หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สัญญาณบอกโรคซึมเศร้าภัยเงียบ ทำลายชีวิต

โพสท์โดย suwatchai srirakondee

โรคซึมเศร้า โรคร้าย ภัยเงียบ ทำลายชีวิต

หลังจากที่โลกโซเชี่ยล กำลังโจมตีบุคคลหนึ่งอยู่ในขณะนี้ ซึ่งส่งผลให้บุคคลนั้นเครียดและมีหลายคนกลัวว่าบุคคลนั้้นจะเป็นโรคซึมเศร้าและลุกลามไปถึงการฆ่าตัวตาย วันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า ที่จัดว่าเป็นภัยร้าย ภัยเงียบที่พรากชีวิตคนไปไม่น้อยเลยทีเดียว

โรคซึมเศร้าคือ

คนที่มีอาการเศร้าอยู่ตลอดเวลา รู้สึกว่าไม่มีความสุข ไม่อยากทำอะไร มีอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ ทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีความคิดไปทางลบ เช่นการโทษตัวเอง อยากตาย คิดหาวิธี และอาจจะลงมือฆ่าตัวตาย ซึ่งคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายถึง 20-30 % เลยทีเดียว

สัญญาณบอกโรคซึมเศร้า

  1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
  2. ขาดความสนใจในสิ่งรอบข้าง
  3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่าง ๆ
  4. รู้สึกอ่อนเพลีย
  5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
  6. รับประทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลง
  7. นอนมากขึ้นหรือน้อยลง
  8. ตำหนิตัวเอง
  9. ฆ่าตัวตาย

ถ้าเริ่มมีอาการจำพวกนี้ไม่ควรปล่อยไว้นาน ควรพบแพทย์ในทันที

ในของส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ นั้นคือ

การที่สมองเรามีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวตามสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากเรามีความเครียดในระยะเวลาที่ยาวนาน สมองก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงเซลล์ประสาท และทำให้สารสื่อประสาทต่าง ๆแปรปรวนไป ทำให้อารมณ์ของเราออกไปในลักษณะซึมเศร้า ซึ่งมีผลต่อตัวเราและสมองส่งผลให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางพันธุกรรม ที่ถ้าหากมีคนในครอบครัว เป็นโรคซึมเศร้า ตัวเราก็มีความเสี่ยง ส่วนคนที่ไม่มีความเสี่ยงด้านนี้อาจจะเกิดจากการเจอความเครียดที่หนักหนา รุนแรง เป็นยาวนาน ซึ่งแต่ละคนมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน

ซึ่งวิธีการรักษามี 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ

  1. การรักษาแบบจิตบำบัด เป็นการรักษาในลักษณะของการประคับประคอง คือการที่รับฟังผู้ป่วย เข้าใจถึงสาเหตุที่เครียด หรือ ทุกข์ของเขาว่าเกิดมาจากอะไร นอกจากนี้ยังการทำจิตบำบัดแบบลึก คือการให้ผู้ป่วยทำความเข้าใจกับตัวเองว่าทำไมตัวเขาถึงคิดในเชิงลบ จนมีความเสี่ยง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ป่วยบ่อย ๆ
  2. การรักษาโดยยา ซึ่งตัวยาจะไปปรับสารเคมีหรือส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ให้มันกลับมาอยู่ในระดับปกติ หรือปรับให้อารมณ์สมดุล ซึ่งได้ผลดี และเห็นผลเร็ว แต่ทั้งนี้ต้องเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์เท่านั้น ห้ามผู้ป่วยหรือคนใกล้ตัวไปซื้อยาเอง เพราะยาด้านจิตเวช จะมีผลข้างเคียงเยอะ เช่น คลื่นไส้ปวดหัว เวียนหัว จนอาจทำให้คนไข้ที่ไม่รู้ไม่ยอมกินยาอีกเลย

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ตัวของเรามีจุดเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า วิธีสังเกตง่าย ๆ

ให้ดูจากหน้าตาหรือพฤติกรรมของผู้ป่วย จากคนที่ยิ้มแย้ม จากที่สนุก จะเปลี่ยนเป็นเศร้า ดูเบื่ออาหาร ซูบผอมไป เรื่องของอารมณ์และความคิดที่มองด้านลบตลอดเวลา

 

วิธีรับมือเมื่อมีภาวะซึมเศร้า

  1. ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชอบ หรืองานอดิเรกที่ชอบทำ
  2. พยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้วางใจ แสดงความรู้สึกให้คนอื่นได้รับรู้ หลีกเลี่ยงการปิดบังความรู้สึก หรือเก็บกดความรู้สึก เพราะอาจทำให้ภาวะซึมเศร้าแย่ลง
  3. ออกกำลังกาย 30-45 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
  4. ช่วงมีภาวะซึมเศร้าให้หลีกเลี่ยงการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญๆ ในชีวิต เพราะเป็นช่วงที่ใช้ความคิดต่างๆ ได้ไม่ตรงความเป็นจริงอาจมีทัศนคติเชิงลบมากกว่าปกติ ที่ทำให้ตัดสินใจได้ไม่ถูกต้อง
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ (มีผลวิจัยในต่างประเทศว่า สุรา แอลกอฮอล์ มีผลให้ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีอาการรุนแรงมากขึ้น เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากขึ้น)

การรักษาโรคซึมเศร้า

 

การรัก

ษาด้วยยา

  • ปัจจุบันมียารักษาโรคซึมเศร้าที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพ ตามลักษณะเฉพาะของผู้มีภาวะซึมเศร้า โดยยาเหล่านี้จะทำหน้าที่ปรับสารสื่อประสาทที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ในสมอง ให้กลับมาทำงานปกติ (มีการค้นพบว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสารสื่อประสาทในสมองบางตัวทำงานน้อยเกินไป ยาจึงไปช่วยปรับให้สารสื่อประสาทนี้กลับมาทำงานตามปกติ)
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า จะต้องทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใส และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ยาจึงออกฤทธิ์เต็มที่
  • เมื่ออาการเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทานยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ตามลักษณะอาการผู้ป่วย

การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด

มักใช้วิธีนี้ในรายที่เป็นซึมเศร้าระดับน้อยๆ ที่ไม่รุนแรง หรือจิตแพทย์ประเมินแล้วว่ายังไม่รุนแรงถึงขั้นใช้ยา วิธีนี้ต้องใช้เวลานาน โอกาสสำเร็จจะต่ำกว่าวิธีการรักษาด้วยยา

บทบาทของญาติ

  1. ใส่ใจ ให้กำลังใจผู้ป่วย
  2. รับฟังความคิดผู้ป่วย เข้าใจในสภาวะความรู้สึกของผู้ที่เป็นซึมเศร้ามองว่าเป็นสิ่งที่ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเลือกจะเป็นเอง หรือมองว่าจะหายได้เองโดยไม่รักษา
  3. ในรายที่มีความเสี่ยงสูง มีความคิดฆ่าตัวตาย ญาติจะต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม. ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวจนกว่าจิตแพทย์จะประเมินแล้วว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น ความเสี่ยงลดลง พึงตระหนักว่าโรคซึมเศร้าและภาวะคิดฆ่าตัวตาย เป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ว่าอาการจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไร สามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ทุกเสี้ยววินาที จึงจำเป็นต้องเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาในช่วงที่ยังมีอาการ
โพสท์โดย: xrayman00
อ้างอิงจาก: ข้อมูลจากhttps://thainakarin.co.th/deperssion-tnh/
https://www.rama.mahidol.ac.th/
รศ. ร.อ. นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิด
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
suwatchai srirakondee's profile


โพสท์โดย: suwatchai srirakondee
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
งามหน้า! นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นโดนสแกมเมอร์หลอก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกจ็อฟฟรีย์ เป็นตัวละครที่ " คนเกลี่ยดที่สุดในโลก "J&J อ่วมอีกรอบ " ยอมจ่าย 6500 ล้าน " ยุติคดี"ราเมนระดับไฮเอนด์" ทำชาวเน็ตข้องใจ แพงไปมั๊ย?ไม่ควรกิน"แตงโม"ถ้าอยู่ในคน7กลุ่มนี้!!พ่อสุดโหด บังคับลูกวิ่งบนลู่ จนตาย...
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชายหาดสุดสวย ไม่บอกไม่รู้ด้วยว่า " มันคือเศษแก้ว "วัดเลขธรรมกิตติ์ วัดเก่าแก่ ในนครนายกฉันขายให้ผู้ดีกิน! "เดย์ ฟรีแมน" โต้ขายขนมแพง ตอกกลับเจ็บจี๊ด มีหน้าชาทุกคอมเม้นต์งามหน้า! นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นโดนสแกมเมอร์หลอก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
10 เรื่องในการสร้างบ้าน..รู้ไว้ก่อนจะสายเกินแก้illuminate: ส่องสว่างpossible: เป็นไปได้วิธีแจ้งความออนไลน์
ตั้งกระทู้ใหม่