ครูเชาว์ เรือจ้างผู้เสียสละเเละเป็นผู้ให้ของเด็กๆในชุมชนแออัดใต้สะพานพระราม 8
คุณครูผู้ให้ เชาวลิต ลาดสมัย1 ใน 5 ตัวเเทนผู้ให้จากเครือข่ายผู้มีจิตใจแห่งการให้ เวทีประชุมนานาชาติ The Givers Network 2018, Bangkok จัดโดย Asia Philantropy Circle - APC, Thai young Philanthropist Network - TYPN มูลนิธิเพื่อคนไทยและมูลนิธิดีที แฟมิลี่ส์
ได้รับรู้เรื่องราวของคุณครู หรือที่ทุกคนในชุมชนแออัดใต้สะพานพระราม 8 เรียกว่า "ครูเชาว์" ก็ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา ครูเชาว์เป็นออทิสตกและพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด หากมุ่งมั่นฟันฝ่าอุปสรรคจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปัจจุบันเป็นนักพัฒนาสังคมอัตราจ้าง กรุงเทพมหานคร
ต้นทุนชีวิตติดลบ เกิดมาพร้อมความพิการออทิสติกยังไม่พอ ครูเชาว์ใช้ชีวิตวันเด็กในสถานสงเคราะห์ เป็นเด็กกำพร้า ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีญาติมิตร เกิดมาท่ามกลางความไม่พร้อม สายตาเอียง แขนลีบกล้ามเนื้อลีบ เรียนก็ช้ากว่าเด็กปกติ มองไปไม่เห็นอะไรที่เป็นปัจจัยบวก
ครูเชาว์ไม่ยอมแพ้ แต่เปลี่ยนความพิการเป็นพลัง มุ่งมั่นกับการศึกษายิ่งไปกว่านั้นคือการขอโอกาสที่จะออกไปเรียนในห้องเรียนปกติเพราะนั่นคือทางเดียวที่จะฝึกทักษะในการอยู่ร่วมกับสังคมของคนปกติ ได้พัฒนาศักยภาพที่ควรจะเป็น
"อยากให้สังคมไทยไเ้เห็นว่าแม้จะเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นได้ ผมไม่หมกมุ่นกับอุปสรรค ไม่ยอมแพ้แม้แต่จะสงสารตัวเอง คิดแต่ว่าต้องเรียนให้จบ เพื่อทำงานช่วยเหลือสังคม ช่วยเด็กพิการหรือเด็กที่เป็นออทิสติกเหมือนกันกับเรา"
วันนี้ในวัย 40 ปี ความฝันอังสูงสุดคือ การผลักดันให้เด็กๆ ในชุมชนได้มีโอกาสเรียนจบชั้นปริญญาตรีเป็นแรงผลักดันของชุมชนต่อไปนอกจากนี้ยังมีแผนระยะสั้นจัดตั้งศูนย์อนามัยดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับคนในชุมชน
"ผมเดินมาไกลมากแล้ว ยิ้มได้แล้วมีความสุขที่ได้ทำเพื่อเด็กๆ ทำเพื่อชุมชน ได้มีโอกาสเป็นผู้ให้ทั้งที่เราเป็นแบบนี้"
ความยากของการเป็นครูเชาว์
จะทำยังไงให้เด็กเชื่อฟัง จะจัดการเรียนการสอนยังไงให้ดำเนินไปได้ ทั้งเรื่องการปรับตัวกับนักเรียน ความเข้าใจ และวิธีการที่เราสอน เรามันใจว่าสามารถดูแลนักเรียนคนเดียวหรือกลุ่มย่อยได้ แต่ความเป็นจริง เราต้องดูแลทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ 12 ห้อง ห้องละ 30 - 40 คน รวมเป็น 480 คน และการดูแลเด็กพิเศษที่นอกเนือจากในวิชาเรียน ครูก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเด็กพิเศษ เพราะประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคน ปัญหามันไม่ได้มีแค่อย่างเดียว มีทั้งเรื่องครอบครัว สังคมและต้องเข้าใจผู้ปกครองด้วย
เป้าหมายในการเป็นครู
อยากช่วยเหลือเด็ก ทั้งเด็กพิเศษและเด็กทั่วไป เหมือนกับเราได้ใช้ชีวิตร่วมกับเด็กๆ เรียนรู้ที่จะเข้ากับเขาให้ได้ แล้วเรียนรู้ต่อไปที่จะพัฒนาตัวเขาได้ พูดคุยเป็นรายบุคคล แลกเปลี่ยน เรียนรู้หลักการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเด็กฟ ก็ยอมรับและสนุกกับการสอนของเรา
แต่โจทย์ยากต่อไปก็คือ จะพัฒนาเด็กอย่างไร และยากตรงที่จำนวนเด็กมันเยอะจะใช้วิธีไหนที่จะพัฒนาพวกเขาทุกคนให้ได้เพราะการสอนเป็นหน้าที่ แต่การดูแลเด็กพิเศษเพิ่มเติม ก็เป็นส่วนที่เราเห็นปัญหาแล้วอยากทำเอง
หลักๆ คือเราอยากช่วยเหลือเด็กพิเศษ เราค้นคว้าหาความรู้ให้มากขึ้นอยากช่วยเหลือเด็กทั่วประเทศ เพราะสถานการณ์ของเด็กพิเศษ มันไม่ได้ดูดีขึ้นเลย มันเหมือนจะดีขึ้นนะ แต่ในทางกลับกันมันก็แย่ลง เพราะตัวผู้ปกครองหรือคุณภาพของบุคลากรในประเทศยังเข้มแข็งไม่พอที่จะพัฒนาต่แไป ยังขาดความรู้ขาดการรับมือ และที่สำคัญคือ หลายคนยังขาดความใกล้ชิดกับลูก ขาดการฝึกปฏิบัติจริง