สำหรับกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยซึมเศร้า
อาหารที่ไม่ควรกิน
สำหรับกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยซึมเศร้า “ห้ามรับประทาน” เนื่องจากจะซ้ำเติมอาการป่วยหรือขัดขวางการดูดซึมยา มี 2 ประเภท
อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีรสหวานจัด ร่างกายจะดูดซึมได้เร็วกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ร่างกายเกิดภาวะเครียด อาจจะนำมาสู่อาการหดหู่ซึมเศร้าได้
อาหารประเภทไส้กรอก และถั่วปากอ้า มีสารไทรามีนสูงทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาเซเลจิลีน ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้
เครื่องดื่ม 3 ชนิด
ชา-กาแฟ เพราะมีคาเฟอีนสูง ทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หากดื่มเกินกว่า 2 แก้วต่อวัน ทำให้วิตกกังวล ใจสั่น และเครียดเพิ่มขึ้น
น้ำอัดลมประเภทสีดำ มีคาเฟอีนและน้ำตาลสูง ส่วนแบบไม่มีน้ำตาลก็ต้องระวัง เพราะมีงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้านประสาทวิทยาในต่างประเทศพบว่า กลุ่มผู้บริโภคเครื่องดื่มที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล 4 กระป๋อง หรือ 4 แก้วต่อวัน จะมีความเสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติ 3 เท่า
น้ำผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม เสาวรส น้ำองุ่น เป็นต้น อาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษา ทำให้ตัวยาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการรักษาเท่าที่ควร
สไตลอ์อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ก็คือ อาหารสไตล์ตะวันตก หรือ อาหารแปรรูปปริมาณสูง
อาหารควรกิน
อาหารที่ควรรับประทานเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพยารักษาของแพทย์มี 5 กลุ่มและเครื่องดื่มอีก 2 ชนิด
1.กลุ่มอาหารที่มีกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพช่วยลดอาการซึมเศร้า คือ โอเมกา 3 ได้แก่ เนื้อปลาต่างๆ อาทิ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า ปลาช่อน ปลาดุก ปลาสวายเนื้อขาว เป็นต้น
2.ไข่ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่สำคัญ โดยเฉพาะทริปโตเฟนและไทโรซีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยสร้างสารซีโรโทนินทำให้อารมณ์ดี และยังเปลี่ยนให้เป็นเมลาโทนิน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
3.กลุ่มกล้วย จะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมและมีสารทริปโตเฟน ช่วยบรรเทาให้ความดันโลหิตกลับสู่ภาวะสงบ ลดการเกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล
4.กลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาทิ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น จะช่วยสร้างสารซีโรโทนินในสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย
5. กลุ่มเห็ดทุกชนิด จะมีธาตุเซเลเนียมสูง ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุขลดอารมณ์ขุ่นมัวได้
ส่วนเครื่องดื่ม 2 ชนิดเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ได้แก่
1.น้ำอัญชัน ในดอกอัญชันจะมีสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์กระตุ้นความจำ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความกังวลและช่วยให้นอนหลับ
2.น้ำลำไย ซึ่งมีสาร 2 ชนิดคือกรดแกลลิก ทำให้อารมณ์ดี ผ่อนคลาย และสารกาบาช่วยผ่อนคลายความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
โดยนายแพทย์ดรูว์ แรมซีย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกจิตเวชศาสตร์ที่วิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย งานหลักของเขามุ่งเน้นไปที่การรักษาภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล พบว่าอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนช่วยพัฒนาการรักษาอาการซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงให้ดีขึ้นได้
การขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินบี 12, โฟเลต, ธาตุเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า พลังงานต่ำ และมีจิตใจหม่นหมอง นอกเหนือจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าก็คือรูปแบบการบริโภคอาหารค่ะ
อาหารญี่ปุ่นและเมดิเตอร์เรเนียนลดความเสี่ยงซึมเศร้าถึง 30-50%
และเขาได้แสดงผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเภทของอาหารที่สามารถช่วยลดอาการ “ซึมเศร้า” ได้นั้น มีดังนี้
การบริโภคผัก ผลไม้ ปลา และเมล็ดธัญพืชในปริมาณที่สูงขึ้น สามารถลดภาวะ “ซึมเศร้า” ในผู้ใหญ่ได้
การบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต และอาหารแปรรูปในปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้เด็กและวัยรุ่นมีสุขภาพจิตที่แย่ลง
งานวิจัยพบว่ามีสารอาหารที่จำเป็น 12 ชนิดที่ช่วยต้านอาการซึมเศร้าได้ นั่นคือ เหล็ก, กรดไขมันโอเมก้า 3, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, ซีลีเนียม, วิตามินบีหลายชนิด: ไทอามีนโฟเลตบี 6 และบี 12, วิตามินเอ, วิตามินซี, สังกะสี
เนื้อสัตว์ที่มีสารต้านอาการซึมเศร้าสูง ได้แก่ หอยนางรม หอยลาย หอยแมลงภู่ และปลาทะเลน้ำลึก
ส่วนผักต่างๆ ที่มีสารต้านอาการซึมเศร้าสูง และสามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเลขค่า Antidepressant Food Score (AFS) ได้แก่
วอเตอร์เครสหรือผักสลัดน้ำ มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 127%
สปิแนชหรือผักปวยเล้ง มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 97%
หัวผักกาด หัวผักเทอนิปส์ มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 76% -93%
ผักสลัดเขียว ผักสลัดแดง มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 74% -99%
ผักสวิสชาร์ด มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 90%
สมุนไพรสด (ผักชี ใบโหระพา พาสลีย์) มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 73%-75%
คะน้า ผักเคล มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 48% -62%
ดอกกะหล่ำ มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 41% -42%
บรอกโคลี มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 41%
กะหล่ำดาว มีค่าต้านอาการซึมเศร้า 35%
กรมสุขภาพจิต
https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29741#
https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30416
#โรคซึมเศร้า #สาระ #สาระน่ารู้ #ซึมเศร้า #อาหาร