ที่มาของคำว่า ยักษ์ปักหลั่น อยู่ในสำนวนไทยที่ใช้เปรียบเทียบคนตัวใหญ่ว่า ใหญ่โตราวกับยักษ์ปักหลั่น
ที่มาของคำว่ายักษ์ปักหลั่น อยู่ในสำนวนไทยที่ใช้เปรียบเทียบคนตัวใหญ่ว่า ใหญ่โตราวกับยักษ์ปักหลั่น
บางทีเราได้ยินชื่อแปลกๆในสำนวนภาษาไทย แต่เราไม่รู้ว่าที่มาของคำๆนั้นมีที่มาอย่างไรโดยเฉพาะในสำนวนไทย
วันนี้เลยยกตัวอย่างคำว่า ปักหลั่น มาดูกันครับว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร
ปักหลั่น
ปักหลั่น เป็นชื่อของยักษ์ตนหนึ่งในตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีหน้าที่เฝ้าสระโบกขรณีชื่อ "พันตา" ตั้งอยู่ระหว่างทางที่ทัพพระรามจะเคลื่อนทัพไปกรุงลงกา ปักหลั่นคอยดักสัตว์กินเป็นอาหาร
เมื่อพบกับ หนุมาน องคต และชมพูพาน ที่มานอนหลับริมสระ จึงคิดจะกินลิงทั้งสาม แต่ต่อสู้กันปักหลั่นก็แพ้ และบอกที่มาว่าของตนเดิมว่าเป็น เทวดาแต่ลักลอบเป็นชู้กับนางเกสรมาลา จึงถูกสาปมาเป็นยักษ์เฝ้าสระ แต่ถ้าได้พบกับทหารขององค์พระนารายณ์เข้าลูบกายก็จะพ้นคำสาป องคตจึงเข้าลูบหลังทำให้ พ้นคำสาปกลับไปเป็นเทวดา
ปักหลั่น อยู่ในสำนวนไทยที่ใช้เปรียบเทียบคนตัวใหญ่ว่า ใหญ่โตราวกับยักษ์ปักหลั่น
เป็นอย่างไรบ้างครับวันนี้เราก็ได้เรียนรู้สำนวนภาษาไทยกับคำแปลกๆที่แฝงอยู่
ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีที่มาที่ไปนะครับและมีการเปรียบเทียบเสมอสำหรับสำนวนภาษาไทยสมัยโบราณที่อ่านแล้วทำให้มองนึกเห็นภาพจากจินตนาการได้เลยครับ
อ้างอิงจาก: th.m.wikipedia.org/wiki/,อัศศิริ ธรรมโชติ,ว่าตามเพลง,สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 5 24-30 ตุลาคม พ.ศ. 2551