นักชีววิทยาตั้งสมมติฐาน เหตุใดมนุษย์มีอายุขัยสั้น?
สวัสดีค่าทุกคน เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมมนุษย์ถึงเจ็บป่วยง่าย และมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นอยู่แค่ในช่วงอายุ 65-75 ปี วันนี้เราจะพามาดูสมมติฐานที่ชื่อว่า “longevity bottleneck” หรือคอขวดของความมีอายุยืนยาว ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร BioEssays โดย ดร.จัว เปโดร จี มากาเญส (João Pedro de Magalhães) นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในสหราชอาณาจักร
นักจุลชีววิทยา กล่าวว่า “ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความแก่ชราอย่างเห็นได้ชัด แต่สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำบางชนิดกลับแสดงการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความแก่ชราช้ามาก จนถึงขั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความแก่ชราเลย” ซึ่งเขาได้ทำการศึกษาต่อและได้ตั้งสมมติฐานขึ้น
- นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าอายุขัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาจสั้นลง เนื่องจากการพยายามเอาชีวิตรอดในยุคไดโนเสาร์
ภาพประกอบที่ 1 ไดโนเสาร์
เขาเสนอเพิ่มเติมว่า “เป็นเวลากว่า 100 ล้านปีที่ไดโนเสาร์เป็นสัตว์นักล่าที่สำคัญ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปมีขนาดเล็ก ออกหากินเวลากลางคืน และมีอายุสั้น”
นักจุลชีววิทยา ตั้งสมมติฐานต่อไปว่า “ความกดดันทางวิวัฒนาการอันยาวนานต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกเพื่อการสืบพันธุ์อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การสูญเสียหรือหยุดการทำงานของยีนและวิถีทางที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่ยืนยาว”
ภาพประกอบที่ 2 นักจุลชีววิทยา João Pedro de Magalhães
- การวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงการปกครองของไดโนเสาร์
ตามที่นักวิทยาศาสตร์ระบุ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรก ๆ บางส่วนถูกบังคับให้มีชีวิตอยู่จนถึงจุดต่ำสุดของห่วงโซ่อาหาร และอาจใช้เวลาถึง 100 ล้านปีในช่วงอายุของไดโนเสาร์ที่พัฒนาเพื่อความอยู่รอดผ่านการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว
ภาพประกอบที่ 3 นักจุลชีววิทยา João Pedro de Magalhães กล่าวในรายการข่าว BBC
แม้ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะสามารถพัฒนาช่วงชีวิตที่ยืนยาวได้แต่พวกมันไม่เลือกทำเช่นนั้น เนื่องจากต้องรีบขยายเผ่าพันธุ์ในยุคไดโนเสาร์ เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ จึงทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโตไวเพื่อสืบพันธุ์ เป็นเหตุผลให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแก่เร็วด้วยเช่นกัน (โตไว แก่ไว อายุสั้น)
ภาพประกอบที่ 4 แผนภาพ “คอขวดของความมีอายุยืนยาว” ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ช่วงยุคจูราสสิกและครีเทเชียส
- เหตุผลที่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเจ็บปวดง่ายและอายุสั้น
นักวิทยาศาสตร์ เสนอว่า ในยุคไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีความกดดันด้านการวิวัฒนาการอันยาวนาน ซึ่งมีผลกระทบต่ออายุของมนุษย์
ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างทฤษฎีเพิ่มเติมของเขาเกี่ยวกับความสามารถของสัตว์บางชนิดในการซ่อมแซมและการฟื้นฟู ซึ่งเขาพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขาดยีนบางชนิดที่ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และเมื่อเปรียบเทียบกับญาติของไดโนเสาร์อย่างสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มียีนดังกล่าวอยู่ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์แก่ชราได้ง่าย และนอกจากนี้ยังมีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงกว่าสัตว์ชนิดอื่นอีกด้วย
- ความขัดแย้งของสมมติฐาน
สมมติฐานนี้อาจใช้ไม่ได้กับ “ตุ่นหนูไร้ขน” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง และยังขัดแย้งกับความรู้ใหม่ ที่พบว่า ไดโนเสาร์เองก็มีอายุไม่ยืนยาวมากเท่าที่เคยคิดกัน และสังเกตว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดมีชีวิตอยู่ได้นานมาก เช่น วาฬหัวบาตร ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุยืนที่สุด วาฬอาร์กติกและวาฬใต้อาร์กติก มีอายุยืนยาวกว่า 100 ปีอย่างสบาย และสามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 200 ปี แต่อย่างไรก็ตาม การติดตามพิสูจน์ความถูกต้องของสมมติฐานนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยเพื่อหาวิธีป้องกันรักษาโรคมะเร็งและยืดอายุขัยของมนุษย์ต่อไป
ภาพประกอบที่ 6 วาฬหัวบาตร
- ความคิดเห็นบางส่วนของผู้คนที่มีต่อสมมติฐานนี้
ผู้คนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นต่อสมมติฐานนี้ไปทางเดียวกัน เช่น
คุณ Meredith กล่าวว่า "ใครจะอยากอยู่ถึง 200 ปี, ไม่ใช่ฉัน"
คุณ Derick กล่าวว่า "ทำไม? ถ้าฉันยังต้องจ่ายบิลและทำงานจนกระทั่งอายุ 110 ปี ฉันคิดว่าไดโนเสาร์ได้ช่วยเราแล้ว"
คุณ Matthew กล่าวว่า "ไดโนเสาร์ทำดีต่อเราแล้ว"
คุณ Francois กล่าวว่า "ไดโนเสาร์และมนุษย์คิดถึงกันมา 65 ล้านปีแล้ว, มาเร็ว"
ภาพประกอบที่ 7 ความคิดเห็นของชาวต่างชาติต่อสมมติฐานนี้
สรุปได้ว่า “longevity bottleneck” หรือคอขวดของความมีอายุยืนยาว เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจ และมีความเป็นไปได้ จากทฤษฎีที่กล่าวว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขาดยีนบางชนิดที่ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และความกดดันในยุคไดโนเสาร์ทำให้ต้องรีบขยายเผ่าพันธุ์ จึงเป็นเหตุผลที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงมนุษย์มีวิวัฒนาการแบบโตไว แก่ไว เจ็บป่วยง่าย และตายไว แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้ง เนื่องจาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดก็มีอายุยืนยาว เช่น ตุ๋นหนูไร้ขนและวาฬ จึงต้องทำการศึกษาและหาข้อสรุปต่อไป อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาเรื่องยีนซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย การหาวิธีรักษาโรคมะเร็งต่อไปได้
อ้างอิงจาก: BBC News, Science & Technology from boredpanda