ไทยฆ่าตัวตายพุ่งอันดับ 3 โลก
กระทรวงสาธารณสุขเผยสถิติคนไทยฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ยกว่า 300 รายต่อเดือน รองจากญี่ปุ่น สวีเดน และสแกนดิเนเวีย ส่วนใหญ่พบอยู่ในวัยทำงานอายุ 20-50 ปี สาเหตุหลัก ผิดหวังความรัก-ปัญหาครอบครัว-หนี้สิน-เครียดเรื่องงาน ระบุใช้วิธีผูกคอมากสุด
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกินกว่าค่าเป้าหมายวิสัยทัศน์ กรมสุขภาพจิต ซึ่งกำหนดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 6.3 ต่อ แสนประชากร
ปี พ.ศ 2564 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จยังเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.38 ต่อแสนประชากร เนื่องจากเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อน การฆ่าตัวตายในคนไทยพบว่า การฆ่าตัวตายในบุคคลแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นเมื่อมีครบ 5เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่
1. บุคคลนั้นต้องมีปัจจัยเสี่ยง(Risk factors) ที่โน้มนำให้ฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป
2. มีสิ่งกระตุ้น (Trigger) หรือ ปัจจัยกระตุ้น(Precipitating factors) ให้คิดและกระทำฆ่าตัวตาย
3. เข้าถึงวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ฆ่าตัวตายได้ ง่าย หรือด่านกั้นล้มเหลว
4. การเฝ้าระวังป้องกันล้มเหลว
5. บุคคลนั้นมีปัจจัยปกป้อง(Protective factors) ที่อ่อนแอ
อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงประกอบด้วยจังหวัดของภาคเหนือทั้งหมด เมื่อนำข้อมูลใบมรณบัตรมาวิเคราะห์รายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด 5 อันดับแรกของประเทศ คือ จังหวัดเชียงใหม่ (13.51ต่อแสนประชากร) แม่ฮ่องสอน (13.27ต่อแสนประชากร) พะเยา (13.16ต่อแสนประชากร) ตาก (12.49ต่อแสนประชากร) เชียงราย (12.41ต่อแสนประชากร)
อัตราตายเฉพาะ กลุ่มอายุ จะพบว่า กลุ่ม ผู้สูงอายุมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและหาทางป้องกัน ในวันหนึ่งเราอาจสามารถช่วยเหลือคนใกล้ตัว เพื่อน หรือคนในครอบครัวให้ปลอดภัยได้ ทุก ๆ ปีทั่วโลกมีคนมากกว่า 7 แสนคนฆ่าตัวตายสำเร็จ โดยเฉลี่ยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ในทุก 40 วินาที สำหรับประเทศไทย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2563 สูงขึ้นทุกปีโดยตัวเลขล่าสุด ประเทศไทยมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 4,800 คนต่อปี







