หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เผาอ้อยสร้างฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นความมักง่าย หรือเพราะเศรษฐกิจบีบบังคับ

เนื้อหาโดย CPDS

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ยังพบกับปัญหาเดิม ๆ คือ คนไทยต้องเผชิญกับฝุ่นพิษ PM 2.5 ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน การทำการเกษตร หรือจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าจะพูดถึงปัญหาการเผาอ้อย ก่อนที่จะมุ่งไปหาปลายเหตุของมลพิษ​ เราอยากจะมาชวนคุยกันก่อนว่าทำไม อะไรกันนะที่ทำให้เกิดการเผาในเกษตรกรรม?

 

ปกติแล้วการทำการเกษตรจะวนเป็นรูปแบบซ้ำ ๆ : ปลูก > เก็บเกี่ยว > ปรับพื้นที่ > ปลูก ... วนไปใหม่เรื่อย ๆ ในทุกฤดูกาล

#เผาแล้วง่ายกว่า?

ตรงฤดูกาลเก็บเกี่ยวเนี่ยแหละ จะเป็นช่วงที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย เพราะถ้าจะได้อ้อยเพื่อไปขาย เกษตรกรต้องตัดใบอ้อยออก ตัดลำต้นชิดดิน แล้วตัดยอดอ่อนทิ้งไป ให้เหลือแต่ลำต้นอ้อยที่ให้ความหวาน แต่มันก็เป็นปัญหา เพราะขาดแรงงานในการไปตัดใบอ้อย ด้วยความที่ใบอ้อยจะคมเหมือนมีด และเขาจะนิยมปลูกกันถี่ ๆ เพื่อความคุ้มค่า เกษตรกรและแรงงานที่รับจ้างเลยมองว่ามันลำบาก บาดมือ และใช้เวลานาน โดยเฉลี่ยคนงานคนหนึ่งตัดอ้อยได้วันละ (8 ชั่วโมง) 1 ตัน

วิธีการที่ง่ายและเร็วกว่านั้นเลยจะเป็น “การเผา” เพื่อให้ใบอ้อยไหม และเหลือแต่ลำต้น และตัดอ้อยได้เร็วขึ้น ทั้งลดค่าแรง ค่าเครื่องจักร ใช้เวลาไม่นาน และไม่ทำให้บาดเจ็บ

#การเข้ามาของภาคธุรกิจเร่งการเผาอ้อย?

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้วิธีการเผาไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากยังเป็นการทำการเกษตร “เพื่อการยังชีพ” ถ้าไม่จำเป็น การเผาคงจะไม่ใช่ตัวเลือกหลักของเกษตรกร แต่เมื่อภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เกิดการเซ็นสัญญากับเกษตรกรโดยตรง เกิดการผูกขาด และการรับซื้ออ้อยจำนวนมาก “การเกษตรเพื่อยังชีพ” จึงเปลี่ยนมาเป็น “การเกษตรเชิงธุรกิจ” เกษตรกรต้องส่งอ้อยถี่ขึ้น แข่งกับเวลา แล้วในปีนี้ราคาอ้อยก็ลดลง จึงทำให้ต้องผลิตเยอะมากกว่าเดิม เพื่อที่จะทำยอดให้ได้เท่าเดิม เพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว

อีกทั้ง โรงงานรับซื้อก็นิยมให้คิวอ้อยไฟไหม้ก่อนอ้อยสดด้วย เพราะรู้ว่าถ้าเกิน 48 ชม. ค่าความหวานและน้ำหนักของอ้อยจะลดลง

 

ทุกอย่างเลยเหมือนเป็นตัวเร่งให้เกษตรกรต้องรีบสร้างผลผลิต ให้ทันกับเวลา และไม่ต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูงด้วย

และถ้าวิเคราะห์ให้ลึกขึ้น การที่เกษตรกรยอมตกลงเซ็นสัญญาต่าง ๆ ที่หลายอย่างก็ไม่เป็นธรรม ก็เกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาผลผลิตลดลง อันเป็นผลมาจากการบริหารของรัฐบาลด้วย ซึ่งน่าเศร้า เพราะผลที่ตามมากลับกลายเป็นมลพิษทางอากาศ หรือ PM 2.5 ที่ทั้งคนที่เผาเอง คนในระแวก และคนในเมืองต้องเจอกันอยู่ในปัจจุบันนี้ จึงเป็นอีกคำถามที่น่าสนใจว่าสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ถึงขั้นที่คนกลุ่มหนึ่งยอมแลกความปลอดภัยในสุขภาพกับเงินเพื่อการยังชีพเชียวหรือ

และเมื่อมาถึงจุดนี้ เราก็อาจจะต้องกลับมามองกันใหม่แล้ว ว่าการที่เราบอกว่าเกษตรกรที่เป็นคนเผาซึ่งเป็นตัวการในการเกิด PM 2.5 “ต้นเหตุที่แท้จริง” เกิดจากความมักง่าย หรือถูกเศรษฐกิจบีบจนต้องเลือกการเผาอ้อยกันแน่ ?

เนื้อหาโดย: CPDS
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
CPDS's profile


โพสท์โดย: CPDS
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อิมาน เคลิฟ นักมวยหญิงชาวแอลจีเรีย ผู้คว้าเหรียญทองโอลิมปิกที่ปารีส ได้รับการยืนยันแล้ว ว่าเป็นเwศชายดราม่าเดือด! ทำแบบนี้เหมาะสมไหมรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่เหมือนจะมีลมหนาวพัดมาบ้างแล้ว ค่อยเหมือนหน้าหนาวขึ้นละเน่อ18 บอส 'ดิไอคอน' ถูกดีเอสไอแจ้งข้อหาผิดแชร์ลูกโซ่-กฎหมายขายตรงบุกบ้าน “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดังตี่ลี่” ปิดเงียบนัท มีเรีย แจงเหตุ ท้องป่อง ทำหลายคนคิดว่าท้องยอดกฐินวัดดัง 2567 มากกว่าพันล้าน13 ของว่าง ของกินเล่น พลังงานต่ำ ไม่อ้วน แคลน้อย สำหรับคนลดน้ำหนัก กินแล้วอิ่มนานนักแสดงดัง แจ้งข่าว ติดเชื้อ “HIV” ก่อนโพสต์สุดเศร้าท้าวศรีสุดาจันทร์ คือใคร??มังคุดคัด 8 ลูก 699 บาท! "พี่เอ ศุภชัย" เจอดราม่า ราคาแรงแซงโค้งสลด! นักเรียน ม.4 วิ่งแค่ 200 เมตร วูบล้มดับในคาบพละ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ทนายตั้ม เข้ามากองปราบแล้ว เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ผู้บริโภคโวย ‘ฉางอัน’ หั่นราคารถไฟฟ้า DEEPAL S07 เกือบ 3 แสน เพิ่งซื้อได้ 9 วันอิมาน เคลิฟ นักมวยหญิงชาวแอลจีเรีย ผู้คว้าเหรียญทองโอลิมปิกที่ปารีส ได้รับการยืนยันแล้ว ว่าเป็นเwศชายกัมพูชารับไม่ได้ผ้าขาวม้าไทยจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อUNESCO
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สึนามิฮิโลในปี 1946ดร. ฮาร์วีย์ คูชิง และภาพถ่ายของผู้ป่วย ที่เขาผ่าตัดสมองในช่วงต้นศตวรรษที่ 20drop: หล่น ร่วงหล่นburn: เผาผลาญ
ตั้งกระทู้ใหม่