หญ้าไฟตะกาด แม้จะเป็นต้นหญ้าแต่ก็มีลักษณะเฉพาะตัวสวยงามน่าสนใจมากๆ
หญ้าไฟตะกาดแม้จะเป็นต้นหญ้าแต่ก็มีลักษณะเฉพาะตัวสวยงามเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งนะครับหญ้าไฟตะกาด เป็นพืชในสกุลหยาดน้ำค้างที่มีหัวใต้ดิน มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง
หญ้าไฟตะกาด (อังกฤษ: shield sundew) เป็นพืชในสกุลหยาดน้ำค้างที่มีหัวใต้ดิน มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชื่อในภาษาละติน peltata แปลว่า รูปโล่ ซึ่งหมายถึงรูปทรงของก้านใบโดยทั่วไปหยาดน้ำค้างชนิดมีหัวใต้ดินส่วนมากจะเป็นใบกระจุกแนบดิน แต่หญ้าไฟตะกาดลำต้นจะตั้งขึ้น ช่อดอกเป็นกิ่งแขนง
ข้อมูลเบื้องต้น หญ้าไฟตะกาด, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
หญ้าไฟตะกาดยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกดังนี้: หยาดน้ำค้าง (เลย) ปัดน้ำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ดอกของหญ้าไฟตะกาด
หญ้าไฟตะกาดเป็นพืชล้มลุกมีลำต้น สูงได้ถึง 35 ซม. มีหัวใต้ดินขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. ไม่มีหูใบ ใบที่โคนหลุดร่วงง่าย
ใบตามลำต้นแบบก้นปิดรูปสามเหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.6 ซม. ช่อดอกตั้งตรง ไม่แตกแยกแขนง กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 0.2-0.3 ซม. ขอบเป็นชายครุย กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 0.5-0.6 ซม. สีขาว ก้านดอกยาว 1-2 ซม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน แยกกัน ยาว 0.3-0.4 ซม. อับเรณูรูปทรงกลม เกสรเพศเมียมี 3 อัน แยกเป็นหลายแฉก แคปซูลมี 3 ซีก รูปขอบขนานเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3 มม.
ถิ่นอาศัยและการกระจายพันธุ์
หญ้าไฟตะกาดปกติจะขึ้นบนพื้นราบ มีพุ่มไม้เล็กน้อย บนดินเลน หรือดินทราย อย่างบริเวณหญ้าริมถนนที่ตัดผ่านป่า เป็นต้น หญ้าไฟตะกาดมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในทางตอนใต้และตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย, รัฐแทสเมเนีย, ประเทศนิวซีแลนด์, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย ในไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์
อ้างอิงจาก: dnp.go.th/botany/ThaiPlantName/,commons.m.wikimedia.org/wiki/