ลมพิษ
ประเภทของโรคลมพิษ
หลายคนคงคุ้นหูกับ “โรคลมพิษ” แต่คงยังไม่แน่ใจนักว่าโรคลมพิษที่รู้จักนั้น มีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยหลักๆ โรคลมพิษ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามระยะเวลาในการเป็น
ลมพิษชนิดเฉียบพลัน
มักมีอาการต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ประมาณ 50% จะเกิดขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ นอกนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน การแพ้ยา และแพ้อาหารตามลำดับ
ลมพิษชนิดเรื้อรัง
มักมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยเป็นต่อเนื่องเกิน 6 สัปดาห์ และเป็นอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ลมพิษชนิดนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลมพิษชนิดที่เกิดจากการกระตุ้น (Inducible urticaria) อย่างการขูดขีด ความร้อน ความเย็น การออกกำลังกาย เป็นต้น หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาจากโปรตีนในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่น จากยา จากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นชนิดที่ไม่พบสาเหตุจำเพาะเลยก็โรคลมพิษ” เกิดจากสาเหตุใด และสิ่งใดที่อาจกระตุ้นให้เกิดลมพิษได้บ้าง?
การเกิดโรคลมพิษมีได้หลายสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคลมพิษของแต่ละคนก็อาจไม่เหมือนกัน มาดูกันว่ามีสาเหตุใดบ้าง
แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูดในอาหาร หรือสีผสมอาหารบางชนิด
แพ้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาแก้ปวด แอสไพริน เป็นต้น
แพ้ฝุ่น ละอองเกสร พืชบางชนิด และขนสัตว์
การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ
ในบางรายที่มีปฏิกิริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น หรือแสงแดด เป็นต้น
สารทึบรังสี (Contrast Media) ที่ใช้ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ผิวหนังสัมผัสสารเคมีหรือยาบางชนิด เช่น ยาทาแก้อักเสบ เป็นต้น
การให้เลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
ในบางรายที่มีภาวะแพ้ภูมิตัวเอง ผื่นอาจเกิดจากโปรตีนในเลือดของผู้ป่วยเองที่ไปกระตุ้นเซลล์อักเสบ