แสตมป์ดวงแรกของไทยเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก
ย้อนรอยตำนาน “โสฬศ” แสตมป์ชุดแรกของประวัติศาสตร์ไทย โดยได้นำภาพแสตมป์โสฬศ กลับมาพิมพ์ใหม่เพื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์ ที่เป็นแสตมป์ชุดที่หายาก และเป็นที่ต้องการของ
นักสะสมทั่วโลกสำหรับแสตมป์ โสฬศจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพหน้าดวงแสตมป์เป็นภาพ👉พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้ายภายในกรอบรูปไข่
👉ประกอบด้วย ชนิดราคา โสฬศ อัฐ เสี้ยว ซีก เฟื้อง และสลึง
👉พิมพ์ที่โรงพิมพ์วอเตอร์โลว์ แอนด์ ซันส์ จำกัด ณ สหราชอาณาจักร
👉สำหรับในช่วงเวลาที่จัดพิมพ์แสตมป์โสฬศนั้น ประเทศสยามยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์
👉ทำให้แสตมป์ชุดนี้เป็นแสตมป์ไทยเพียงชุดเดียวที่ไม่มีชื่อประเทศปรากฏบนดวงแสตมป์
👉อีกเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์แสตมป์ไทย คือ แสตมป์ชนิดราคาเฟื้องถูกส่งมาล่าช้ากว่ากำหนดถึง 2 ปี
👉ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สยามเลิกใช้เงินเฟื้องแล้ว จึงไม่มีการนำออกมาใช้งาน
👉จึงทำให้เป็นแสตมป์ชุดที่หายาก และเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก
ความรู้เพิ่มเติม
นอกจากนี้ โสฬส ยังเป็นชื่อหน่วยเงินตราโบราณของไทย มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๖ ส่วนของเฟื้อง กล่าวคือ เงินจำนวน ๑๖ โสฬส มีค่าเท่ากับเงินจำนวน ๑ เฟื้อง. คำว่า โสฬส ที่เป็นชื่อหน่วยเงินตรา ใช้ย่อว่า ฬส เช่น ไม่กี่อัฐฬส (อ่านว่า อัด-ลด) หมายถึง ราคาไม่แพง ไม่มีอัฐฬส หมายถึง ไม่มีเงิน