ธนบัตรแบบแรกของประเทศไทย
เงินกระดาษ หรือที่เรียกว่า “ ธนบัตรไทย ” เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จึงถูกเรียกว่า ธนบัตรหน้าเดียว
ก่อนที่จะมีธนบัตร ไทยได้ใช้ หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
หลังจากรัชกาลที่4 ทรงขึ้นครองราชย์ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า เศรษฐกิจขยายตัว ผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นไม่ทันต่อความต้องการ และมีการทำเงินพดด้วงปลอมกันเยอะมาก ร.4 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า “ หมาย ” ขึ้นใช้ ถือเป็นเงินกระดาษชนิดแรกของ "ระบบเงินตราไทย" ธนบัตรไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ สี ระบบพิมพ์ วัสดุ และเทคนิคในการพิมพ์มาตลอดเวลา ธนบัตรที่มีชื่อแปลก ๆ เช่น “ ธนบัตรหน้าเดียว ”
หมาย เป็นกระดาษสีขาวพิมพ์ตัวอักษรและลวดลายด้วยหมึกสีดำ ประทับตราพระราชสัญลักษณ์ประจำพระราชวงศ์จักรีรูปพระแสงจักร และพระราชลัญจกรประจำพระองค์รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยสีแดงชาด เพื่อป้องกันการปลอมแปลง หมายที่โปรดให้จัดทำมี ๓ ประเภท ได้แก่ หมายราคาต่ำ หมายราคากลาง (ตำลึง) และหมายราคาสูง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่หมายเป็นเงินตราชนิดใหม่ ในขณะที่ราษฎรยังคงคุ้นเคยกับเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราโลหะมาแต่โบราณ จึงไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายตามพระราชประสงค์
ธนบัตรหน้าเดียว
- มี 7 ชนิดราคา ได้แก่ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 20 บาท 50 บาท 100 บาท และ 1000 บาท
- พิมพ์ที่บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด (THOMAS DE LA RUE & COMPANY LIMITED) ประเทศอังกฤษ
- เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ในรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6