ขนมจีนเกี่ยวพันอย่างไรกับประเทศจีน?
ขนมจีนเป็นอาหารไทยแบบดั้งเดิมที่ประกอบด้วยเส้นสีขาวเส้นเล็ก
ถึงแม้ว่าชื่อจะบอกว่าเป็นขนม แต่ขนมจีนเป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง
จัดเป็นอาหารเส้น กินคู่กับน้ำยา น้ำพริก แกงเขียวหวาน แกงไก่ แกงไตปลา
หรือจะกินกับน้ำปลา หรือคลุกกระปิพริกผง ก็อร่อยไม่แพ้กัน
น้ำยาเอกลักษณ์ภาคอีสาน คือ น้ำยาป่า
มักใช้ปลาน้ำจืดในท้องถิ่นอย่าง ปลาดุก ปลาตะเพียน และปลาช่อน ใส่พริกสดตำ กรุ่นกลิ่นสมุนไพรเช่น กระชาย ผักชีลาว , ผักชี, หอมแดง, ใบมะกรูด, ตะไคร้ทุบฯลฯ
ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าซึ่งถือเป็นจิตวิญญาณแห่งรสชาติของอาหารไทยอีสาน
และยังมีน้ำยาแกงไก่กะทิตำรับโคราช
น้ำยาเอกลักษณ์ของภาคใต้ก็คือ น้ำยาปักษ์ใต้
ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างก็คือ เครื่องแกง จะเป็นเครื่องแกงเผ็ดที่ผสมขมิ้นสดสีเหลือง
น้ำยาเอกลักษณ์ของภาคกลาง จะเป็นน้ำยากะทิ
จะใช้ เนื้อปลา, ตีนไก่,เนื้อไก่ เป็นต้น แล้วแต่การประยุกต์ใช้
น้ำยาของภาคนี้ รสชาติจะซอฟต์ๆลงมาหน่อย ๆไม่ค่อยเผ็ดมาก
คนทั่วไปทานได้ง่าย รสชาติกลมกล่อม หอมมันกะทิ
สำหรับใครหลายคน ถ้าสืบหาที่มากันแล้วก็จะรู้ว่า
อาหารเส้นจานนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับของหวาน
หรือเมืองจีนเลยสักนิดเดียว แล้วชื่อขนมจีนนี่มาจากไหนกัน ดังนั้นอาหารชนิดนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศจีนแต่อย่างใด
ต่อให้เดินหาขนมจีนที่ประเทศจีนจนแทบพลิกแผ่นดิน ก็คงไม่มีวันได้กินอย่างแน่นอน!!
ขนมจีนเป็นอาหารพื้นบ้านของ ชาวมอญ ชาวมอญจะคุ้นเคยกันในชื่อ "คนอมจิน" หรือ "คนอม"
ที่หมายถึง กริยาจับให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน ส่วน "จิน" แปลว่า นำไปทำให้สุกโดยการหุงต้ม
ทั้งหมดนี้จึงถูกสันนิษฐานว่า ขนมจีนน่าจะเป็นอาหารที่ชาวมอญนิยมรับประทาน
และด้วยความอร่อยของขนมจีน ต่อมาก็อาจจะแพร่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ
ในละแวกใกล้เคียง จนเป็นที่รู้จัก และอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนต่อ ๆ กันมานั่นเอง