เลือกแบบหลังคาบ้านอย่างไรให้ตรงกับสไตล์บ้านในฝัน
หลังคาบ้านเป็นโครงสร้างหลัก รวมถึงเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อบ้าน ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของเจ้าของที่พักอาศัย ตามแต่ลักษณ์รูปทรงในการตกแต่ง รวมถึงยังช่วยรองรับกับสภาพอากาศที่แปรปรวนในแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากแสงแดด ลมฝน
ดังนั้นการเลือกแบบหลังคาบ้านที่เหมาะสมตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ที่ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงทนทาน ความปลอดภัย พร้อมกับคุณภาพของหลังคาที่เลือกใช้งาน จึงต้องรู้ถึงแบบของหลังคาว่าสไตล์ไหนที่เหมาะกับเจ้าของบ้านมากที่สุดนั้นเอง
ประเภทของแบบหลังคาบ้าน มีแบบไหนบ้าง?
1.แบบหลังคาทรงจั่ว (Gable Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านรูปทรงที่เรียบง่าย โดยที่ผืนหลังคาทั้งด้านซ้าย ทั้งด้านขวาเอียงขึ้นมาบรรจบกันที่สันบนสุดตรงกลาง ในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั้งแบบที่มีชายคายื่นยาว จะช่วยในเรื่องการกันแดด รวมทั้งแบบไม่มีชายคาช่วยให้ดูเรียบหรูสไตล์โมเดิร์น โดยสามารถเลือกใช้คู่กับแบบระแนง/กันสาดตามจุดที่แดดส่อง ฝนสาด เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศของบ้านเรา
ข้อดี : กันแดด กันฝนได้ดี ก่อสร้างง่าย รวมถึงสามารถเพิ่มการเจาะช่องระบายอากาศตรงบริเวณหน้าจั่วเพิ่มด้วย จะสามารถช่วยระบายความร้อนให้กับโถงหลังคาได้
ข้อเสีย : เมื่อถึงช่วงฤดูฝนอาจจะมีโอกาสที่ฝนจะสาดเข้ามาบริเวณหน้าจั่วได้
2.แบบหลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านอีกทรงที่ดูเรียบ มีลักษณะเป็นผืนหลังคาทั้งสี่ด้านลาดเอียงหันพิงเข้าหากันจรดหลังคา สามารถออกแบบให้มีระยะชายยาวเล็กน้อย /ยื่นยาวได้ เพื่อให้เข้ากับการออกแบบบ้านทุกสไตล์
ข้อดี : สามารถกันแดด กันฝน หลังคาแข็งแรงมั่นคง ปะทะแรงลมได้ดี
ข้อเสีย : เนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อมากกว่าแบบหลังคาบ้านทรงอื่นๆ จึงอาจจะมีจุดรั่วซึม อากาศไม่ถ่ายเท
3.แบบหลังคาทรงโดม (Dome Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านที่มีลักษณะโค้งมน สามารถใช้วัสดุในการขึ้นรูปไม่ว่าจะเป็น คอนกรีตเสริมใยแก้ว (GRC) รวมทั้งวัสดุในการตกแต่ง อย่างประเภทกระเบื้องโมเสค แผ่นโลหะ โดยจะขึ้นอยู่กับการออกแบบสไตล์บ้านนั้นเอง
ข้อดี : แบบบ้านทรงโดมนี้จะช่วยเน้นในเรื่องความหรูหรา เพิ่มความน่าดึงดูดภาพรวมของบ้านได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย : ควรระวังการรั่วซึมในช่วงรอยต่อระหว่างวัสดุสำเร็จของตัวโดมกับโครงสร้างที่รองรับ
4.แบบหลังคาทรงโค้งกลม (Curved Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านที่มีลักษณะโค้งมนน่าดึงดูดจากในระยะไกล เป็นเอกลักษณ์ให้กับตัวบ้าน โดยใช้หลังคาโครงสร้างเปลือกบาง พร้อมกับใช้วัสดุมุงหลังคาประเภทเมทัลชีท ,อลูมิเนียมขึ้นรูป โลหะรีดลอนที่รองรับการโค้งงอ รวมไปจนถึงแผ่นทองแดงที่สามารถดัดโค้งได้ โดยนิยายออกแบบชายคาบ้านทั้งแบบสั้น /ยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ต้องการ
ข้อดี : สามารถเลือกวัสดุได้หลากหลายแบบ หลากหลานรูปทรง ตามความต้องการ
ข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายในการทำค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องออกแบบโครงสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรงนั้นเอง
5.แบบหลังคาทรงเรียบแบน (Flat Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านทรงเรียบตรงหากมองจากภายนอกเหมาะกับการออกแบบเรียบง่ายโมเดิร์น ซึ่งหลังคาทรงนี้จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
- หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Flat Slab Roof) หลังคาดาดฟ้าที่เกิดจากการหล่อคอนกรีตเป็นพื้นเรียบ
- หลังคาแบบ Parapet เป็นหลังคาที่มีผนังล้อม ปิดปังหลังคาที่มุง(หลังคาซ้อน) /พื้นที่ดาดฟ้าที่มีผนังกันตกโดยรอบขอบของอาคารนั้นเอง
ข้อดี : สามารถออกแบบมาเพื่อเป็นที่พักผ่อนที่ช่วยลดความร้อนของแสงแดดไม่ให้ตกกระทบพื้นคอนกรีตโดยตรง
ข้อเสีย : เนื่องจากคอนกรีตดูดซับความร้อน ทำให้ตัวบ้านร้อน รวมถึงหากมีรอยร้าวอาจทำให้น้ำฝนซึมจนรั่วซึมเข้าสู่ที่พับในอนาคตได้ พร้อมทั้งควรคำนวณระบบกันน้ำซึมที่มีประสิทธิภาพ ปรับระดับพื้นให้มีความลาดเอียงตรงสู่ทางระบายน้ำ
6.แบบหลังคาทรงมะนิลา (Dutch Gable Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านที่เอารูปแบบของหลังคาทรงจั่ว ร่วมกับทรงปั้นหยาผสมผสานกัน เพื่อให้มีชายคายื่นยาวกันแดดกันฝนได้ทุกทิศทาง ซึ่งแบบหลังคาบ้านทรงนี้จะเข้ากับบ้านสไตล์ไทยประยุกต์ และสไตล์โคโลเนียล เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับตะวันตกได้ลงตัวนั้นเอง
ข้อดี : สามารถกันแดดกันฝน พร้อมทั้งระบายอากาศช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้านให้เย็นสบายลง
7.แบบหลังคาทรงเพิงหมาแหงน (Lean-to Roof)
: จะเป็นแบบหลังคาบ้านแบบเรียบลาดเอียงในด้านเดียว ซึ่งในช่วงก่อนนิยมทำแบบที่มีชายคาที่ช่วยบังแดดบังฝนเป็นการก่อสร้างชั่วคราว แต่ในปัจจุบันแบบหลังคาบ้านทรงนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมากที่ช่วยให้แบบบ้านเรียบง่ายดูทันสมัยยิ่งขึ้น
ข้อดี : แบบผืนหลังคาไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งมีรอยต่อเพียงเล็กน้อย ช่วยเพิ่มความเร็วในการก่อสร้างโครงหลังคาบ้าน ประหยัดเวลาและค่าแรง
ข้อเสีย : สามารถกันแดดกันฝนได้เพียงด้านเดียวในฝั่งที่ลาดเอียงลงมา
วิธีเลือกแบบหลังคาบ้านให้โดนใจได้ประสิทธิภาพ
การเลือกแบบหลังคาบ้านที่เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถพิจารณาได้ดังนี้
- การสำรวจความต้องการในการเลือกแบบหลังคาบ้านที่ต้องการ พร้อมกับวางแผนโดยคำนวณสภาพความแข็งแรงของโครงสร้างของที่พัก สไตล์การออกแบบบ้านให้โดนใจผู้ใช้งานจริง
- การเลือกช่างทำหลังคาหรือช่างซ่อมหลังคาที่มากประสบการณ์ มีฝีมือในการเชี่ยวชาญในการสร้างบ้านใหม่ที่สามารถให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการแก้ไขจุดที่ติดปัญหาพร้อมทั้งมีบริการในการดูแลหลังจากก่อสร้างหรือติดตั้งหลังคาอีกด้วย
- ศึกษาแบบหลังคาบ้านให้ละเอียด รู้จุดรั่วซึม โดยตรวจสอบจากแบบของโครงสร้างบ้าน ก่อนการติดตั้งหลังคา เพื่อรู้จุดรอยต่อ องศาของหลังคา รวมถึงอุดรอยรั่วที่อาจเกินขึ้นได้ในอนาคต
- การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะกับโครงสร้างแบบหลังคาบ้าน ทั้งขนาด สี เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างสมจริง
- การวางแผนงบประมาณไม่ให้บานปลายกว่าที่ตั้งไว้ พร้อมทั้งการใช้บริการช่างที่ได้มาตรฐาน ใส่ใจในรายละเอียดของงาน พร้อมแนะนำจุดเสี่ยงที่ต้องควรระวัง และมีการส่งมอบใบรับประกันการติดตั้งตามที่ได้ตกลงกันไว้
วัสดุที่ใช้มุงหลังคามีอะไรบ้าง ใช้ได้ดีแค่ไหนกันนะ
การเลือกวัสดุในการมุงหลังคาจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญในการออกแบบหลังคาบ้าน เพิ่มความแข็งแรงคงทนต่ออายุการใช้งานก็เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบการตัดสินใจที่ขาดไม่ได้เช่นกัน วัสดุที่ใช้มุงหลังคามีด้วยกันดังต่อไปนี้
1.กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ : เป็นวัสดุมุงหลังคาที่พัฒนาจากกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน จึงเป็นแผ่นกระเบื้องบาง มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นตัวได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยในการระบายความร้อนไม่ก่อให้เกิดสารพิษ
2.กระเบื้องคอนกรีต หรือกระเบื้องซีเมนต์ : เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมาก จึงต้องมีโครงสร้างของหลังคาที่มีความแข็งแรงทนทานรับน้ำหนักกระเบื้องได้ดี ซึ่งเหมาะสำหรับแบบหลังคาบ้านบ้านสไตล์ทรงไทยประยุกต์ โมเดิร์น คอนเทมโพรารี แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- กระเบื้องสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เหมาะกับการมุงหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 40 ถึง 45 องศา
- กระเบื้องโมเนียร์ เหมาะกับการมุงหลังที่มีความชันตั้งแต่ 17 องศา
3.กระเบื้องดินเผา : มักเคลือบด้วยผิวกึ่งด้านทำให้มองเห็นสีสันของดินเผาตามธรรมชาติ ลดการสะสมของฝุ่น ช่วยชะล้างความสกปรกด้วยน้ำฝน ทำให้แข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องคอนกรีตอีกด้วย ซึ่งมีลักษณะลอยโค้งสูง ระบายความร้อนได้ดี แต่อาจจะมีการรั่วซึมได้ง่าย
4.กระเบื้องหลังคาเซลามิก : เป็นการทำกระเบื้องที่นำดินชนิดพิเศษมาอัดขึ้นรูป เคลือบสีพร้อมกับเผาด้วยความร้อนสูง จึงมีให้เลือกทั้งแบบผิวมันเงา และกึ่งเงา มีจุดเด่นคือการระบายความร้อนดี น้ำหนักเบา ช่วยลดการใช้จ่ายได้ ซึ่งเหมาะกับแบบหลังคาบ้านสไตล์คลาสสิก
5.กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน : เป็นกระเบื้องซีเมนต์ หรือกระเบื้องเอสเบสทอสซีเมนต์ มีลักษณะเป็นกระเบื้องลอนเล็ก /ลอนใหญ่ ประกอบไปด้วยใยหินสำลี , ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และน้ำ แล้วจึงมาหล่อให้ขึ้นรูปเป็นลอนนั้นเอง มีจุดเด่นเป็นฉนวนป้องกันความร้อน ป้องกันไฟ เหมาะกับการมุงหลังคาตั้งแต่ 10 องศา ซึ่งเป็นราคาจับต้องได้
6.เมทัลชีท : เป็นวัสดุที่พัฒนามาจากสังกะสี แข็งแรงทนทาน ช่วยลดการกัดกร่อน ป้องกันสนิม นิยมในภาคอุตสากรรมเพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย และสามารถใช้กับแบบหลังคาบ้านสไตล์โมเดิร์นได้อีกด้วย แต่เนื่องด้วยยสภาพอากาศในประเทศไทยทีร้อนการใช้เมทัลชีท จึงต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนอีกชั้นหนึ่งเพื่อเป็นตัวช่วยยบรรเทาความร้อนภายฝนอาคารนั้นเอง
สรุปแบบหลังคาบ้าน
การเลือกแบบหลังคาบ้านให้ตรงใจ ตรงกับสไตล์บ้านในฝัน พร้อมทั้งมีประสิทธิภาพที่ใช้งานได้จริง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ ท่านควรเลือกช่างทำหลังคาที่สามารถให้คำแนะนำถึงดีจุดเด่นที่ไม่ควรมองข้ามในทุกๆด้านนั้นเอง