ปูก้ามดาบ นาฬิกาทรายธรรมชาติ
ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว นาฬิกาทรายธรรมชาติ
ปูก้ามดาบคือตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน เพราะหากที่ใดมีความสมดุลทั้งดิน น้ำ และพรรณไม้ ก็จะมีปูก้ามดาบอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ปูก้ามดาบ ลักษณะโดยรวม เป็นปูขนาดเล็ก ขอบกระดองส่วนหน้าแคบ มีรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เบ้าตาอยู่ชิดกัน ก้านตายาวและฝังอยู่ในร่องเบ้าตา กระดองมีสีสันสวยงาม
ก้ามสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน ตัวผู้จะมีก้ามด้านหนึ่งที่ใหญ่กว่า ก้ามอีกด้านซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ปูก้ามดาบ บางพวกมีขนาดก้ามแตกต่างกัน อย่างเด่นชัด
ลักษณะโดดเด่น ของปูก้ามดาบนั้น จะมีก้ามใหญ่อยู่ทางข้างซ้าย ก้ามใหญ่นี้จะชูชันสูงอยู่ตลอดเวลา ลักษณะพิเศษนี้มีเฉพาะปูตัวผู้เท่านั้น ส่วนปูตัวเมียจะมีก้ามเท่ากันทั้งสองข้าง
ปูตัวผู้จะชอบชูก้าม เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขตที่ตนอาศัยอยู่ เมื่อมีศัตรูผ่านมา นอกจากการชูก้ามเพื่อแสดงอำนาจแล้ว การชูก้ามของปูก้ามดาบตัวผู้ยัง เป็นการชูก้ามเพื่อเรียกความสนใจจากปูตัวเมียอีกด้วย
หากก้ามใหญ่หักจากการต่อสู้ หรือได้รับบาดเจ็บ ปูตัวนั้นก็จะสลัดก้ามเดิมทิ้งออก เพื่อรอก้ามใหม่งอกขึ้นมาอีกครั้ง โดยใช้ระยะเวลาราว 3 สัปดาห์ ขณะที่รอก้ามใหญ่งอกขึ้นมานั้น ตัวผู้ก็จะใช้ก้ามเล็กชูขึ้นแทน
ทั้งนี้ก้ามใหม่ที่งอกขึ้นมาอาจไม่ใหญ่เท่าก้ามเดิมก็ได้ หรืออาจเล็กกว่าก้ามเล็กที่มีอยู่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินในพื้นที่นั้นๆ หากก้ามงอกมาใหม่มีขนาดเล็ก มันก็จะใช้ก้ามที่ใหญ่กว่าชูขึ้นสูงแทน
ปูก้ามดาบ มักพบตามป่าชายเลน และป่าโกงกาง หรือหาดทรายริมทะเล กินสาหร่ายขนาดเล็ก และซากสัตว์เป็นอาหาร
ธรรมชาติเร้นลับ ของปูก้ามดาบที่น่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถรู้กำหนด เวลาน้ำขึ้นน้ำลง ได้เป็นอย่างดี ปูก้ามดาบ จะออกจากรูก่อนน้ำขึ้น น้ำลง ช้าเร็วกว่ากันราวๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่อง มหัศจรรย์
ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็กที่ไม่ใช้บริโภคเหมือนปูทะเลชนิดอื่น แต่ด้วยความที่มีสีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ที่แปลก จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยอาจเลี้ยงได้ในน้ำที่มีความเค็มต่ำ
LOMA🐬🐬
อ้างอิงจาก: รายการ นักสำรวจ ตอน ปูก้ามดาบ ทางช่อง 3
ชนิดและลักษณะของปูก้ามดาบ คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-31 สืบค้นเมื่อ 2011-10-12