แหล่งมรดกโลกของเมืองไทย
สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษย์ชาติ
แหล่งมรดกโลกในเมืองไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถึง 5 แห่งเชียวนะ
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง
แหล่งมรดกโลกของไทยจะมีที่ไหนบ้างตามมาดูกันเลย
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
1. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มรดกโลกของไทยที่ต่อไป ตั้งอยู่ที่เทศบาลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงจะทำให้เราได้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
ที่นี่เราจะเห็นวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา
อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคม
วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
วัฒนธรรมบ้านเชียงครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง
มีศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก
โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ภาชนะดินเผาสมัยต้น สมัยกลาง และสมัยปลาย
นอกจากนี้ชาวบ้านเชียงยังนิยมทำเครื่องมือ เครื่องประดับจากสำริดอีกด้วย
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการ
มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 เมื่อ พ.ศ. 2535 ที่แซนตาเฟ รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
เหตุผลที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเพราะ ที่นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรม
ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,810 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง
เช่น พระราชวังหลวง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง
และการปกครองในเวลาเดียวกัน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดราชบูรณะซึ่งเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
นอกจากนี้ยังมี วิหารพระมงคลบพิตร ที่มีพระพุทธรูปบุทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย
อีกทั้งยังมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น วัดพระราม วัดธรรมมิกราช วัดวรเชษฐาราม พระราชวังจันทร์เกษม
วัดสุวรรณดาราราม เจดีย์พระศรีสุริโยทัย กำแพงและป้อมปราการกรุงเก่า (เกาะนอกเมือง)
วัดไชยวัฒนาราม วัดใหญ่ชัยมงคล วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดพนัญเชิง หมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านญี่ปุ่น
เพนียดคล้องช้าง และโบสถ์นักบุญยอเซฟ ที่แห่งนี้ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกของไทย
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ด้วยเหตุผลที่ว่า ที่นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม
หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
3. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร
หมายถึงอุทยานประวัติศาสตร์ 3 แห่งอันได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัยตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมือง
อีกที่คือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ซึ่งมีโบราณสถานทั้งหมด 283 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง รวมทั้งสุสานวัดชมชื่น และเตาสังคโลกโบราณ และที่สุดท้ายคือ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร ไกลจากสุโขทัย
เท่าใดนัก ลักษณะของศิลปะและสถาปัตยกรรมในอุทยานแห่งนี้เป็นศิลปะแบบเดียวกับที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
กำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
1. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่เดินทางกันมาถึงแหล่งมรดกโลกของไทยที่ล่าสุดนั่นก็คือ ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์ อีก 1 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด
ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก
ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ“ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่”
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้
เหตุผลที่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกคือ
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย
แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้งแหล่งมรดกโลกของไทยแห่งนี้
ประกอบด้วยสองเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งกินพื้นที่ถึง 3 จังหวัด คือจังหวัดอุทัยธานี ตาก และกาญจนบุรี
ที่นี่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน เป็นพื้นที่ป่าที่มนุษย์เข้าถึงได้น้อยที่สุด
จึงรบกวนสิ่งมีชีวิตในนั้นได้น้อยที่สุดของประเทศ
1. อนุสรณ์สถานแหล่งต่างๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนาเชียงใหม่
จังหวัดทางภาคเหนือของไทย มีพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร
ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ นอกจากนี้เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย ส่วนอนุสรณ์สถานแหล่งต่าง ๆ
และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนาอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
ของมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยได้ขึ้นบัญชีในปีพ.ศ. 2558
จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานรกรากของมนุษย์มาอย่างยาวนาน
เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา มีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเอง
คือ คำเมือง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก
โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์
ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปีพ.ศ. 2560
ซึ่งความเป็นมาและลักษณะท้องถิ่นของเชียงใหม่เหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ที่ดึงดูดให้ใครๆ
ก็อยากมาเที่ยวมาอยู่อาศัยในเชียงใหม่ ก็ช่างน่าอยู่ขนาดนี้ ใครจะไม่อยากมา
2. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน
ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีชื่อว่า
ป่าเขือน้ำ บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยได้ขึ้นบัญชีในปีพ.ศ. 2547
ที่อุทยานแห่งนี้ปรากฏร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว
มีการพบภาพเขียนสีมากกว่า 30 แห่ง ยังพบการดัดแปลงโขดหินและเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนใน
วัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี สืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง ซึ่งร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้
แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของ มนุษย์ได้เป็นอย่างดี
3. พระธาตุพนม และสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง
ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยพระธาตุพนม
และสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
ของมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยได้ขึ้นบัญชีในปีพ.ศ. 2560
4. กลุ่มป่าแก่งกระจานกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาตะนาวศรี
มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์
กลุ่มป่าแก่งกระจานอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยได้ขึ้นบัญชีในปีพ.ศ. 2554
กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย
และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำจืดอีกด้วย ค่อนข้างอันตราย ดังนั้นถ้าจะมาท่องเที่ยวธรรมชาติลักษณะนี้
แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานก่อนเข้าสถานที่เพื่อความปลอดภัยนะ
5. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราชวัดนี้ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
ของมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยได้ขึ้นบัญชีในปีพ.ศ. 2555
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีประเพณีสำคัญ ที่ชื่อว่าประเพณีผ้าขึ้นธาตุ
หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา
ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินเพื่อซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา
จัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ”
เห็นมั้ยว่าเมืองไทยมีที่เที่ยวดีๆมากมาย มรดกโลกของไทยน่าเที่ยวมากๆเลย
อย่าลืมพากันแวะสถานทีที่เที่ยวมรดกโลกของเมืองไทยที่เราได้นำเสนอกันด้วยน๊า