืออยู่ในโลกประมาณ 2,000 กว่าตัว และมากกว่า 800 ตัว อยู่ในกัมพูชา แต่ในช่วงสงครามเวียดนามที่ลุกลามไปทั่วอินโดจีน จนทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในกัมพูชา (ช่วงปี 2518-2522) กรูปรีและสัตว์ป่าอีกหลายชนิดถูกล่าอย่างหนัก เพื่อใช้เนื้อเป็นอาหารและขายเขาเป็นสินค้า รวมทั้งกับระเบิดยังได้สังหารกูปรีลงเป็นจำนวนมาก

กูปรีถือเป็นสัตว์ป่าที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับประเทศกัมพูชา เพราะถูกยกให้เป็นสัตว์ประจำชาติ และหากใครที่เป็นแฟนบอลศรีสะเกษ เอฟซี ก็พอจะคุ้นชื่อ “กูปรีอันตราย” ที่ใช้เรียกแทนทีมฟุตบอลของจังหวัดศรีสะเกษ แม้ในช่วง 50 ปีที่ผ่าน จะมีข้อถกเถียงในวงการวิชาการถึงการมีอยู่ของกูปรี แต่จากการรายงานของ IUCN เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวได้สูญพันธุ์ไปจากป่าไทย และคาดว่าจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ไปแล้ว

เก้งหม้อ (Muntiacus feae)

เก้งหม้อ...เป็นอีกหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562... องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ของโลก น.สพ.เกษตร สุเตชะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้...สัตว์ชนิดนี้มีอยู่น้อยมาก เท่าที่ทราบในประเทศไทย มีถิ่นที่อยู่กระจายเฉพาะทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย

และเทือกเขาตะนาวศรีของประเทศพม่าเท่านั้น รูปร่างหน้าตาคล้ายกวางขนาดเล็ก แต่ ใหญ่กว่าเก้งเล็กน้อย ลำตัวยาว 88-100 ซม. น้ำหนักประมาณ 22 กก. ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข้ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตา

เก้งหม้อตัวผู้มีเขี้ยวโค้งออกด้านหน้าเช่นเดียวกับเก้งทั่วไป แต่มีเขาเฉพาะในตัวผู้เท่านั้น โดยเขาแต่ละข้างมีสองกิ่ง กิ่งหน้าสั้นกว่ากิ่งหลัง โคนเขามีขนดำหนาคลุมรอบ ระหว่างโคนเขามีขนสีเหลืองฟูเป็นกระจุก เลยมีชื่ออีกชื่อว่า “กวางเขาจุก”

ทำให้หลายคนที่ไม่เคยรู้จักกับสัตว์ชนิดนี้รู้สึกว่ามันเป็นสัตว์ที่แสนลึกลับ มักพบอยู่ในป่าดิบทึบบนภูเขา ไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียว ถ้าอยู่เป็นกลุ่มไม่เกิน 2-3 ตัวออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากินตามทุ่งโล่งแถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง ผสมพันธุ์ในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ตั้งท้อง 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

ทุกวันนี้ในป่าหายากมาก มีให้ชมได้ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี กับสวนสัตว์เชียงใหม่.

ควายป่า (Bubalus bubalis)

ควายป่า หรือมหิงสา (Wild Water Buffalo) รูปร่างผิวเผินอาจดูคล้ายคลึงกับควายบ้าน และมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่า รูปร่างกำยำล่ำสำ มีวงเขาตีโค้งกว้างกว่า และดุร้ายกว่าควายบ้านเป็นอย่างมาก ลำตัวมีสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 มีสีขาวแต้มคล้ายใส่ถุงเท้าทั้ง 4 ข้าง ท่อนล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี ลักษณะพฤติกรรมทางสัมคมของควายป่า มักอยู่รวมกันเป็นฝูง และตัวผู้มักอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ถิ่นอาศัยของควายป่าในห้วยขาแข้ง พบอยู่ตามที่ราบริมห้วยขาแข้ง และตามหนองน้ำที่ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ และป่าทุ่งหรือไร่ร้าง

บริเวณที่ราบริมลำห้วยขาแข้งทางตอนใต้ของพื้นที่ อดีต ควายป่าเคยอาศัยอยู่ตามป่าทุ่งโปร่ง พบได้เกือบทุกภูมิภาคในประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พบการกระจายตัวตลอดแนวลำห้วยขาแข้ง โดยอยู่ห่างจากลำห้วยประมาณ 50 ถึง 100 เมตร พบเห็นได้บ่อยบริเวณ ห้วยแม่ดีทางใต้ หน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได ห้วยหินตั้งลงไปทางใต้จนถึงหน่วยพิทักษ์ป่ากรึงไกร ซึ่งมีประชากรทั้งสิ้นไม่ถึง 50 ตัว

ถือเป็นควายป่าฝูงเดียวและฝูงสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ควายป่าเป็นสัตว์กินพืช (Herbivore) กินได้ทั้งหญ้า ยอดไม้ ใบไม้อ่อน หน่อไม้ รวมถึงต้นพงที่ขึ้นอยู่ตามริมลำห้วยขาแข้ง ก็เป็นเมนูโปรดของควายป่าเช่นกัน และยังมีการเสริมแร่ธาตุให้กับร่างกาย โดยการกินดินโปร่งที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ ในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ปัจจัยคุกคามสำคัญที่ทำให้ควายป่าอยู่ในสถานภาพเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เกิดจากการสูญเสียถิ่นอาศัย การล่า การแย่งพื้นที่และทรัพยากรอื่น ๆ การผสมพันธุกรรมระหว่างควายป่า และควายบ้าน รวมถึงปัญหาการผสมพันธุ์กันในเครือญาติ ทำให้เกิดปัญหาเลือดชิด (Inbreeding)

ปัจจุบันควายป่าจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฉบับ 2562 ที่หมายถึงว่าเราต้องสงวนไว้อย่างยิ่งยวด ไม่เพียงแต่ควายป่าที่อยู่ในสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง แต่ยังมีสัตว์ป่าอีกมากมายที่ประชากรมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง เราคงต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ที่สัตว์ป่าหลายชนิดอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นเพราะกิจกรรมจาก ‘มนุษย์’ ใช่หรือไม่ เป็นเพราะเราทุกคนใช่หรือไม่ เพราะไม่ใช่แค่ควายป่าที่เราจะรักษาไว้ไม่ได้ แต่นั่นหมายถึงเราไม่ตระหนักถึงการอนุรักษ์ และไม่เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ท้ายที่สุดมนุษย์จะทำลายทุกอย่าง ไม่หลงเหลือสิ่งมีชีวิตใดบนโลก รวมถึงตัวมนุษย์เองก็ไม่สามารถอยู่รอดบนโลกที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้

พะยูนหรือหมูน้ำ (Dugong dugon)

พะยูน คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งเช่นเดียวกันกับมนุษย์ พะยูนอาศัยอยู่ในทะเลบริเวณชายฝั่งที่น้ำมีความลึกไม่มากนัก บรรพบุรุษของพะยูนเคยอาศัยอยู่บนบกแต่เริ่มมีวิวัฒนาการลงไปอาศัยอยู่ในน้ำตั้งแต่เมื่อประมาณ 60 ล้านปีก่อน ทำให้ พะยูนมีการวิวัฒนาการรูปร่างให้เหมาะกับการอาศัยอยู่ในน้ำ คือมีรูปทรง กระสวยคล้ายโลมาแต่ อ้วนป่องกว่าเล็กน้อย ผิวหนังเรียบลื่นถึงแม้ว่า พะยูนจะมีรูปร่างภายนอกคล้ายโลมาแต่พะยูนกลับมีวิวัฒนาการ มาสายเดียวกับช้าง พะยูนกินพืชเป็นอาหารและมีเต้านมอยู่บริเวณขาหน้าเช่นเดียวกับช้างแต่โลมามีเต้านมอยู่บริเวณ ด้านท้ายและกินสัตว์เป็นอาหาร เมื่ออายุยังไม่มากพะยูนมีผิวสีเทาเมื่อโตและแก่มากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ แต่พอแก่มากขึ้นอีกจะมีรอยด่างสีขาวเกิดขึ้น

โดยเฉพาะด้านหลังอาจเป็นปื้นขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล ขาด้านหน้ามีขนาดสั้นและเปลี่ยนรูปไปคล้ายใบพายใช้สำหรับการช่วยบังคับทิศทางหรือเอาไว้เดินขณะอยู่ที่พื้นทะเล ขาหลังลดรูปจนหายไปหมดเหลือเพียง กระดูกชิ้นเล็กๆอยู่ภายในลำตัว ส่วนท้ายเป็นครีบสองแฉกวางแนวระนาบคล้ายหางโลมาใช้โบกขึ้นลงเพื่อการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า พะยูนต้องหายใจด้วยปอดเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ รูจมูกมีสองรูตั้งอยู่บริเวณปลายด้านบน ของปากเพื่อให้ขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้โดยไม่ต้องโผล่ส่วนอื่น ขึ้นมาด้วยเมื่อดำน้ำจะมีแผ่นหนังมาปิดปากรูไว้เพื่อกันน้ำเข้าปากมีขนาดใหญ่มีขนแข็งๆ ขึ้นเป็นจำนวนมากมีความแข็งแรงสำหรับการขุดหรือไถไปตามพื้นทะเลเพื่อกินหญ้าทะเล เป็นอาหาร

พะยูนมีความเป็นอยู่อย่างไร พะยูนส่วนใหญ่ชอบอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูนเป็นอาหาร พะยูนหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืนโดยเมื่อน้ำขึ้นพะยูนจะรวมกลุ่มกันเข้ามากินหญ้าทะเลที่ขึ้นเป็นแนวอยู่บริเวณน้ำตื้น จนกระทั่งน้ำเริ่มลงพะยูนก็จะกลับไปหลบอาศัยอยู่บริเวณร่องน้ำที่อยู่ใกล้เคียงและรอที่จะกลับเข้ามาเมื่อน้ำขึ้น อีกครั้งหนึ่ง ชีวิตครอบครัวของพะยูน ปกติพะยูนชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง

แต่เราก็ยังไม่ทราบความสัมพันธ์กันภายในฝูงหรือครอบครัวของพะยูนมากนัก แต่พะยูนมีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกอ่อนของมัน หลังจากพะยูนผสมพันธุ์แล้วแม่จะตั้งท้องเป็นเวลาประมาณ 13 เดือน เมื่อคลอดลูก (โดยทั่วไปครั้งละหนึ่งตัว)ออกมาแล้ว แม่พะยูนจะเลี้ยงดูลูกอ่อนต่อไปประมาณปีครึ่ง ระหว่างนี้พะยูนจะยังไม่มีลูกใหม่ไป 2-3 ปี ลูกพะยูนขนาดยาวประมาณไม่เกิน 1 เมตร จะว่ายเกาะติดบริเวณด้านข้างของแม่เกือบตลอดเวลา แต่ก็มีบ้างที่ลูกพะยูนซุกซน ว่ายห่างออกไปหรือว่ายไปบนหลังของแม่มัน เมื่อจะกินนมลูกพะยูนก็จะว่ายเข้าไปดูดจากหัวนมของแม่ที่อยู่บริเวณใต้โคนครีบหน้า จากการสำรวจศึกษาโดยนักวิชาการของกรมป่าไม้

พบว่าบ่อยครั้งที่พะยูนแม่ อยู่ร่วมกับพะยูนขนาดใหญ่อีกตัวหนึ่งที่ว่ายตามอยู่ไม่ห่างเป็นเสมือนพ่อหรือพี่เลี้ยงก็ยังคงเป็นปริศนาที่เราต้องทำความเข้าใจกันต่อไป พะยูน (Dugong) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเท่านั้น ทั้งยังมีการกระจายอยู่เพียงในเขตแนวชายฝั่งด้าน ตะวันออกของชายฝั่งทวีปแอฟริกาเลียบชายฝั่งย่านเปอร์เซีย อินเดีย ไทย ชายฝั่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ถึงแม้ว่าการกระจายจะมีเป็นบริเวณกว้างแต่ประชากรพะยูนทั่วโลกกลับมีจำนวนลดลงจนเกือบสูญพันธุ์เนื่องจากการล่าและการทำลาย แหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนอย่างขาดความคิดของมนุษย์ ปัจจุบันยังคงมีเพียงบริเวณชายฝั่งออสเตรเลียเท่านั้นที่มีจำนวนประชากร พะยูนหลายหมื่นตัว เนื่องจากมีจำนวนประชาชนน้อย (ชายฝั่งของทั้งทวีป)

อย่างไรก็ตาม ประเทศออสเตรเลียกลับมีมาตรการการคุ้มครองพะยูนอย่างเข้มงวด มีการประกาศอนุรักษ์พื้นที่สำหรับพะยูน การดำเนินการแม้การพานักท่องเที่ยวไปชมพะยูนก็ต้องมีกฎระเบียบที่เข้มงวดและต้องมีการขออนุญาตจากรัฐบาล สำหรับประเทศไทยเคยมีพะยูนอยู่อย่างมากมายทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (ประมาณปี พ.ศ. 2510) แต่ก็มีจำนวนลดลงจนเหลือ อาจไม่ถึงร้อยตัวกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศอันเนื่องมาจากการล่า (ในอดีต) การเข้าไปติดในเครื่องมือประมง และการ ทำลายแหล่งหญ้าทะเลอันเป็นแหล่งอาหารทั้งของพะยูนและมนุษย์เอง (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต)

ถ้าเรายังคงปล่อยให้สถานะการณ์ ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปพะยูนของไทยเราก็คงสูญพันธุ์ไปเช่นเดียวกับสมันและสัตว์อีกหลายชนิดที่หายไปในช่วงชีวิตของเรา พะยูนกระจายอยู่ตามชายฝั่งของไทยทั้งอันดามันและอ่าวไทยแต่มีจำนวนน้อยและยังคง ไม่ทราบแน่ชัด เราเพียงทราบแล้วว่าเราสามารถพบพะยูนได้ตามชายฝั่งต่างๆ ทางฝั่งอันดามันพบตลอดแนวชายฝั่ง ทางอ่าวไทย ยังคงพบอยู่บ้างที่ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา แต่กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดพบที่บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 ตัว อาหารหลักของพะยูนคือหญ้าทะเล หญ้าทะเลนี้เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว

คล้ายหญ้าทั่วไปที่เราพบอยู่บนบก แต่มีวิวัฒนาการลงไปเจริญอยู่ใต้น้ำทะเลในบริเวณที่ทำการศึกษาพะยูนในเขตจังหวัดตรัง เราจะพบแหล่งหญ้าทะเลผืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยหญ้าทะเลถึง 9 ชนิด ขึ้นรวมกันเป็นพื้นที่หลายสิบตารางกิโลเมตร หญ้าทะเลชนิดที่พะยูนชอบกินได้แก่หญ้าใบมะขาม (Halophila ovalis) และถึงแม้ว่าพะยูนจะกินหญ้าเป็นอาหารหลักแต่ก็มีแนวโน้มว่าพะยูนกินสัตว์ขนาดเล็กๆ ที่อยู่ตามพื้นในแนวหญ้าทะเลเช่นปลิงทะเล เป็นอาหารด้วยเช่นกัน พะยูนมีช่วงชีวิตใกล้เคียงกับมนุษย์ คือประมาณ 70 ปี พะยูนตัวผู้จะสืบพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 9 ปีขึ้นไป ส่วนตัวเมียจะเริ่มผสม พันธุ์ได้เมื่ออวยุมากกว่า 13 ปี

การอนุรักษ์พะยูนนั้นเช่นเดียวกันกับการอนุรักษ์สัตว์หรือพรรณพืชอื่นๆ คือต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย สำหรับหน้าที่ของนักวิชาการของกรมป่าไม้ย่อมต้องมีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการบริหาร และจัดการระบบนิเวศของพะยูนต่อไป

สำหรับประชาชนทั่วไปก็สามารถช่วยกันอนุรักษ์พะยูนได้ด้วยการให้ความสำคัญติดตามข่าวสารการร่วมแสดงความคิดเหศนในโอกาสต่างๆ การไม่สนับสนุนการประมงที่ผิดกฎหมาย การสนับสนุนแก่ผู้ทำการศึกษาและอนุรักษ์ การไม่สร้างมลภาวะ ให้เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราก็เป็นการช่วยกันอนุรักษ์ที่สำคัญทางหนึ่งเพราะมลภาวะที่เกิดขึ้นทุกที่ ผลสุดท้ายก็มักถูกพัดพาลงไปสะสมในทะเลเหมือนกัน สำหรับกรมป่าไม้ หากต้องการทราบว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไร โปรดดูได้ที่ การดำเนินการในปัจจุบัน

หากท่านพบพะยูนตาย หรือมีข้อคิดเห็นหรือต้องการข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับพะยูนหรือต้องการสนับสนุนโครงการโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ โครงการรักษ์พะยูน กรมป่าไม้ ที่ สุวรรณ พิทักษ์สินธร โทรศัพท์ 561-4292 ต่อ 426

แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)

แมวลายหินอ่อน จัดอยู่ในจำพวกเสือเล็ก วงศ์ย่อย Felidae เนื่องจากกระดูกกล่องเสียงไม่มีเส้นเสียงจึงคำรามดังกังวานอย่างเสือโคร่งหรือเสือดาว เสือดำไม่ได้ ขนาดตัวโตกว่าแมวบ้านไม่มากนัก และมีลวดลายตามตัวดูคล้ายลายหินอ่อนขัด จึงมีชื่อว่า “แมวลายหินอ่อน” ถิ่นอาศัย : เขตการกระจายพันธุ์ของแมวลายหินอ่อนมีอยู่เฉพาะในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัมของอินเดีย เมียนมาร์ ไทย กลุ่มประเทศอินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยหาได้ยาก ถิ่นอาศัยที่ยังมีแมวลายหินอ่อนอาศัยอยู่คือ ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

อาหาร :แมวลายหินอ่อนกินสัตว์เล็กๆที่มันสามารถจับได้ ตั้งแต่แมลง จิ้งจก กิ้งก่า งู นก หนู เป็นต้น

พฤติกรรม :แมวลายหินอ่อนมีความสามารถในการหลบซ่อนพรางตัวตามป่ารกทึบได้เก่ง ทำให้พบเห็นตัวในธรรมชาติได้ยาก ปีนต้นไม้เก่ง แต่ปกติแล้วชอบอาศัยหากินอยู่ตามพื้นป่าดิบทึบใกล้แหล่งน้ำ ไม่ค่อยอยู่บนต้นไม้สูงเป็นประจำอย่างเสือลายเมฆ ออกหากินตอนกลางคืน นิสัยค่อนข้างดุร้ายกว่าแมวป่าชนิดอื่นๆ การล่าเหยื่อมักใช้วิธีการวิ่งไล่จับเหยื่อตามพื้นป่าอย่างเงียบๆ ไม่ใช้วิธีการดักซุ่มอยู่ตามคาคบไม้อย่างเสือลายเมฆ

สถานภาพปัจจุบัน : เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่ใกล้คน ชอบซุกซ่อนพรางตัวอยู่ตามป่าทึบที่ห่างไกลคน เมื่อพบคนจึงแสดงอาการดุร้าย ทำให้ถูกฆ่าตายไป ประกอบกับเป็นเสือที่มีลักษณะสวยงามหาได้ยากมาก เป็นที่ต้องการของสวนสัตว์ต่างๆ และพวกชอบเลี้ยงสัตว์ป่าที่หายาก จึงเป็นสัตว์ป่าที่มี

อายุเฉลี่ย : มีอายุยืนราว 12 ปี

วัยเจริญพันธุ์ : พฤติกรรมการสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการศึกษาแมวลายหินอ่อนในสวนสัตว์ พบว่าค่อนข้างคล้ายกับแมวบ้าน แมวลายหินอ่อนผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ระยะตั้งท้อง 66-82 วัน ลูกแรกเกิดยังไม่ลืมตา จนอายุประมาณ 12 วันจึงจะลืมตาได้และเริ่มหัดเดินเมื่ออายุประมาณ 15 วัน หย่านมอายุประมาณ 121 วัน ขนาดและน้ำหนัก : ขนาดของแมวลายหินอ่อนพันธุ์ไทย ขนาดตัว 45-53 เซนติเมตร หางยาว 47.5-55.0 เซนติเมตร ช่วงขาหลัง 11.5-12.0 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 2-5 กิโลกรัม

แรด (Rhinceros sondaicus)

ชื่อสามัญ Javan rhinoceros ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinoceros sondaicus สัตว์ป่าที่เราเรียกกันว่าแรดนี้ หมายถึงแรดพันธุ์ชวาซึ่งเป็นเเรดชนิดหนึ่งในจำนวนแรดทั้งห้าชนิดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน แรดทั้งห้าชนิดดังกล่าวได้แก่แรดพันธุ์ดำ (มีสองนอ) แรด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่มาก ตัวที่โตเต็มที่สูงเกือบ 6 ฟุต แรดตัวผู้จะมีนออยู่เหนือจมูก ยาวประมาณ 10 นิ้ว และมีนอเดียว ตัวเมียส่วนมากไม่มีนอ แต่ถ้าจะมีก็จะเห็นเป็นเพียงเนื้อนูนขึ้นมาเล็กนัอยเท่านั้น แรดเป็นสัตว์ที่มีหนังหนามาก และจะเห็นเป็นรอยนูนๆ อยู่เกือบทั่วไป ขาแรดมีขนาดใหญ่แต่สั้น และขาแต่ละข้างจะมีนิ้วเพียง 3 นิ้วเท่านั้น ที่ปลายนิ้วจะมีเล็บกว้าง หนังของแรดไม่ค่อยมีขน คือมีขนขึ้นเพียงประปรายบางๆ เท่านั้น ปกติสายตาของแรดไม่ค่อยดีนัก แต่จมูกของมันไวต่อการสัมผัสกลิ่นดีมาก

แรด ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ และค่อนข้างรกไปด้วยหนาม และมีแหล่งน้ำ เช่น หนอง บึง ลำห้วย ลำธาร ซึ่งสามารถใช้ดื่มกินและนอนปลักได้ เนื่องจากแรดมีนิสัยชอบนอนแช่เล่นตามปลักหรือตามหนอง อาหารของแรดได้แก่ใบไม้ กิ่งไม้ เถาไม้ หน่อพืชบางชนิด และลูกไม้บางชนิด แรดมีอัตราการสืบพันธุ์ต่ำมาก ในช่วงระยะเวลา 4-5 ปี ตัวเมียจะออกลูกเพียงครั้งละ 1 ตัว ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ลูกอ่อนจะอยู่กับแม่นานถึง 2 ปี จึงจะสามารถพึ่งตัวเองได้ แรดมีอายุค่อนข้างยืน มีผู้ประมาณไว้ว่าแรดสามารถมีอายุยืนถึง 50 ปี แรดเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปัจจุบันแรดในเมืองไทยหายากมาก อาจพอมีเหลืออยู่บ้างในบริเวณท้องที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี และตาก กับที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ. อุทัยธานี

ทางเราหวังว่าสัตว์ป่าดังกล่าวข้างต้น จะยังคงมีดำรงค์อยู่คู่บ้านคู่เมืองไทยเราไปตลอดกาลชั่วลูกชั่วหลานสืบไป

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ote1986's profile


โพสท์โดย: ote1986
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: เป็ดปักกิ่ง, ote1986
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อะไรจะเกิดขึ้น หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงนางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐชายหาดในประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTS1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!อันตราย! คนจีนจ้างแพ็คอาหารเสริมปลอม ขายผ่านออนไลน์ในไทยล่าแม่มดทริบูร์: ความกลัวที่ทำให้ชีวิตกลายเป็นเพียงเงาในประวัติศาสตร์""ช็อกแป๊บ! เจอ 'หลวงพี่เท่งตัวจริง' เดินบิณฑบาต คนถามหนังหรือชีวิตจริง"ช็อกกลางงาน! ทหารโสมเหนือปฏิเสธจับมือ "คิมจองอึน" ผู้นำยืนเก้อวิจิตรเจ้าพระยา 2024 ปังไม่ไหว ฝรั่งอึ้ง งานใหญ่ระดับโลกที่ต้องมาดูฝรั่งเผยชีวิตไทยสุดชิล! ไม่คิดกลับอเมริกา แถมซึ้งใจเมืองพุทธจนใจละลาย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้น1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!ตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTSอันตราย! คนจีนจ้างแพ็คอาหารเสริมปลอม ขายผ่านออนไลน์ในไทยล่าแม่มดทริบูร์: ความกลัวที่ทำให้ชีวิตกลายเป็นเพียงเงาในประวัติศาสตร์"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
"ตารางลดน้ำหนัก" ฉบับกินยังไงก็ผอม5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้นวิธีการด่าแบบอ้อมๆวิจิตรเจ้าพระยา 2024 ปังไม่ไหว ฝรั่งอึ้ง งานใหญ่ระดับโลกที่ต้องมาดู
ตั้งกระทู้ใหม่