สาเหตุที่ผู้หญิงต้องไปสู่ขอผู้ชาย ในอินเดีย
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล และมีความหลากหลายในทั่วโลก การเลือกหรือสู่ขอผู้ชายไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศ แต่ขึ้นอยู่กับความตัดสินใจของแต่ละคนในสถานการณ์ที่ต่างกันไปตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมของแต่ละบุคคลและคู่รักของพวกเขาเอง
ในสังคมไทย การจะให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายยกขันหมากไปสู่ขอเจ้าบ่าวคงเป็นเรื่องที่ผิดธรรมเนียม แต่ในทางกลับกัน ธรรมเนียมการแต่งงานตามแบบฉบับของสังคมชาวฮินดู ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายต้องมาสู่ขอฝ่ายชาย ทั้งยังต้องออกค่าใช้จ่ายในการแต่งงานทั้งหมดหรือตามแต่ตกลงกัน โดยเมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ครอบครัวฝ่ายหญิงก็มีหน้าที่หา “เจ้าบ่าว” มาเป็นเขยกันอย่างสุดความสามารถ
การให้สินสอดนั้น เหมือนเป็นการซื้อใจ “คู่ครอง”
แนวคิดนี้อาจจะเป็นธรรมเนียมที่ตรงข้ามกับสังคมไทยเราอย่างสิ้นเชิง ซึ่งด้วยชุดความคิดที่แตกต่าง คนไทยอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม และขัดกับธรรมเนียมบ้านเราที่เห็นคุณค่าของฝ่ายหญิงมากกว่าสังคมฮินดู แต่อย่างไรก็ตาม รากความคิดและขนมธรรมเนียมที่แตกต่าง ก็เป็นพื้นฐานของสังคมที่ต่างกัน และเป็นเรื่องยากนักที่จะฟันธงว่าธรรมเนียมแบบไหนที่ควรจะถูกยึดเป็นบรรทัดฐานของสังคมสมัยใหม่กันแน่