"เต่าทอง" พิฆาตศัตรูพืช ชี้วัดสารเคมีตกค้าง
แมลงเต่าทอง - Ladybird, Ladybug หรือ ด้วงเต่าทอง แต่โดยมากนิยมเรียกว่า เต่าทอง จัดเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กเมื่อเทียบกับแมลงปีกแข็งทั่วไป ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 490 ชนิด มีขนาดเล็กตั้งแต่ 1 มม. ถึง 10 มม. ลำตัวอ้วนกลม ส่วนหลังมีสีเงินหรือสีทองหรือสีแดง และมีจุดสีดำแต่งแต้มตามตัวที่เป็นเอกลักษณ์ ปีกแข็งใสและโค้งนูน เมื่อหุบปีกเข้าหากันจะจดกับด้านหลังทำให้มองคล้ายหลังเต่า ส่วนมากจะมีหนวด
โดยทั่วไปไม่นิยมเลี้ยงแมลงเต่าทองเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง แต่เราสามารถพบเห็นแมลงเต่าทองได้ตามธรรมชาติ นอกจากนั้น ทั้งในหรือต่างประเทศยังมีความเชื่อว่าเป็นแมลงนำโชคอีกด้วย
แมลงเต่าทอง สามารถหากินในที่แคบ และอาศัยอยู่ ใต้ก้อนหิน เปลือกไม้ได้ สามารถพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตหากินในระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี แมลงเต่าทองมักพบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเมื่ออากาศหนาวเย็น ซึ่งอาจจะเป็นช่วง "จำศีล" หรืออาจพักร่างกาย เพื่อรอช่วงใบไม้อ่อนเริ่มแตกผลิตใบ
แมลงเต่าทอง ยังมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ตัวห้ำแมลง ซึ่งเป็นแมลงที่สำคัญมากในระบบนิเวศ ที่คอยควบคุมศัตรูพืช แมลงเต่าทองชอบกิน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไข่ หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน แมลงหวี่ขาว ตัวอ่อนและไข่ของแมลงศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ ที่มักจะทำลายพืชผลของเกษตรกร ด้วยวงจรชีวิตของตัวห้ำแมลงที่กินแมลงศัตรูพืชพวกนี้เป็นอาหาร ส่งผลให้แมลงศัตรูพืชลดลง โดยไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลง และไม่ทำลายพืชผลของเกษตรกรอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นแมลงเต่าทองสามารถเป็นตัวชี้วัดสารเคมีตกค้างมากน้อยเพียงใดทางการเกษตรได้ เนื่องจากหากมีสารเคมี หรือยาฆ่าแมลงตกค้าอยู่มาก ก็จะทำให้พวกแมลงเต่าทองก็ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ส่วนพื้นที่การเกษตรใดที่ปรับเปลี่ยนไปใช้ชีวภาพกำจัดศัตรูพืช แมลงเต่าทองก็จะออกมาอวดรูปโฉมให้ได้เห็นความสวยงาม
Credit: https://en.wikipedia.org/.../File:Aspidimorpha...
อ้างอิงจาก: https://108kaset.com/2020/08/30/ladybug/
: https://www.thairath.co.th/content/137360