การทำข้าวฮ้าง
การทำข้าวฮ้าง
“ ข้างฮ้าง” เป็นภูมิปัญญาของคนภาคอีสานที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ในอดีตคนอีสานผลิตข้าวได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี ดังนั้น ในผลผลิตข้าวของปีถัดไปออกรวงพัฒนาเมล็ดได้ประมาณร้อยละ 70-80 เกษตรกรจะนำมาทำเป็นข้าวเม่า และเมื่อเมล็ดข้าวพัฒนาได้ประมาณร้อยละ 85 เกษตรกรจะนำมทำเป็นข้าวฮ้างเพื่อบริโภคก่อนที่ข้าวจะสุกแก่เต็มที่ จุดเด่นของข้าวฮ้าง คือ มีกล่นหอม เพราะข้าวยังมีน้ำนมอยู่ มีรำข้าว และเส้นใยอาหารอยู่ในเมล็ดข้าวครบถ้วน เนื่องจากเอาข้าวเปลือกที่สุกแก่ประมาณ 85 % มาแช่น้ำแล้วนำไปนึ่งให้สุกก่อนนำไปสี โดยการสีแบบสีข้าวกล้อง ข้าวจึงไม่มีเมล็ดแตกหัก ดังนั้น สารอาหารจึงยังอยู่ครบถ้วน ประโยชน์ของข้าวฮ้าง คือ มีวิตามินบี 1 มากกว่า 4 เท่า ป้องกันโรคเหน็บชามีธาตุเหล็กมากกว่า 2 เท่า ป้องกันโรคโลหิตจาง วิตามินอีในจมูกข้าว ชะลอความแก่ ชิลิเนียมป้องกันการเกิดมะเร็ง มีโปรตีนมากกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์ เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายทัเกลือแร่แลวิตามินมากกว่า 20 ชนิด มีธาตุแมงกานีส ต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นเหตุของโรคมะเร็งและมีค่าของการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดต่ำเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
วัสดุ/อุปกรณ์
- ข้าวเปลือกที่สุกแก่ 85 เปอร์เซ็นต์ (เก็บเกี่ยวขณะที่ยังไม่แก่จัด)
- ภาชนะสำหรับแช่ข้าวเปลือก (กะละมัง ถังน้ำ)
- หวดนึ่ง พร้อมหมอนึ่ง
- ตะแกรงสำหรับผึ่งข้าวให้แห้งก่อนนำไปสี
- เครื่องสีข้าวกล้อง ขนาดใดก็ได้
- ตู้อบไล่ข้าวชื้น
ขั้นตอน/วิธีทำ
1.นำข้าวเปลือกที่สุกแก่ 85 เปอร์เซ็นต์ แช่น้ำไว้ 24 ชั่วโมงเพื่อให้เมล็ดข้าวนุ่ม
- นำข้าวเปลือกที่ผ่านการแช่น้ำ 24 ชั่วโมง ไปนึ่งในหวดประมาณ 40 นาที
- น้ำข้าวเปลือกที่นึ่งยกลงจากหม้อนึ่งแล้วราดด้วยน้ำเย็นทันที โดยราดน้ำให้ถูกข้าวทุกเม็ดทิ้งไว้ 20 นาที แล้วราดด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง
- น้ำไปตากผึ่งลมให้แห้งระยะเวลา 1 วัน ระวังอย่าให้โดนแดดจัด
- น้ำข้าวเปลือกไปสีโดยเครืองสีข้าวกล้อง
- คัดแยกเมล็ดข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน และสิ่งปลอมปนออกให้หมด
- นำข้าวสาร (ข้าวฮาง) ที่ได้ผึ่งลมให้แห้ง หรออบด้วยเครื่องอบเพื่อไล่ความชื้น
- บรรจุในถุงพลาสติก และปิดถุงให้สนิท
วิธีหุงข้าวฮาง
- ชาวข้าวด้วยน้ำน้อยเพียงครั้งเดียว
- อัตราส่วนข้าวฮาง 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน
- หุงแบบไม่เช็ดน้ำ