สาหร่ายหางกระรอก
สาหร่ายหางกระรอก เป็นพรรณไม้น้ำพื้นเมืองของไทย มักพบในน้ำที่มีแสงสว่างส่องถึง น้ำค่อนข้างใส ความลึกน้ำ 0.6-1 เมตร ลักษณะพื้นเป็นดินโคลนหรือโคลนปนทราย
มีลำต้นเป็นสายเรียวยาว ทอดไปตามความสูงของระดับน้ำ อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ทั้งใบและต้นจมใต้น้ำ ลักษณะของใบเป็นแผ่นบางเรียวยาวขนาดเล็กติดบนลำต้นเป็นชั้นๆ มีสีเขียวแก่ เส้นกลางใบสีแดง ขอบใบหยักเป็นซี่เล็กๆ
ดอกจะติดอยู่ที่ซอกใบระดับใต้น้ำ เมื่อดอกแก่จึงจะลอยขึ้นมาบานเหนือผิวน้ำ ดอกเดี่ยวขนาดเล็กแยกเพศ
ดอกเพศเมียมีกาบหุ้ม โคนก้านดอกลักษณะเรียวยาวส่งดอกขึ้นมาบานที่ผิวน้ำ
ดอกเพศผู้มีกาบหุ้มเช่นกัน ดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกสั้น เมื่อดอกแก่จะหลุดลอยขึ้นไป เกสรเพศผู้ 3 อัน ชูเหนือน้ำ เมื่อดอกแก่จะแตกออกละอองเกสรจะปลิวฟุ้งกระจายไปตามลม เกิดการผสมเกสรระหว่างดอกเพศเมียที่ผิวน้ำ
เมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้งหรือโดนสารเคมี และจะงอกเป็นต้นใหม่ได้เมื่อสภาพเหมาะสม เนื่องจากการแพร่กระจายของสาหร่ายหางกระรอก เป็นไปได้อย่างง่ายดาย
ประโยชน์ที่แท้จริง
จากการศึกษาถึงประสิทธิภาพของ
สาหร่ายหางกระรอก มวล 500 กรัม
ต่อการเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลาย
ในน้ำเลี้ยงปลา ปริมาตร 80 ลิตรพบว่า
สาหร่ายหางกระรอกมีประสิทธิภาพใน
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายใน
น้ำเลี้ยงปลาจากกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
จากการทดลองต่าง ๆ พบว่า กลุ่มทดลอง
การเลี้ยงปลาในน้ำที่ปลูกสาหร่ายหาง
กระรอก มีปริมาณออกซิเจนในน้ำสูงจึงเหมาะกับการนำมาประดับตู้ปลา ใช้บำบัดน้ำเสีย เป็นอาหารสัตว์ เป็นตัวชี้วัดความสะอาด
LOMO 🐬🐬