ไม่ใช่มีแค่ "ป่าช้า" แต่มี "ป่าเร็ว" ด้วยซึ่งก็เป็นสถานที่สำหรับฝังศพเหมือนกัน?
ป่าช้า-ป่าเร็ว
เคยสงสัยไหม? ในเมื่อมี "ป่าช้า"
แล้ว "ป่าเร็ว" น่ะมีไหม?
มีครับ เดิมไทยเรามีทั้ง "ป่าช้า" และ "ป่าเร็ว" ซึ่งก็เป็นสถานที่สำหรับฝังศพเหมือนกัน
เรื่องนี้ต้องยึดโยงมาจากพิธีกรรมสำหรับคนตายในสมัยก่อน ที่จะแยกแยะออกมาว่าคนที่ตายนั้นตายแบบไหน และต้องมีพิธีกรรมฝังศพอย่างไร
บางคนบอกเกิดมาไม่เคยได้ยินสักทีกับคำว่า "ป่าเร็ว"
คำว่า "ป่าเร็ว" จะมีใช้กันอยู่บ้าง เช่น ไทยล้านนาจะเรียก "ป่าเฮ็ว/ป่าเฮ่ว" เช่นสมุนไพรพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ป่าเฮ่วหมอง" (คือที่ฝังศพต้องเศร้า เพราะคนกินสมุนไพรนี้จะอายุยืน ตายยาก) ส่วนไทยภาคใต้จะมีคำว่า "เปรว" (ป่าเร็ว-พูดแบบเร็วรัว) เช่นคำว่า "ตายทำแดกเปรว" (ตายประชดป่าช้า)
สมัยโบราณนั้นถ้ามีคนตายแบบผิดธรรมชาติ เช่น ตายเพราะโรคลงท้องลงแดง ตกน้ำตาย ตกเรือนตาย ตกต้นไม้ตาย ผีกิน สัตว์ขบกัดหรือช้างม้าเหยียบ ตายเพราะอาวุธ ตายเพราะฟกช้ำตาย และรวมถึงคนตายที่มีอายุไม่ถึง 10 ขวบ (โบราณไม่มีตายเพราะอุบัติเหตุแบบทางรถยนต์ ฯลฯนะ มีแต่ตกม้าตกช้างตาย) ศพพวกนี้จะนำไปฝังที่"ป่าช้า" จนคนลืมค่อยขุดขึ้นมาเผาแบบที่เราเรียกกันว่า"ล้างป่าช้า"
แต่ถ้าตายแบบธรรมดาถ้าไม่เผาโดยเร็ว เช่นจะเก็บศพไว้ 100 วันก็จะนำไปฝังที่ "ป่าเร็ว" (ปัจจุบันจะเป็นช่องคอนกรีตบรรจุโลงเข้าไปเก็บแทนการฝัง บางถิ่นเรียก"โรงทึม") เรียกว่าฝังไม่นานก็เผาเลยเรียกว่า "ป่าเร็ว" ไม่ใช่แบบผู้รู้บางท่านที่ให้ความหมายว่า "ป่าช้า" คือ "ป่า" บวกกับคำว่า "ชั่วช้า" หรอกค่ะ คนดีๆเขาก็ฝังที่นี่แหละถ้าบังเอิญตายแบบผิดธรรมชาติ โบราณเขาหมายถึงจะนำมาเผาช้าหรือเผาเร็วน่ะ และเวลาเผาก็จะแยกเผาป่าใครป่ามันห้ามใช้ร่วมกันเด็ดขาด
วัดในสมัยก่อนจะมี "ป่าเร็ว" อยู่ใกล้วัด และมี "ป่าช้า" อยู่ไกลวัด ซึ่งคนสมัยก่อนจะไม่กลัว "ป่าเร็ว" เพราะมักเป็นคนตายตามธรรมดา เช่นโรคชรา แต่ "ป่าช้า" จะกลัวกันมากเพราะถือว่าเป็นที่ฝังศพ "ผีตายโหง"กันล้วนๆ แต่สมัยนี้กลับกัน ถ้าตายผิดธรรมชาติกลับรีบเผากันเลย ถ้าตายแบบธรรมดากลับเก็บเอาไว้ซะนาน
"เอกสา ชญาภู"
ขอขอบคุณ Fb. ล้านรู้กับ "เอกสา ชญาภู"