ไม่ใช่ขนม แต่เป็นอาหารคาวที่ต้องซาวด้วยน้ำกะทิ
***ขนมจีนซาวน้ำ ไม่ใช่ขนมแต่เป็นอาหารคาวที่อยู่ในกลุ่มคนกินเส้น
ก่อนอื่นต้องบอกว่าขนมจีนไม่ใช่อาหารจีน แต่เป็นอาหารมอญ คำว่า ขนมจีน ชาวมอญเรียกว่า ขะ-นอม-จิน คำว่า ขะนอม หมายถึง เส้นขนมจีน ส่วนคำว่า จิน มีความหมายว่าสุก
กล่าวโดยรวมคือขนมจีน เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย เส้นหมี่ ภาษาเหนือเรียก ว่า"ขนมเส้น" ส่วนภาษาอีสานเรียก "ข้าวปุ้น" และภาคใต้เรียกสั้นๆว่า "หนมจีน"
คำว่า "ขนมจีน" หรือ "หนมจีน" คำนี้พบในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกินเลี้ยง เมื่อครั้งที่พระเจ้าล้านช้างถวายนางสร้อยทองแก่พระพันวษาความว่า
ฯลฯ
แจ่วห้าแจ่วหกยกออกมา ทั้งน้ำยาปลาคลุกหนมจีนพลัน"
ฯลฯ
ขนมจีนซาวน้ำนั้น แตกต่างจากขนมจีนชนิดอื่น ๆ เพราะมีรสจัดจ้าน ขนมจีนซาวน้ำ จะราดด้วยน้ำกะทิลอยแจงลอน อ้าวๆๆ แจงลอนคืออะไร ตอบทันควันว่าลูกชิ้นปลา
กรายนั่นเอง ปรุงรสให้จัดจ้านขึ้นด้วยการคลุกเคล้าส่วนผสมอื่น ตามภาษาอิสาน ที่กำหนดคำว่า"ซาว" ซาว ในภาษาอีสาน หมายถึงการคลุกเคล้าส่วนผสมอาหารให้เข้ากัน ซึ่งเครื่องกินกับขนมจีนมีปนกันหลายสิ่ง หลายอย่างนับตั้งแต่กุ้งแห้งป่น กระเทียมซอย สับปะรด หรือส้มต่าง ๆ เป็นต้น โดยกินกับแจงลอน ราดเพิ่มด้วยน้ำกะทิรสหวานมัน กลมกล่อม
***มาเตรียมส่วนประกอบกันเถอะ
- ขนมจีน
- ขิงอ่อนซอยเป็นเส้นบางๆ
- กระเทียมกลีบใหญ่ ซอยเป็นแว่นบาง ๆ เช่นกัน
- กุ้งแห้งเนื้อ แช่น้ำให้นิ่ม แล้วโขลกให้แหลกจนเนื้อฟู
- สับปะรดสับ
- หัวกะทิเข้มข้น
- เกลือป่น
- พริกขี้หนูเม็ดเล็ก หรือพริกจินดา สีเขียวแดงซอยละเอียด
- น้ำตาลทราย หรือ น้ำตาลปีบเคี่ยวละลาย
- น้ำปลาดี
- มะนาว
- เนื้อปลาอินทรี หรือเนื้อปลากราย โขลกละเอียด
***ส่วนผสมแจงลอน / จอนลอน
-เนื้อปลาอินทรี หรือ เนื้อปลากรายบด
-ผักชีหั่นหยาบ
-พริกไทยป่น
-เกลือป่น
เหตุที่ใช้เนื้อปลาอินทรี/ เนื้อปลากราย - เพราะเป็นปลาทะเล กลิ่นคาวไม่แรง
เนื้อปลาอินทรีให้ความเหนียว มีความยืดหยุ่น เวลาเคี้ยวจะรู้สึกว่า อร่อยมาก
ทำได้โดยนำเนื้อปลาอินทรีที่โขลกแล้ว ผสมกับรากผักชี พริกไทยโขลกละเอียด นวดเข้าด้วยกันจนได้ที่ ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดพอดีคำแล้ว นำไปลวกในน้ำร้อนจัด
- ต้มหัวกะทิให้เดือดแต่ อย่าให้แตกมันแล้วใส่แจงลอนที่ลวกแล้วลงไป
ไม่น่าเชื่อว่าภูมิปัญญาของคนไทยรุ่นก่อนนั้นมีความสุนทรีมากในเรื่องสำรับคับคอน อาหารคาวโบราณที่คิดรังสรรค์
ได้ว่าจะต้องนำพืช ผัก และผลไม้ต่าง ๆมารับประทานร่วมกัน แล้วเป็นเมนูสำรับนั้น ๆ ซึ่งมีความกลมกล่อมเข้ากันได้ดีอย่างเยี่ยมยอด
ขอบคุณภาพ :ธนภัทร เล็กผลา
อ้างอิงจาก:Google pantip