รวมรายชื่อเมนูอาหารที่มีโซเดียมสูง
สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าเมนูอาหารที่มีโซเดียมสูงได้แก่อะไรบ้าง เราได้รวบรวมรายชื่อเมนูอาหารที่มีโซเดียมสูงที่คนไทยรับประทานบ่อย ๆ มาให้แล้ว สามารถเลือกดูได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลย!
เมนูอาหาร | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป | 1,000 - 2,000 |
อาหารแช่เย็น หรือแช่แข็ง | 400 - 1,500 |
โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป | 400 - 1,200 |
เครื่องปรุงรส เช่น ซอส ซีอิ๊ว น้ำปลา | 300 - 900 |
ขนมอบ เช่น เค้ก คุ้กกี้ เวเฟอร์ | 20 - 300 |
สาหร่าย | 30 - 400 |
ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งอบกรอบ ข้าวเกรียบ | 100 - 600 |
ข้าวไข่เจียว | 360 |
ข้าวผัดหมู | 610 |
ข้าวหมูกรอบ | 700 |
ข้าวหมูแดง | 810 |
น้ำปลาหวาน 1 ถ้วย (ใส่กุ้งแห้ง) | 5,900 |
ปลาเค็ม 100 กรัม | 5,327 |
กุ้งแห้งแบบมีเปลือก 100 กรัม | 3,240 |
ต้มยำกุ้ง | 1,200 |
ข้าวมันไก่ | 1,150 |
ผัดไทย | 1,100 |
ผักกาดดอง 1 กระป๋อง | 1,720 |
ไข่เค็ม 1 ฟอง | 480 |
ไส้กรอกหมู 1 ไม้ | 350 |
ส้มตำปลาร้า | 1,000 - 2,000 |
ผัดผักบุ้งไฟแดง | 890 |
ข้าวไข่เจียวหมูสับ | 740 |
ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาว | 1,280 |
ข้าวหมกไก่ | 980 |
ประโยชน์ของการรับประทานโซเดียมอย่างพอเหมาะ
การรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
- ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและของเหลวในร่างกาย โดยจะทำงานร่วมกับโพแทสเซียม (Potassium)
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์
- รักษาสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย โดยเฉพาะการควบคุมกรด-ด่างในเลือด
- ช่วยป้องกันไม่ให้แร่ธาตุในร่างกายจับเกาะกันภายในเลือด
- ช่วยส่งผ่านสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อสามารถหดตัวได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาทรับความรู้สึก
- มีส่วนสำคัญในการสร้างกรดเกลือในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะช่วยให้กระเพาะอาหารเป็นกรด และเหมาะแก่การทำงานของน้ำย่อย ทำให้อาหารอ่อนตัว และช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยให้การขนส่งกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกาย
โทษของการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงบ่อยเกินไป
การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงบ่อย ๆ จนทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากกว่าที่กำหนด มีโทษต่อร่างกายดังนี้
- ร่างกายจะดูดซึมน้ำเก็บไว้ที่ใต้ผิวหนังมากขึ้น และทำให้เกิดอาการบวมน้ำ
- ไตทำงานหนักขึ้น ทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตเรื้อรัง และเกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
- เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และอัมพฤกษ์อัมพาต เพราะการรับประทานโซเดียมที่มากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูง และทำให้หัวใจทำงานหนัก
- เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะจะกระตุ้นให้เกิดการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ
- เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน เพราะการรับประทานอาหารเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมมาก ๆ จะกระตุ้นความรู้สึกของการอยากรับประทานของหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงมากขึ้น