Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หลักการเขียนวิจัย 5บท

โพสท์โดย ฅนเล่าเรื่อง

หลักการเขียนวิจัย 5บท

บทที่ 1 บทนํา

  1. ภูมิหลัง ต้องเขียนเหตุผลของปัญหาที่จะทําวิจัยในภาพกว้าง หรือไกลสิ่งนั้นเข้าสู่ จุด ที่ทําวิจัยหรือใกล้สิ่งนั้น (ควรมีเอกสารอ้างอิงของอาจารย์ภาควิชา/คณะที่ศึกษาด้วย) โดยทั่วไปจะกล่าวถึง 1.ปัญหา 2.ตัวแปรหรือพฤติกรรมที่จะทําวิจัย 3.กลุ่มตัวอย่าง 4.เทคนิค/วิธีที่จะทํากาวิจัย (ควรมีความยาว 3 – 6 หน้า)
  2. กรอบแนวคิด (ถ้ามี) แสดงถึงแนวความคิด ปรัชญา/หลักการ ต้องอ้างอิงตํารา หรือ เอกสารที่นํามาเป็นกรอบแนวคิดด้วย (ไม่ใช่อ้างอิงงานวิจัยของอื่นมาเป็นกรอบ เพราะเท่ากับลอก เลียนการทําวิจัยของคนอื่น) งานวิจัยบางเรื่องที่ต้องใช้ทฤษฎี หลักการของนักวิชาการก็ควรมี กรอบการทําวิจัย บางเรื่องไม่ต้องมีกรอบก็ได้ เพราะหลักสําคัญของการทําวิจัยจะพิจารณาจาก จุดมุ่งหมายของการวิจัย
  3. จุดมุ่งหมาย ต้องเขียนให้กะทัดรัด ชัดเจน จัดลําดับตามผลการวิจัย ที่จะเสนอใน บทที่ 4 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายให้กระชับขึ้น เมื่อจะเขียนบทที่ 4 (ไม่ควรเอาชื่อเรื่อง การวิจัยมาเป็นจุดมุ่งหมาย เพราะจุดมุ่งหมายต้องมีรายละเอียดมากกว่าหัวข้อเรื่อง)
  4. ความสําคัญ ต้องคิดไว้ล่วงหน้าก่อนทําวิจัยว่า งานวิจัยนี้มีคุณค่า หรือมีประโยชน์ หรือไม่ ถ้าคิด ว่ามีความสําคัญหลายประเด็น ก็เขียนเป็นรายข้อ (ไม่ควรเกิน 3 ข้อ) และข้อความ ที่เขียนต้องเป็นจริงพอสมควร

        เมื่อมีหัวข้อความสำคัญแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อประโยชน์ของการวิจัยอีก เพราะความสำคัญย่อมมีคุณค่ากว่าประโยชน์ของการวิจัย

  1. สมมุติฐาน (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย (มักจะเรียงไว้เป็นข้อหลังๆ ในจุดมุ่งหมาย) และต้องทำการทดสอบสมมุติฐานเพราะเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วอ้างอิง (Generalized) ไปยังประชากร ถ้าไม่มีการทดสอบสมมุติฐานแสดงว่าข้อมูลที่เก็บมาเป็นข้อมูลเฉพาะของกลุ่มตัวอย่าง
  2. ขอบเขตของการวิจัย ประกอบด้วย

        6.1 ประชากร ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน (ถ้าเป็นสถานการศึกษาต้องระบุ อำเภอ จังหวัด หรือสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจน)

        6.2 กลุ่มตัวอย่าง พิมพ์ล้อประชากรแล้วระบุเพียง เลือก(Sampling) หรือสุ่ม(Random) โดยวิธีใด(ไม่ต้องระบุวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่าใช้ตาราง หรือใช้เกณฑ์ และไม่ต้องแสดงรายละเอียดการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง)

        6.3 ตัวแปร (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานจึงจะมีตัวแปร (หากไม่มีสมมุติฐานก็ไม่ต้องเสนอตัวแปร เพราะถึงมีตัวแปรก็ไม่เกิดประโยชน์ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การระบุตัวแปรก็เพื่อทดสอบสมมุติฐาน) นิสิตมักจะใส่หัวข้อ เนื้อหาการทำวิจัยลงไปด้วยโดยไม่จำเป็น เพราะชื่อเรื่องวิจัยก็ระบุเนื้อหาแล้ว ส่วนกำหนดเวลาในการทำวิจัย จะอยู่ในบทที่ 3 เพราะเป็นเรื่องของการดำเนินการวิจัย ไม่ใช่บริบทของการทำวิจัย (บทที่ 1)

  1. นิยามศัพท์เฉพาะ หัวข้อนี้ตรงกับคำว่า Definition เป็น การนิยามคำที่มีความสำคัญ (Key Words) ของการวิจัย และคำที่มีความสำคัญของการวิจัยที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้เท่านั้นไมใช่เป็นนิยามทั่วไป จึงไม่ครลอกมาจากเอกสาร ตำรา และไม่จำป็นต้องมีการอ้างอิง เว้นแต่ใช้ข้อความตรงกับเอกสารตำรา จริง ๆ

        สรุปการเขียนบทที่ 1

        บทนํา เป็นเรื่องของบริบทในการทําวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ทราบว่า วิจัยครั้งนี้จะ ประกอบด้วยสาระอะไรบ้างอย่างกะทัดรัด ไม่เกี่ยวกับการดําเนินการ หรือการจัดกระทํา (Action) ส่วนหัวข้อ “ข้อตกลงเบื้องต้น” มักจะไม่กล่าวถึง(เป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เบื้องต้น เช่น กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยความเต็มใจ เป็นต้น)

 

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง มักได้แก่ ทฤษฎีหรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำ ผู้วิจัยจะต้องค้นคว้าให้ได้มากพอสมควร เพื่อไม่ให้การวิจัยไปซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของคนอื่น หรือช่วยให้การทำวิจัย มีความคมชัด ถูกทิศทางมากยิ่งขึ้น (คล้ายคนเราจะทำอะไร ก็มีการสำรวจดูทำเล หรือตรวจสอบความจริงบางอย่าง เพื่อป้องกันความบกพร่อง หรือความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น) การเขียนเอกสารอ้างอิงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

        1.1 ลำดับเหตุการณ์ก่อน หลัง ถ้าเป็นเรื่องของสถานศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนต้องกล่าวถึงหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสมอ (ส่วน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องมีมาก่อนหลักสูตร ไม่ต้องกล่าวถึงก็ได้)

        1.2 ความทันสมัยของเอกสาร ไม่ควรเป็นเอกสารที่ผลิตมานานเกินไป เว้นแต่เอกสารที่มีคุณค่า มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

        1.3 ในหัวข้อนี้ต้องอ้างอิงข้อความที่นำมาใช้ให้ถูกหลักเหตุและผล (เช่นอ้างหลายหน้าแต่เอามาน้อยหน้าเสมือนสรุปมาก็ได้ แต่อ้างจำนวนน้อยหน้าเมื่อเอามาจริงมากหน้ากว่าที่อ้างเท่ากับเขียนงานโกหก)

        1.4 การอ้างอิงเอกสารตำราต้องอ้างอิงชื่อผู้แต่ง หรือถาบันแห่งนั้น ไม่ใช่อ้างชื่ออิงเอกสาร ตำรา หากนำข้อความจากงานวิจัยของคนอื่น ก็ไม่ใช่อ้างอิงชื่อผู้วิจัย ต้องอ้างอิงเจ้าของข้อความจึงต้องอ้างอิงต่อให้ถึงผู้เป็นเจ้าของเอกสาร ตำรา (ผลงานของผู้วิจัยอยู่เฉพาะในบทที่ 4 คือรายงานวิจัยเท่านั้น)

  1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ งานวิจัย (รวมถึงการค้นคว้าอิสระ = Independent Stydy หรือวิทยานิพนธ์ =Thesis หรือ ดุษฎีนิพนธ์ = Dissertation) ที่มีคนทําไว้แล้ว และมีส่วนเกี่ยวพันธ์หรือเกี่ยวข้อง กับงานวิจัยที่กําลังจะทํา สามารถนํามาอ้างอิงได้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้จะทําวิจัยเป็นผู้ใฝ่รู้ เป็นผู้ที่ รู้กว้าง ทําให้รู้ว่ามีคนทําวิจัยไว้และผลเป็นอย่างไร จะสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับงานวิจัยของเรา หรือไม่ ช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทําการวิจัยให้เกิดความกระจ่างในสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น

หมายเหตุ

  1. การค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องค้นคว้ามาก่อน และจะเขียนอยู่ในเค้าโครงวิจัย 3 บท (Proposal)
  2. การค้นคว้าต้องเขียนบรรณนุกรมอ้างอิงให้ถูกหลักไปพร้อมกัน จะได้ไม่เป็นภาระการค้นเอกสารอ้างอิภายหลัง
  3. การค้นคว้าเอกสารและงนวิจัยต้องเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังจะทำโดยเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะทำวิจัย (หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับตัวแปรหรือกลุ่มตัวอย่าง) ถ้าหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ได้ ก็ต้องคันคว้าทฤษฎี หรือหลักการของเรื่องที่จะทำวิจัยมาอ้างอิงแทน
  4. ควรหาวิธีเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจจะเรียงตามเหตุการณ์หรือเวลาก็ได้สรุปการเขียนบทที่ 2 เอกสารและงานวิจับที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยต้องค้นคว้าองค์ความรู้จากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ไม่ใช่ลอกมาจากบทที่ 2 ในงานวิจัยของคนอื่น บ่อยครั้งที่พบว่าเป็นการอ้างอิงผิดเพี้ยนจากข้อความจริงในเอกสาร ตำรา ที่เป็นต้นฉบับ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของเอกสาร ตำรา อย่างเลี่ยงไม่ได้

 

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ยกข้อความประชากร และกลุ่มตัวอย่างจากบทที่ มาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีหลักดังนี้

        1.1 ถ้างานวิจัยครั้งนี้เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non Probability) ข้อความจะเหมือนกับข้อความในบทที่ 1 โดยนิยมใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)

        1.2 ถ้างานวิจัยครั้งนี้เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability) จะเรียกว่า การสุ่ม (Random) การเขียนเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง จะเพิ่มขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 ขั้น ได้แก่

        ขั้นที่ 1 เป็นการกำหนด ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ไม่ได้ขึ้นกับวิธีการเลือกหรือวิธีสุ่ม) นิยมอ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง จาก 3 แบบ (ใช้ตารางสำเร็จรูป หรือใช้เกณฑ์ หรือใช้สูตร)

        ขั้นที่ 2 เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบใดแบบหนึ่ง (มักจะสุ่มแบบแบ่งชั้น หรือแบบแบ่งกลุ่ม หรือแบบหลายขั้นตอน มักจะไม่ใช้การสุ่มแบบอย่างง่าย หรือการสุ่มแบบเป็นระบบ แต่รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนของการสุ่มที่อ้างถึงจะเป็นการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling เช่น ขั้นที่ 2.1 ใช้อำเภอในจังหวัด ก. เป็นหน่วยการสุ่ม ทำการสุ่มอย่างง่าย มา 40% พบว่าได้ 4 อำเภอ ประกอบด้วย โรงเรียน 164 โรง เป็นต้น)

        เมื่อแสดงขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างครบทั้ง 2 ขั้นแล้ว มักจะแสดงรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง ในรูปของตาราง

  1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมักจะเป็นแผนการสอน แบบทดสอบแบบสอบถาม แบบวัด การสัมภาษณ์ หรือการสังเกต (การประเมินไม่ใช่เครื่องมือในการเก็บข้อมูล

        เพราะการประเมิน คือ การตัดสินสิ่งที่ได้จากการวัดผล) การกล่าวถึงเครื่องมือชนิดใดๆ ควรระบุรายละเอียดให้มากพอสมควร อ่านแล้วเข้าใจลักษณะของเครื่องมือชนิดนั้น ๆ

  1. การสร้างและตรวจสอบเครื่องมือการทำวิจัยมีชั้นตอนสำคัญมากตอนหนึ่งก็คือ เครื่องมือที่ใช้เก็บช้อมูล ต้องมีคุณภาพมิฉะนั้น ข้อมูลที่ได้ก็เละเทะ (เปรียบได้กับขยะ)ขั้นต่อมานำข้อมูลมาวิเคราะห์และเสนอผลการวิจัยก็กลายเป็นผลงานที่ขาดความน่าเชื่อถือ หรือเป็นบาปต่อผู้ที่เอาผลงานไปใช้ เพราะเป็นผลงานเท็จดังนั้น เพื่อป้องกันไมให้เครื่องมือขาดคุณภาพจึงมีการตรวจสอบ ตามขั้นตอนดังนี้

        3.1 สร้างเครื่องมือขึ้นจำนวนหนึ่ง (โดยมีจำนวนมากกว่าที่ต้องการใช้จริง 20% -50%)

        3.2 หาความเที่ยงตรงทั้งฉบับ (Validity) โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 คนให้ช่วยพิจารณารายละเอียดของเครื่องมือทุกชนิดที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยจำนวนข้อของเครื่องมือแต่ละชนิดที่ผ่านเกณฑ์ต้องมากกว่าที่จะใช้จริง (สร้างเผื่อไว้ 20%-50% ผ่านเกณฑ์อาจจะเหลือมากกว่า 20 % แต่น้อยกว่า 50% ก็ได้)

        3.3 หาความยากรายข้อ (สำหรับแบบทดสอบ) และอำนาจจำแนกรายข้อ โดยการทดลองใช้เครื่องมือ (Try out) กับกลุ่มบุคคลที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วคัดเลือกจำนวนข้อที่ผ่านเกณฑ์ให้ได้พอดีกับจำนวนที่ต้องการใช้จริง

        3.4 นำจำนวนข้อของเครื่องมือแต่ละชนิดที่จะใช้จริงซึ่งคัดเลือกไว้แล้ว ไปหาความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability)

        3.5 พิมพ์เครื่องมือเป็นฉบับจริง

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลระบุวันเวลา ว่าเก็บข้อมูลเมื่อไร อย่างไร
  2. การวิเคราะห์ข้อมูลระบุลำดับขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลว่าจะทำอย่างไร
  3. สถิติที่ใช้โดยทั่วไปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะมี 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ 1 สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือ เช่น สูตรการหาค่ความเที่ยงตรงทั้งฉบับ สูตรการหาค่าความยากรายข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับกลุ่มที่ 2 สถิติพื้นฐาน มักจะได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (SD)

        กลุ่มที่ 3 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน (ถ้ามี)

        ส่วนการหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E,) ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E.)และดัชนีประสิทธิผล (E.I) ไมใช่เรื่องของสถิติ แต่เป็นการใช้สูตรหาค่ E,/E./ E.I. โดยนิยมที่จะเรียงไว้หลังสถิติทั้ง 3 กลุ่ม

สรุปการเขียนบทที่ 3

        วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นส่วนที่บรรยายถึงขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำการวิจัยจริง จึงต้องเขียนให้ผู้อ่านเห็นภาพพจน์ว่า ผู้วิจัยดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนอย่างไร ในทุกหัวข้อเรื่องของบทที่ 3

 

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

        แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

        ส่วนที่ 1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

        ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือจะแบ่งเป็นกี่ตอน จัดลำดับอย่างไร

        ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ มักจะเสนอในรูปของตาราง

หมายเหตุ ชื่อหัวข้อบทที่ 4 ควรตั้งชื่อว่า ผลการวิจัย เพราะบทที่ 4 กำหนดชื่อว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูล จะซ้ำกับหัวข้อย่อยที่ 3 คือผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ทำไมชื่อหัวข้อใหญ่กับชื่อหัวข้อย่อยซ้ำกัน ต่างกับบทอื่น ๆ ที่ชื่อไม่ซ้ำกัน)

        สรุปการเขียนบทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

        ต้องจัดลำดับผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของการวิจัยเสมอว่า ตอบจุดมุ่งหมายได้ทุกข้อหรือทุกส่วนหรือไม่

 

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

  1. เป็นการกล่าวถึงจุดมุ่งหมาย(หรือหัวข้ออื่น ๆ ด้วย และสรุปผลการวิจัย ซึ่งย่นย่อมาจากบทที่ 4 (หากจะอ่านผลงานวิจัยที่สั้นกว่านี้ก็คืออ่านในบทคัดย่อ)
  2. สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในบทนี้ก็คือ การอภิปรายผล ซึ่งผู้วิจัยต้องแสดงความสามารถในการวิจารณ์ ถึงเหตุและผลของการวิจัยที่ค้นพบ ว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร หรือทำไมจึงได้ผล เช่นนั้น ในทางวัดผล ถือเป็นพฤติกรรมขั้นสังเคราะห์ความสัมพันธ์ คือทำการวิพากย์ วิจารณ์ ถึงผลที่ได้จากการวิจัย ส่วนที่จะสอดคล้องกับผลการวิจัยของใครที่ทำมาก่อนหน้านี้ก็เอามาเขียนทีหลัง ซึ่งไม่สำคัญเท่ากับ การสังเคราะห์ความสัมพันธ์
  3. ข้อเสนอแนะให้กับผู้ที่จะทำวิจัย หรือการนำผลงานวิจัยไปใช้ ต้องเสนอแนะตาม ผลที่เกิดจากผลของการวิจัยเท่านั้น

        สรุปการเขียนบทที่ 5 อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

        ในบทนี้เป็นการย่อความในส่วนที่เป็นผลของการวิจัย ที่มาจากบทที่ 4 และที่สำคัญมากก็คือ วิธีการอภิปรายผล เพราะเป็นการแสดงความสามารถในการสังเคราะห์งานของผู้วิจัย

กล่าวโดยสรุป

  1. หากต้องการทราบประเด็นสำคัญของการทำวิจัยทุกขั้นตอนที่สั้นที่สุดก็คือ อ่านบทคัดย่อ หากต้องการทราบผลการวิจัยโดยสรุปสั้น ๆ ก็อ่านบทที่ 5 หากต้องการทราบผลการวิจัยทั้งหมดก็อ่านบทที่ 4 หากต้องการทราบบริบทของการทำวิจัยว่าประกอบด้วยอะไรบ้างก็อ่านบทที่1 และหากต้องการทราบความรู้เบื้องต้นที่จะมาสนับสนุนงานวิจัยก็อ่าน บทที่ 2 (เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) และหากต้องการทราบวิธีการดำเนินการวิจัยก็อ่านบทที่ 3
  2. จากที่กล่าวมาทั้ง 5 บท ก็เพื่อให้ผู้ที่จะทำวิจัยได้ทราบถึง Concept (ความคิดรวบยอด) ของแต่ละบทว่า จะกล่าวถึงอะไรบ้าง และกล่าวเพื่ออะไร หรือประเด็นสำคัญของแต่ละบทคืออะไร มิฉะนั้นผู้วิจัยจะเขียนแต่ละบทอย่างลอย ๆ ไร้จุดหมายก็จะกลายเป็นงานวิจัยที่ขาดคุณภาพ
เนื้อหาโดย: ฅนเล่าเรื่อง
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ฅนเล่าเรื่อง's profile


โพสท์โดย: ฅนเล่าเรื่อง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รอยแยก "ลานหินแตก" ผาแต้ม – มหัศจรรย์ธรรมชาติแห่งอุบลราชธานีตลาดควนเนียง ราวปี 2479: หาบปุ๋ยมูลค้างคาวไปบำรุงนาข้าว อ.รัตภูมิ จ.สงขลา6 สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ รู้ก่อน ป้องกันได้ดราม่าทัวร์ลง ‘เซฟ กระทะฮ้าง’ โวยผ่อนไม่ได้เพราะติดเครดิตบูโร ชาวเน็ตสวนแรงทึ่งทั่วไทย : คูเมืองเชียงใหม่ หนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเมืองเชียงใหม่"กัน นภัทร" น้ำตาคลอ..อดีตคนรักเซอร์ไพรส์ในรายการ "ร้องข้ามกำแพง"ฟินหนักมาก! ลำไย ไหทองคำ ไลฟ์คู่บอส เคมีหวานจนแฟนๆ แซวสนั่นกระทิกล่องดื่มสดๆ ได้ไหม มีผลดีหรือเสียต่อสุขภาพ วันนี้ดิฉันจะมาสรุปให้ฟังการทอดปลาไม่ให้ติดกระทะ"รอยเลื่อน ในไทย" ที่อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต"เชฟกระทะฮ้าง" เดือด! ผ่อนมือถือไม่ได้ ติดเครดิตบูโร ลั่น! ชี้นิ้วถึงผู้บริหารบริษัทมือถือ?สิงคโปร์ส่งทีมแพทย์ ไปช่วยพม่า 34 คน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อื้อหือ...เห็นแล้วต้องบอกว่าสุดจัดๆ กับปลากัดที่อาจจะมีได้เพียงแค่ 1 ในล้าน "ปลากัดสองหาง"แคนาดาเผยมาตรการตอบโต้อเมริกาแล้ว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เห็ดสีฟ้าสายพันธุ์ใหม่ หนึ่งในเห็ดที่เล็กที่สุดในโลก“ย้อนกาลเวลา 68 ปีก่อน… กลุ่มชายหนุ่มบนหลังช้างหน้าสนามที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มdifficulty: ความยากลำบาก อุปสรรค5 ปัญหาที่คนทำธุรกิจยุคใหม่ต้องเจอ
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง