รู้หรือไม่???? “อ้อยดำ” มีสรรพคุณ 42 ชนิด
“อ้อยดำ” บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
ชื่อสมุนไพร อ้อยดำ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น อ้อยแดง, อ้อยขม, อ้อยตาแดง
ถิ่นกำเนิดอ้อยดำ
อ้อยดำ เป็นพืชตระกูลเดียวกับอ้อยธรรมดาที่เราใช้ทำน้ำตาล (saccharum officinarum L.) แต่อ้อยดำมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา เป็นต้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอ้อยพื้นเมืองของไทยก็ได้ โดยอ้อยดำนี้จะแตกต่างกับอ้อยธรรมดา คือ ลำต้นจะเล็กและแข็ง เปลือกแข็ง และออกรสขม ไม่ค่อยหวาน มีน้ำน้อย เคี้ยวกินค่อนข้างลำบาก
ประโยชน์และสรรพคุณอ้อยดำ
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยรักษาโรคนิ่ว
- แก้ไข้
- แก้อาการไอ
- แก้คอแห้ง
- แก้กระหายน้ำ
- ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- ใช้เป็นยาฟอกเลือด
- ช่วยขับเสมหะ
- แก้ช้ำบวม
- แก้เบาหวาน
- แก้ตานขโมย
- แก้แผลเน่าเปื่อย
- แก้แผลกดทับ
- แก้แผลเรื้อรัง
- แก้ฝีอักเสบบวม
- แก้คลื่นไส้อาเจียน
- แก้ร้อนใน
- แก้ไข้สัมประชวน
- แก้ปัสสาวะพิการ
- แก้ไตพิการ
- แก้หืด
- แก้หนองใน
- แก้ช้ำรั่ว
- แก้ท้องผูก
- แก้สะอึก
- แก้เมาค้าง
- บำรุงกระเพาะอาหาร
- ทำให้เจริญอาหาร
- แก้ขัดเบา
- รักษาตามืดฟาง
- แก้กำเดา
- ช่วยผายธาตุ
- แก้ตัวร้อน
- แก้พิษตานซาง
- ช่วยบำรุงธาตุ
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยบำรุงโลหิต
- รักษาอาการอ่อนเพลีย
- รักษาเลือดลม
- รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ (สาเหตุให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย เจ็บหลังเจ็บเอว ท้องอืด)
- รักษาแผลพุพอง
- โรคงูสวัด
อ้อยดำเป็นอ้อยที่ไม่นิยมนำมารับประทานเหมือนกับอ้อยทั่วไป เนื่องจากส่วนเปลือกข้างแข็ง มีน้ำหวานน้อยและรสชาติไม่หวานมาก ออกจะหวานอมขม ดังนั้น อ้อยดำจึงถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรเสียมากกว่า
คุณประโยชน์ของอ้อยดำ
ใช้ขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 1 กำมือ ต้นสดหนัก 70-90 กรัม ต้นแห้งหนัก 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ใช้ฟอกเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เบาหวาน แก้ช้ำบวม
แก่นอ้อยดำ แก่นปีป และหัวข้าวเย็นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน
ใช้ปล้องที่ลำต้นมาผ่าแล้วเอาเกลือทา นำไปเผาไฟแล้วเคี้ยวกินเป็นยาแก้ไข้ ใช้แก้อาการร้อนใน และปากเปื่อย
อ้อยดำตัดยาวเท่านิ้วชี้จำนวน 3 ท่อน นำแต่ละท่อนมาผ่า 4 ส่วน เอา 3 ส่วน แล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 3 แก้วหลังจากนั้นเติมข้าวสารเจ้าลงไปหยิบมือหนึ่ง แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้งติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง หอบ และมีเสมหะในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ
ลักษณะทั่วไปของอ้อยดำ
อ้อยดำ จัดเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นแข็งแรงมักขึ้นเป็นกอ โดยที่ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่อ้อยดำจะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ลำต้นกลมยาว แข็งเป็นมัน สามารถเห็นข้อ และปล้องชัดเจน ซึ่งในแต่ละปล้องอาจยาว หรือ สั้นก็ได้ ผิวเรียบมีตาออกตามข้อ มีรากอากาศอยู่ประปราย เปลือกสีแดงอมม่วง เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ แต่จะน้อยกว่าอ้อยทั่วไป เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา ใบออกเป็นใบเดี่ยว ตามข้อโดยจะออกแบบเรียงสลับ แต่ใบมักจะหลุดร่วงได้ง่าย จึงพบได้เฉพาะที่ปลายยอด โดยจะมีกาบใบโอบหุ้มตามข้อลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน แคบยาวเรียว กว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 100-150 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบหุ้มลำต้น ส่วนกลางใบเป็นร่อง และขอบใบเป็นจักแบบละเอียดและมีความคม มีขนสากคายอยู่ทั้งสองด้านของแผ่นใบ ใบจะมีสีม่วงเข้ม และมีไขสีขาวปกคลุม ดอก ออกเป็นดอกช่อใหญ่ ที่ปลายยอดมีลักษณะเป็นช่อดอกตั้งยาว 40-80 เซนติเมตร โดยในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยสีขาวครีม จำนวนมาก และมีขนยาวเมื่อแก่จะมีพู่ปลาย ซึ่งลำต้นจะออกดอกเมื่อแก่เต็มที่เท่านั้น ผล เป็นแบบผลแห้งจะออกเมื่อต้นแก่จัด ส่วนเมล็ดจะปลิวตามลมได้ง่าย
การขยายพันธุ์ของอ้อยดำ
อ้อยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีปักชำ การใช้ท่อนพันธุ์และการใช้หน่อ จากเหง้าปลูก แต่วีธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การใช้ท่อนพันธุ์ปลูก โดยมีวิธีการปลูก เช่นเดียวกับอ้อยทั่วไป (อ้อยธรรมดา)
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของอ้อยดำ
มีผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาจากบ้านต่างๆ ของอ้อยดำ ระบุว่ามีฤทธิ์ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด เป็นต้น
เนื่องจากอ้อยดำมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะดังนั้นผู้ป่วยโรคไต จึงไม่ควรรับประทาน