นักวิจัยตะลึงวาฬสีเทานอกชายฝั่งของโอเรกอนกินไมโครพลาสติกขนาดเล็กมากกว่า 21 ล้านตันต่อวันหวั่นอันตรายต่อชีวิตวาฬ
พลาสติกอานุภาพไมโครพลาสติกขนาดเล็กกำลังจะฆ่าชีวิตวาฬสีเทา
ไม่แน่นะครับต่อไปอนาคตข้างหน้าเราอาจจะไม่ได้เห็นปลาวาฬอีกแล้วเพราะสภาพแวดล้อมสภาวะขยะเป็นพิษพลาสติกที่เกลื่อนกลาด อาจจะทำลายชีวิตสัตว์ทะเลต่างๆลงทีละน้อยๆจนอาจจะสูญพันธุ์ ไปหมดสภาวะโลกร้อนก็ทำให้น้ำทะเลเพิ่มขึ้นมันเป็นอะไรที่ทำให้รู้สึกสลดหดหู่ ถ้ามนุษย์ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาขยะพลาสติกมลภาวะเป็นพิษของอากาศได้ ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะสูญสลายอย่างรวดเร็ว
นักวิจัยตะลึงวาฬสีเทานอกชายฝั่งของโอเรกอนกินไมโครพลาสติกขนาดเล็กมากกว่า 21 ล้านตันต่อวันหวั่นอันตรายต่อชีวิตวาฬ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา พบผลกระทบสุดช็อก ระบุวาฬสีเทานอกชายฝั่งของโอเรกอนกินอนุภาคขนาดเล็กมากกว่า 21 ล้านตันต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไมโครพลาสติก หวั่นอันตรายต่อชีวิตวาฬเพราะพบอีกว่าพวกมันผอมกว่ากลุ่มอื่น ๆ
.
งานวิจัยได้มุ่งเน้นไปยังกลุ่มย่อยของวาฬสีเทาที่รู้จักกันในชื่อ กลุ่มที่หากินตามชายฝั่งแปซิฟิก (Pacific Coast Feeding Group) ซึ่งมีวาฬประมาณ 230 ตัว พวกมันเหล่านี้จะเดินทางหาอาหารตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกขึ้นมาจนถึงตอนใต้ของแคนาดา
.
เพื่อศึกษาพฤติกรรมและสุขภาพของวาฬ นักวิจัยได้ตรวจสอบอุจาระของพวกมันรวมถึงเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ที่เป็นอาหารสำคัญตั้งแต่ปี 2015 แล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง สิ่งที่พบนั้นน่าตกใจ เมื่อแพลงก์ตอนสัตว์ตัวอย่างมีอนุภาคขนาดเล็กอยู่ในตัวทั้งหมด
และเกินครึ่งหรือ 50% เป็นไมโครพลาสติก จากนั้นก็รวมข้อมูลเข้ากับค่าความต้องการด้านพลังงานสำหรับวาฬสีเท่าที่กำลังตั้งท้องและให้นมลูก ว่าพวกมันต้องกินอาหารเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อวัน กลายเป็นว่า นอกจากอาหารแล้ว พวกมันก็กินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วยมากถึง 21 ล้านชิ้นต่อวัน
“น่าตกใจที่วาฬกินไมโครพลาสติกจำนวนมากผ่านอาหารของพวกมัน” Leigh Torres หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว “เป็นไปได้เช่นกันว่ามนุษย์ก็บริโภคไมโครพลาสติกในปริมาณมากด้วยการกินปลาของเราเอง”
เขาเสริมว่านี่เป็นการประเมินขั้นต่ำเท่านั้น ซึ่งคำนวณจากอาหารที่วาฬกิน แต่ยังไม่รวมอนุภาคเล็ก ๆ ที่อยู่ในน้ำแล้ววาฬกินเข้าไปโดยตรง การค้นพบนี้สร้างความกังวลอย่างมากให้กับทีมวิจัย เนื่องจากวาฬเหล่านี้มีรูปร่างผอมกว่ากลุ่มอื่น ๆ
.
“วาฬเหล่านี้อยู่ในภาวะเครียดอยู่แล้ว เนื่องจากมีเรืออยู่ตลอดเวลา และก็เสี่ยงต่อการชน” Torres บอก “พวกมันอาจขาดแคลนเหยื่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่นการลดลงของสาหร่ายทะเล และตอนนี้ คุณภาพของอาหารก็ลดลงเนื่องจากมีไมโครพลาสติกจำนวนมาก”
พวกเขาหวังว่าจะทำการศึกษาผลกระทบที่ชัดเจนกับสุขภาพวาฬต่อไป มลพิษพลาสติกอาจทำให้วาฬได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เติบโตไม่ดี ร่างกายเล็กลง และความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง ทั้งหมดเป็นประเด็นที่น่ากังวล
ในเดือน Plastic free july แห่งการละ ลด เลิกพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งนี้ ขอชวนทุกคนเป็นหนึ่งในก้าวเล็ก ๆ ที่เริ่มปรับพฤติกรรมลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งง่าย ๆ ด้วยการ “ไม่รับหลอด” หรือ “พกหลอดส่วนตัวของทุกคนไปด้วยเสมอ”และเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการกระจายเสียงแห่งการไม่รับหลอดออกไปด้วยการแชร์เรื่องราวไม่ว่าจะเป็นผ่านข้อความ หรือภาพถ่าย และติด #มีหลอดไม่มีเรา มา มา มาร่วมกันส่งต่อเรื่องราวดี ๆ และชวนคนให้มาร่วมลดหลอดกัน!
อ้างอิงจาก: frontiersin.org/articles,phys.org/news/