เหงือกปลาหมอ สมุนไพรท้องถิ่น
เหงือกปลาหมอนับว่าเป็นสมุนไพรพื้นถิ่นของไทย เพราะมีประวัติในการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรมาตั้งแต่โบราณแล้ว เหงือกปลาหมอนี้เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง
มักจะพบมากในบริเวณป่าชายเลน หรือตามพื้นที่ชายน้ำริมฝั่งคลอง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและมีความชื้นสูง หรือในแถบที่ดินเค็มและไม่ชอบที่ดอน
เหงือกปลาหมอน้ำเงิน เป็นต้น เหงือกปลาหมอมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง ที่พบได้มากทางภาคใต้
พันธุ์ที่เป็นดอกสีขาว ที่พบได้มากทางภาคกลางและภาคตะวันออก และเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ
สรรพคุณเหงือกปลาหมอ
ราก สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้หืด แก้อัมพาต บำรุงประสาท รักษามุตกิดระดูขาว
ต้น รสเค็มกร่อย สรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ช่วยถอนพิษ แก้ลมพิษ แก้พิษฝีดาษ ถ้าใช้ทาจะช่วยโรคเหน็บชาได้
ใบ รสเค็มกร่อยร้อน สรรพคุณช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดต่างๆ รักษากลากเกลื้อน ใช้นำคั้นจากใบนำมาทาศีรษะ จะช่วยในการบำรุงรากผม
ผล รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ ขับโลหิต
เมล็ด รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย ขับพยาธิ ปิดพอกฝี
ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5 (ราก,ต้น,ใบ,ผล,เมล็ด) มีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี แก้มะเร็ง ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดลมปกติ
เหงือกปลาหมอ ถือว่าเป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าเป็นสมุนไพรชายน้ำหรือชายเลนก็ได้ สรรพคุณทางยานำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ที่โดดเด่นมากก็คือการนำมารักษาโรคผิวหนังได้เกือบทุกชนิด แก้น้ำเหลืองเสีย และการนำมาใช้รักษาริดสีดวงทวาร เป็นต้น
เครดิต
สมุนไพรเหงือกปลาหมอ
สมุนไพรพืชบ้าน
LOMA🐬🐬