หมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟ เป็นภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ เกิดจากความเครียดจากงานที่มากเกินไป ทำให้มีความรู้สึกว่างานที่ได้รับเกินกำลังที่จะทำได้ มีความรู้สึกอยากทำงานลดลง เป็นอารมณ์ที่ไม่สนใจอะไรแล้ว ทำงานไปวันๆ เลิกงานก็กลับบ้าน อาการแบบนี้นานเข้า ทำให้เสียแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้รู้สึกว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ดี เกิดความรู้สึกลบและเสียใจ ลงท้ายด้วยรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้
อาการหลักของภาวะหมดไฟ คือ รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือมีภาวะอ่อนเพลีย , ต่อต้านและมองงานในทางลบ ขาดความรู้สึกในความตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จ และ รู้สึกห่างเหินจากเพื่อนร่วมงาน รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำ
สาเหตุของภาวะหมดไฟ
ปัจจัยส่วนบุคคล
- เป็นคนที่จริงจังเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism)
- มีความคาดหวังสูง และพยายามควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามต้องการ
- มีปัญหาภายในครอบครัว เช่น คู่สมรสมีความขัดแย้งจนถึงขั้นหย่าร้างกัน ทำให้เกิดความเครียดสะสม
- ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน เนื่องจากมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่างนอกจากเรื่องงาน เช่น การดูแลพ่อแม่ที่เจ็บป่วยชราภาพ การส่งเสียเลี้ยงดูบุตร การผ่อนชำระหนี้สินของครอบครัว ฯลฯ
ปัจจัยจากงาน
- ทำงานที่ไม่ถนัด ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียวโดยขาดที่ปรึกษา ทำให้เกิดความเครียด
- มีปริมาณงานไม่สอดคล้องกับจำนวนบุคลากร เช่น มีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ในระยะเวลาที่จำกัด แต่มีพนักงานน้อย ทำให้ต้องรับผิดชอบหลายหน้าที่
- ไม่ได้รับการยอมรับ รู้สึกว่าถูกละเลย และได้รับค่าตอบแทนน้อย ไม่เหมาะสมกับภาระงานที่ตนเองรับผิดชอบ
- มีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน ทำให้บรรยากาศในที่ทำงานมีความตึงเครียด
- องค์กรที่ขาดความมั่นคง หรือมีระบบงานที่ขาดประสิทธิภาพ
คุณกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟหรือเปล่า
เรามาดูวิธีเเก้ภาวะหมดไฟกันค่ะ
- เริ่มต้นจากสิ่งที่คุณอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องพื้นฐาน คือ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
- ไม่นอนดึกจนเกินไป ให้ความสำคัญทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพของการนอน
- เรียนรู้ที่จะยืดหยุ่นในสถานการณ์ต่างๆ และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และมองหาแรงบันดาลใจ เช่น อ่านหนังสือที่ช่วยสร้างเสริมกำลังใจ
- จัดระเบียบการทำงานใหม่ เรียงลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำก่อนหลัง พยายามอย่านำงานกลับมาทำต่อที่บ้าน ควรมีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวบ้าง หลังจากเลิกงานในแต่ละวัน
- ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือคนรอบข้าง ถ้ารู้สึกไม่ไหวหรือเหนื่อยเกินไป
- ฝึกคิดบวก รู้จักชมเชย เห็นคุณค่าในตัวเอง มองหาโอกาสในวิกฤติ และหาข้อดีในสิ่งที่เราให้ความหมายว่าไม่ดี
- ลดความคาดหวังในสิ่งต่างๆ ลง ควรใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความเป็นจริง
- หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำในยามว่าง เช่น การเล่นดนตรี การนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติธรรม
- อาจขอลาพักร้อนออกไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียด
ภาวะหมดไฟ เกิดจากหลายสาเหตุเเละมีโอกาสเกิดขึ้นไปกับวัยทำงายทุกคนแม้กระทั่งในวัยเรียนก็เกิดภาวะเหล่านี้ได้ เมื่อเรารู้สึกหมดไฟ สิ่งเเรกที่ควรทำคือมองหาสิ่งที่ฮีลใจอาจมองท้องฟ้าที่สดใส ฟังเสียงน้ำตกที่เบาสบาย ออกกำลังกาย กินกาเเฟ หรือแค่นอนอยู่บนเตียงในวันหยุด ก็เป็นการฮีลพลังในอีกแบบนึง หลายๆ คนอาจคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ทำงานออกมาได้ไม่ดี แต่เชื่อสิว่า ..... เราเติบโตมาถึงทุกวันนี้ได้ ใช้ชีวิตผ่านวิกฤตหลายๆอย่างมาได้ เราเก่งเเค่ไหน อย่าลืมให้กำลังใจตัวเอง ในวันที่เราหมดกำลังใจในตัวเอง ถ้ารู้สึกไม่มีคนอยู่เคียงข้างในเวลาที่มีปัญหาให้มองไปที่กระจก คนในกระจกคือคนที่คอยอยู่ข้างๆเราค่ะ ขอให้ภาวะหมดไฟนี้ผ่านไปได้ เป็นกำลังใจให้ทุกคนคะ
อ้างอิงจาก: ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.phyathai.com
https://www.rajavithi.go.th