หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

6 ธันวานี้ สงกรานต์ไทยเตรียมพิจารณาเป็นมรดกภูมิปัญญาฯ

เนื้อหาโดย กัลยลิขิต

Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ ถูกประกาศใช้โดย United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เรียกสั้น ๆ ว่า UNESCO (ยูเนสโก)

 

ในการประชุมใหญ่องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 32 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ปี 2003 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 20 เมษายน ปี 2006

ซึ่งชนวนเหตุที่ทำให้เกิดอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาฉบับนี้ขึ้นมา เนื่องมาจากในช่วงยุค 70 - 80 มีนักร้องดังในยุคได้นำเอาทำนองเพลงของชนเผ่าในอเมริกามาแต่งเพลง แต่ไม่ได้ให้เครดิตความเป็นเจ้าของทำนองเพลงที่ตนทำมาแต่งเพลงแก่ชนเผ่านั้น เป็นเหตุให้เกิดการยื่นเรื่องฟ้องร้องกันในระดับนานาชาติ และทางยูเนสโกก็ได้ตระหนักถึงเรื่องการให้เกียรติแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะกลุ่มบุคคธรรมดา หรือปัจเจกบุคคลที่ไม่สามารถไปต่อสู้กับผู้มีชื่อเสียงได้เลย จึงได้คิดทำอนุสัญญาฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึวการให้เกียรติต่อมรดกภูมิปัญญาของผู้อื่น จนกระทั่งในช่วงปี 90 หลังสิ้นสุดสงครามเขมรแดงในประเทศกัมพูชา ทางการฝรั่งเศสที่ยื่นมือเข้าไปช่วยก็ได้นำพาเอามรดกทางวัฒนธรรมของกัมพูชาไปยื่นของการสงวนรักษาแก่ยูเนสโก ซึ่งเหตุการณ์สงครามเขมรแดงนี้ ก็ทำให้ยูเนสโกตระหนักถึงการสูญหายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่อาจจะเกิดจากน้ำมือมนุษย์หรือธรรมชาติก็ได้ จึงได้เพิ่มการตระหนักถึงความสูญหายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากภัยการเมือง ภัยสงคราม และภัยพิบัติทางธรรมชาติเข้ามา เพื่อให้ชาติภาคีตระหนักถึงในเรื่องแนวกทางการป้องกันการสูญหายและการให้ความช่วยเหลือกันของชาติภาคี จนในที่สุดก็ได้มีการประกาศใช้อนุสัญญาดังกล่าวในปี 2003 ดังที่กล่าวไปข้างต้น

ซึ่งในอนุสัญญาฉบับนี้ระบุไว้ว่า
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาคือ
- เพื่อปกป้องมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

- เพื่อประกันว่าจะให้การเคารพต่อมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชุมชน กลุ่มคน และปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง

- เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และให้เกิดตระหนักรู้ในความชื่นชมร่วมกัน

- เพื่อให้เกิดมีความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศของชาติภาคี

ส่วนนิยามของคำว่า Intangible Cultural Heritage หรือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นั้นหมายถึง การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน

ที่ใช้คำว่า จับต้องไม่ได้ แล้วคนไทยเราไปแปลกันผิด ๆ ว่า คือห้ามนำมาใช้ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือต่อยอด จริง ๆ คือมันไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถจับต้องได้ เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้น เกิดมาจากไอเดียความคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นการสั่งสอน บอกเล่า ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือจดบันทึกเอาไว้ ซึ่งเราจับต้องได้แต่ตัวชิ้นงาน บุคคลที่ทำชิ้นงาน แต่เราไม่สามารถไปจับหรือสัมผัสความคิด ความรู้ หรือทักษะของได้ ว่าง่าย ๆ อนุสัญญาฉบับนี้จึงเป็นการปกป้องความรู้ระดับชาตินั่นเองนั่นเอง

โดยจำแนกลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเอาไว้ 5 ประเภทด้วยกัน อันได้แก่

1.ประเพณีและการแสดงออกทางมุขปาฐะ รวมถึงภาษาในฐานะพาหะที่ทำให้เกิดมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

2. ศิลปะการแสดง

3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และเทศกาลต่าง ๆ

4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

5. งานฝีมือแบบดั้งเดิม

โดยจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1. ความเป็นวัฒนธรรม และการอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน มรดกที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) ไม่ได้หมายถึงเพียงเป็นตัวแทนของมรดกที่ได้รับสืบทอดต่อกันมาจากอดีตเท่านั้น แต่ต้องรวมถึง วิถีทางชนบทที่มีการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยชุมชนนั้น ๆ และธรรมเนียมการปฏิบัติเกี่ยวกับเมือง ในความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่ม

2. สิ่งที่เกิดจากการแบ่งปันประสบการณ์ทางมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมากับ บุคคลต่าง ๆ ที่อพยพและย้ายถิ่นมาจากที่ต่าง ๆ หรือเกิดการดัดแปลงจากกลุ่มบุคคลที่อพยพและตั้งถิ่นฐานในแต่ละพื้นที่

3. การเป็นตัวแทนทางมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะค่านิยมทางวัฒนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว แต่ให้รวมถึงองค์ความรู้ของแต่ละวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นพิเศษ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็น ชุมชนด้วย

4. พื้นฐานความเป็นชุมชน สำหรับมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งสามารถเป็นมรดกได้ เมื่อมี การเห็นคุณค่าของชุมชน เช่น ความเป็นสังคม กลุ่มหรือการเป็นปัจเจกชน ต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ประกอบ กับการโอนถ่ายซึ่งทักษะและความรู้ในระหว่างชุมชน

และมีเกณฑ์คัดแยกประเภทการรับรองการขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 3 รายการ ได้แก่

-รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL)

-รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding : USL)

-รายการที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Register of Good Safeguarding Practices : GSP)

สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการลำดับที่ 171 ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2559 ซึ่งจนถึง ณ ตอนนี้ ประเทศไทยของเราได้รับการรับรองมรดกภูมิปัญญทางวัฒนธรรมไปแล้ว 3 รายการด้วยกัน อันได้แก่

การแสดงโขนในปี 2018

นวดแผนไทยในปี 2019

และการแสดงโนห์ราในปี 2021

และในปีนี้ก็ถึงคิวของเทศกาลสงกรานต์ที่ถูกเลื่อนมาหลายปีเนื่องจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนาระบาด โดยได้ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาสสงกรานต์ในประเทศไทยว่า


เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ไทยตามประเพณีดั้งเดิม และจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ถึง 15 เมษายน
คำว่า สงกรานต์ นั้นเป็นคำจากภาษาสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้ายของดวงอาทิตย์ จากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง นั่นหมายความว่าในแต่ละปีจะมีสงกรานต์ 12 วัน แต่สำหรับเทศกาลสงกรานต์ของไทยนั้นยึดถือเอาวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับ วสันตวิษุวัต ช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน และเชื่อกันว่าการละเล่นสาดน้ำนั้นอาจจะมีต้นแบบต้นแบบมาจากเทศกาลโฮลีของอินเดีย

นอกจากการเล่นสาดน้ำที่ขึ้นชื่อแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังไปประกอบศาสนพิธีที่วัด

ทำบุญตักบาตรถวายพระสงฆ์ การส่งน้ำพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

การทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

ร่วมถึงการก่อเจดีย์ทรายซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลของเทศกาลนี้

โดยการพิจารณารับรองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในปี 2023 นี้จะเริ่มขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม และจะพิจารณาโดยเรียงลำดับจากตัวอักษรของชื่อประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในวันที่ 6 ธันวาคม

เนื้อหาโดย: กัลยลิขิต
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
กัลยลิขิต's profile


โพสท์โดย: กัลยลิขิต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
พายุลูกเห็บถล่ม ไก่ตาย 2 หมื่นตัว สูญเงิน 3 ล้านเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ง้างปากนกกระทุงหลังกินเป็ดทั้งเป็นภาพที่เห็นไม่ใช้เส้นมาม่า..แต่มันคือต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่า! ทำให้เห็นระบบลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้จากรากสู่ใบดราม่า โง่หรือฉลาดที่ไปฟัง "เดี่ยว สเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์"คอนเสิร์ต AREA 52 "แบมแบม" สุดยิ่งใหญ่ ราชมังแตกเลยจ้าลดน้ำหนัก จนสร้างสถิติลงบันทึกในกินเนสส์ลิซ่าเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วนะงูยักษ์ขวางประตูโรงเรียน! ครูผวาเกือบเป็นลม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิมดราม่า โง่หรือฉลาดที่ไปฟัง "เดี่ยว สเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์"คอนเสิร์ต AREA 52 "แบมแบม" สุดยิ่งใหญ่ ราชมังแตกเลยจ้าลดน้ำหนัก จนสร้างสถิติลงบันทึกในกินเนสส์
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Review, HowTo, ท่องเที่ยว
ฝากพี่ๆเข้ามา รีวิว แหล่งท่องเที่ยว ทั่วไทย หน่อยครับพฤติกรรมสุดตลกสุดแปลกของคนเยอรมันที่มองเป็นเรื่องปกติแต่อาจจะแปลกสำหรับคนในประเทศอื่น!ก้าวสู่ประตูแห่งกาลเวลา ที่วัดเลขธรรมกิตติ์ นครนายกDisney World ห้ามนักท่องเที่ยวใส่รองเท้าCrocs
ตั้งกระทู้ใหม่