ตึกที่สูงที่สุดแห่งแรกของไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์
ตึกสูงแห่งแรกของไทยสมัย ร.7
โรงแรมไชน่าทาวน์
อาคารแห่งนี้เป็นตึกเจ็ดชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 หรือ เมื่อร้อยปีที่แล้ว คนไทยในสมัยนั้น รู้จักกันแต่ชื่อว่า ตึกเจ็ดชั้น ส่วนคนจีนแต้จิ๋ว จะรู้จักกันในนามว่า 'ชิก เอี่ยง เล้า' แต่ชื่อที่แท้จริงของโรงแรมเลย โรงแรมนี้ชื่อ ฮั่วเชียง แต่ก็ยังไม่มีคนรู้จัก ต้องต่อสร้อยด้วยว่า โรงแรมฮั่วเชียงเจ็ดชั้น และเมื่อปี พ.ศ. 2469 มีชื่อเรียกว่า “กว็อกฮั้ว”
เมื่อก่อน คือ กว็อกฮั้ว หรือ พิพิธพานิชสถาน ตึก 7 ชั้นเยาวราช ปัจจุบันตึกหลังนี้ ได้ถูกปรับปรุงเป็นโรงแรมไชน่าทาวน์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2469 (สมัยรัชกาลที่ 7) เมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว......เป็นตึกสูงยุคแรก ๆ ของสยามเราที่สำคัญแห่งหนึ่งเลย ตั้งอยู่บนถนนสายเยาวราช ถนนสายเศรษฐกิจการค้าลำดับต้น ๆ ของกรุงเทพ ตึกหลังนี้ถือเป็นตึกที่สูงสุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในเวลา ณ ขณะนั้น เป็นตึกที่ใช้ลิฟต์แห่งแรกในประเทศไทย ภายในตึกเป็นที่ตั้งของแหล่งนันทนาการต่าง ๆ ชั้นแรก ๆ จะเป็นชั้นของ ภัตตาคาร-ร้านอาหารชั้นนำ ห้างสรรพสินค้า ห้องชุดให้เช่าพัก สถานออกกำลังกาย ห้องเล่นไพ่ ห้องฟังเพลง ห้องจัดแสดงสัตว์แปลก โรงแรม
ส่วนชั้นที่ 7 จะจัดเป็นสถานบันเทิง หรือ คลับ หรือสโมสรสำหรับชาวจีน มีการจัดแสดงระบำนุ่งน้อยห่มน้อยของคณะนายหรั่ง ซึ่งได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงมากในยุคนั้น และเป็นที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ ซ่องโสเภณี เป็นซ่องโสเภณีของไฮโซรุ่นคุณปู่ คุณทวด ราคาค่าตัวต่อคืน คืนละ 3-5 บาทเชียว ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาโสเภณีทั่วไปแล้วถือว่าแพงมากจนเกิดเป็นที่มาของสำนวนว่า “สวรรค์ชั้น 7” เป็นสำนวนยอดฮิตสืบที่ต่อมาใช้สื่อถึงการมีความสุขอย่างมาก สุขยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นนั่นเอง