วางแผนการเงินอย่างไรดี เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ !
วางแผนการเงินแบบไหนดี จะเริ่มต้นวางแผนการเงินทั้งทีควรรู้อะไรบ้าง เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยตนเองได้ง่าย ๆ เพียงทำความเข้าใจว่าทำไมเราจึงควรวางแผนการเงิน และการวางแผนการเงินจะช่วยให้เรามีความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้อย่างไร
นอกจากนี้การวางแผนการเงินที่ดีควรทำอย่างไร วิธีวางแผนการเงินแบบไหนเหมาะกับเรา สามารถเรียนรู้และเริ่มต้นไปพร้อม ๆ กันได้ เพียงอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนการเงินในบทความนี้
วางแผนการเงิน สำคัญมากกว่าที่คิด
การวางแผนการเงินสำคัญอย่างไร ทำไมเราจึงควรวางแผนการเงิน หากจะตอบให้เข้าใจง่าย ๆ แล้ว การวางแผนการเงินก็คือการวิเคราะห์รายรับรายจ่ายของเรา และปรับแก้ให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายทางการเงินในอนาคต ซึ่งจะทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีอิสระทางการเงิน การมีเงินเก็บ การมีเงินมากพอสำหรับการซื้อสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ เป็นต้น
โดยนักวางแผนการเงินมือใหม่อาจสงสัยว่าแล้วเราจะเริ่มต้นได้อย่างไร หากการวางแผนการเงินเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตเราสบายขึ้นแล้ว การเริ่มต้นวางแผนการเงินจะยากเกินไปหรือเปล่า แท้จริงแล้วการวางแผนการเงินสามารถเริ่มต้นเองได้ โดยการเรียนรู้จากเทคนิควางแผนการเงินที่ดีและดูตัวอย่างการวางแผนการเงินนั่นเอง ดังนั้นแม้จะเพิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงินครั้งแรกก็สามารถทำตามได้ไม่ยากเลย
รูปแบบของการวางแผนการเงิน
การวางแผนทางการเงินนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะวางแผนการใช้เงินอย่างไร โดยอาจมีเกณฑ์ในการแบ่งการวางแผนการเงินออกเป็น 2 เกณฑ์ใหญ่ ได้แก่เกณฑ์ด้านระยะเวลา และเกณฑ์ด้านวัตถุประสงค์ เนื่องจากเป็น 2 ปัจจัยหลักที่จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเสมอเวลาที่คุณต้องการจะวางแผนการเงินเพื่อการทำอะไรสักอย่าง
รูปแบบการวางแผนการเงินแบบแบ่งตามระยะเวลา
รูปแบบการวางแผนการเงินแบบแบ่งตามระยะเวลาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบได้แก่
- การวางแผนการเงินระยะสั้น
- การวางแผนการเงินระยะกลาง
- การวางแผนการเงินระยะยาว
การวางแผนการเงินระยะสั้น คือการวางแผนการเงินในช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะเพื่อการเก็บเป็นเงินฉุกเฉินหรือการเก็บเงินเพื่อซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้มีภาระผูกมัดในระยะยาว ซึ่งการวางแผนการเงินในระยะสั้นนี้เหมาะกับผู้เริ่มเก็บเงินด้วยตนเองเป็นครั้งแรก เนื่องจากจะเห็นผลลัพธ์จากความพยายามของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ทว่าการวางแผนการเงินรูปแบบนี้ควรกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากจนเกินไป เนื่องจากมีระยะเวลาที่จำกัด หากกำหนดจำนวนเงินไว้มากอาจกลายเป็นการกดดันตัวเองแทนได้
การวางแผนการเงินระยะกลาง คือการวางแผนการเงินในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 7 ปี ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินเพื่อค่าใช้จ่ายของบุตรหลาน การเก็บเงินเพื่อค่าเล่าเรียนของตนเอง ตลอดจนการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ ซึ่งจะเป็นภาระผูกพันไปในระยะยาว การวางแผนการเงินระดับนี้จึงควรเป็นผู้ที่เคยวางแผนการเงินมาก่อนแล้ว รู้ว่าตนเองควรจะวิเคราะห์รูปแบบการวางแผนการเงินอย่างไร และลงมือทำตามแผนที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวางแผนการเงินระยะยาว คือการวางแผนการเงินในช่วงระยะเวลาที่มากกว่า 7 ปีเป็นต้นไป การวางแผนการเงินรูปแบบนี้เหมาะกับสิ่งของที่ผูกพันระยะยาว หรือการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณเป็นต้น จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการวางแผนการเงินมาก่อนแล้ว และอาจอยากเกษียณก่อนอายุที่กำหนด ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการวางแผนการเงินที่ต้องมีความรอบคอบและมีวินัยสูงมาก
รูปแบบการวางแผนการเงินแบบแบ่งตามวัตถุประสงค์
รูปแบบการวางแผนการเงินแบบแบ่งตามวัตถุประสงค์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
- การวางแผนการเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
- การวางแผนการเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้
- การวางแผนการเงินเพื่อการมีอิสรภาพทางการเงิน
การวางแผนการเงินเพื่อการใช้จ่ายยามฉุกเฉิน คือการวางแผนการเงินเพื่อให้มีเงินเก็บ โดยไม่คิดจะนำเงินส่วนนั้นไปใช้จ่ายทำอะไรอย่างอื่นเพิ่มเติม
การวางแผนการเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ ตรงตามชื่อเลยคือการมีจุดประสงค์ว่าต้องการจะซื้อสิ่งใด เช่น บ้าน รถ ของใช้เข้าบ้าน หรือเพื่อการท่องเที่ยวต่างประเทศ การวางแผนการเงินรูปแบบนี้จึงมีจำนวนเงินที่ต้องการชัดเจนและจะมีการใช้จ่ายเงินในท้ายที่สุด
การวางแผนการเงินเพื่อการมีอิสรภาพทางการเงิน คือการวางแผนการเงินแบบที่ต้องการต่อยอดจำนวนเงินเก็บขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะจากการนำเงินไปลงทุน หรือจากการเก็บเงินแบบได้ดอกเบี้ย เพื่อให้เงินนั้นไม่ได้เป็นเพียงเงินเก็บเปล่า ๆ เป็นช่องทางที่เงินงอกเงยและนำไปสู่การมีอิสรภาพทางการเงินในอนาคต
การวางแผนการเงิน ในแต่ละช่วงวัย
การวางแผนการเงินส่วนบุคคลสามารถแบ่งออกได้เป็นการวางแผนการเงินสำหรับแต่ละช่วงอายุ เนื่องจากช่วงอายุที่แตกต่างกันก็จะมีที่มาของรายรับ เป้าหมายในการวางแผนการเงินและเงื่อนไขที่สามารถทำได้แตกต่างกันไป ประกอบไปด้วย 3 ช่วงอายุได้แก่ วัยเรียน วัยทำงาน และวัยหลังเกษียณ
วัยเรียน
สำหรับวัยเรียนการวางแผนการเงินอาจจะเน้นไปที่การควบคุมค่าใช้จ่ายเสียมากกว่า เนื่องจากรายรับที่สามารถสร้างได้อาจมีข้อจำกัดมากกว่าวัยผู้ใหญ่ โดยอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรือเพื่อซื้อของที่อยากได้
ตัวอย่างการวางแผนทางการเงินที่ดีสำหรับนักเรียน นักศึกษาคือการไม่วางแผนใหญ่เกินตัว เช่น วางแผนการเงินสำหรับการซื้อบัตรคอนเสิร์ตที่อยากได้และมีเงินเก็บไปด้วยพร้อม ๆ กัน โดยการคำนวณระยะเวลาก่อนจะถึงวันซื้อบัตร และพิจารณาว่าควรเก็บเงินให้ได้สักสัปดาห์ละเท่าไหร่ จากนั้นจึงลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นลง
วัยทำงาน
การวางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนสามารถทำได้หลากหลาย เนื่องจากมีช่องทางสร้างรายรับที่มากมายและยังสามารถวางแผนการเงินโดยการลงทุนต่อยอดเงินได้ด้วย ในวัยนี้แต่ละคนอาจมีเป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับตนเอง และไม่เปรียบเทียบการวางแผนการเงินของตนเองกับผู้อื่นจนเสียความมั่นใจไป
วัยหลังเกษียณ
หลักการวางแผนทางการเงินที่ดีสำหรับวัยหลังเกษียณ คือการเน้นไปที่การลดค่าใช้จ่ายและการวางแผนการเงินเพื่อให้เงินเติบโตได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นวัยที่เราต้องการการพักผ่อนและใช้เงินที่เก็บมาอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
จุดสำคัญของการวางแผนการเงินสำหรับวัยหลังเกษียณคือคนที่เริ่มวางแผนเร็วก็จะมีเวลามาก สามารถทำตามแผนได้อย่างไม่กดดันจนเกินไป แต่หากเริ่มวางแผนช้า ระยะเวลาสำหรับการเก็บเงินรวมไปถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นก็อาจฉุกละหุกและกลายเป็นเรื่องยากขึ้นได้
เทคนิควางแผนการเงินอย่างง่าย มือใหม่ก็ทำตามได้ทันที!
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นหัดวางแผนการเงินสามารถทำตามได้ตามขั้นตอนการวางแผนทางการเงินต่อไปนี้
- จดบันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง หรือสังเกตการใช้จ่ายเงินของตัวเอง
- ตั้งเป้าหมายที่ต้องการจะวางแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเก็บเงินเฉย ๆ เพื่อการซื้อสิ่งของ หรือเพื่ออิสระทางการเงินในอนาคต โดยระบุจำนวนเงินที่ต้องการ
- วิเคราะห์รายรับรายจ่ายของตนว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึงหรือไม่
- เริ่มต้นการวางแผนการเงินโดยเริ่มจากการลดรายรับ เพิ่มรายจ่าย และอาจนำเงินไปลงทุนเพิ่มในกรณีที่มีการศึกษาเพิ่มเติมมาดีแล้ว
- จัดการวางแผนการเงินให้อยู่ในขอบเขตเวลาที่เหมาะสมกับเป้าหมาย โดยระบุระยะเวลาที่จะใช้ในการเก็บเงิน และแบ่งเป้าหมายย่อยระหว่างทาง
- ลงมือทำตามแผนการเงินที่วางเอาไว้
- ติดตามผลจากการดำเนินตามแผนการเงินที่วางเอาไว้ แล้วคอยปรับปรุงแผนให้เหมาะสมอยู่เสมอ
เพียงทำตาม 7 ขั้นตอนนี้ก็จะสามารถวางแผนการเงินได้ด้วยตนเอง โดยสามารถปรับแผนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสรุป วางแผนการเงิน
การวางแผนทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ว่าใครก็ควรทำ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุใด เป็นวัยไหน การวางแผนการเงินก็สามารถช่วยให้คุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้ทั้งนั้น โดยมีเพียง 7 ขั้นตอนง่าย ๆ ให้คุณทำตาม เมื่อทำตามขั้นตอนการวางแผนการเงินดังกล่าวแล้ว ก็มั่นใจได้เลยว่าคุณจะสามารถประสบความสำเร็จในการวางแผนการเงินต่อไป
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการเงินคือการวางแผนการเงินให้เหมาะสมกับตนเอง เนื่องจากคุณเป็นคนที่รู้ความต้องการของตนเองดีที่สุด และรู้ว่าตัวคุณเองสามารถสร้างรายรับจากช่องทางไหนหรือลดรายจ่ายอะไรได้บ้าง ดังนั้นจึงไม่ควรกดดันตนเองจนเกินไป และวางแผนการเงินให้พอเหมาะ ไม่ตึงหรือหย่อนจนยากที่จะทำตาม