ท้าวแจ็คนักขับเคลื่อนการเมืองลาวยังไม่ตาย ปล่อยข่าวลวงป้องกันมือปืนมาเก็บซ้ำ
ถือเป็นเรื่องน่ายินดี เมื่อท้าวแจ็คยังมีชีวิตอยู่ หลังจากก่อนหน้าให้ข่าวว่าเสียชีวิตไปแล้วจนเป็นที่มาของแท็ก #ແຈັກຕ້ອງບໍ່ຕາຍຟຣີ
ที่ทางครอบครัวให้ข่าวว่าแจ็คเสียชีวิตไว้ก่อนหน้านี้ ก็เพื่อให้ฝั่งมือปืนเข้าใจว่าแจ็คเสียแล้ว
แต่ปัจจุบันทางตำรวจรู้แล้ว ปิดข่าวไม่ได้แล้ว
ขอให้ทุกคนช่วยกันจับตาดูอย่างใกล้ชิด และหวังว่าจะมีการสืบสวนอย่างโปร่งใส
ทุกคนหวังว่าแจ็คจะยังคงปลอดภัย
"แจ็ค" เป็นเยาวชนชาวลาวที่ทำเพจ "ຂັບເຄື່ອນດ້ວຍຄີບອດ" (ขับเคลื่อนด้วยคีย์บอร์ด) และ "ສທລ • Sathalanalat" (สทล - สาธารณรัฐ) โดยเป็นเพจวิพากษ์วิจารณ์สังคม-การเมืองลาว เช่น ประเด็นสิทธิของนักเรียน สิทธิในสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ สิทธิ LGBTI
เมื่อวันที่ 29 เม.ย ที่ผ่านมา แจ็คถูกคนร้ายยิงสองนัด ขณะที่กำลังนั่งอยู่ร้านกาแฟในเมืองจันทะบูลี แขวงเวียงจันทน์ สองวันต่อมา แจ็คเสียชีวิตลงที่โรงพยาบาล
สื่อหลายแห่งได้เผยแพร่ Footage ที่คนร้ายยิงแจ็ค แต่ถึงตอนนี้ ทางการก็ยังไม่สามารถชี้ตัวคนผิดได้ ประเทศลาวมีประวัติในการกดขี่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมายาวนาน โดยการรณรงค์ด้านสิทธิถือเป็นเรื่องเสี่ยงมาก
กรณีตัวอย่างเช่น สมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมของลาว ถูกบังคับสูญหายไป โดยไม่มีใครรู้ชะตากรรม หลังจากถูกตำรวจหยุดตรวจรถบนถนนในเวียงจันทน์เมื่อ 10 ปีก่อน อีกหนึ่งตัวอย่างคือ กรณีของอ๊อด ไชยะวง นักกิจกรรมซึ่งได้หายตัวไปจากบ้านที่กรุงเทพฯ โดยในเดือนกันยายน 2565 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติชี้ว่า การหายตัวไปของอ๊อด อาจเป็นการตอบโต้เอาคืนจากการที่เขาให้ความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ทั้งนี้ การสังหาร "แจ็ค" สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนลาว เพื่อนของแจ็คบอกแอมเนสตี้ว่า “ผมสะเทือนใจอย่างมากกับการเสียชีวิตครั้งนี้ และก็กลัวมากว่า อาจจะเกิดอะไรขึ้นกับผมด้วย” แถมเพิ่มเติมว่า บอกว่า เขาไม่ได้ไปเยี่ยมแจ็คที่โรงพยาบาลเพราะกลัวจะตกเป็นเป้าสอดแนมของทางการ
ข้อเรียกร้องของ amnesty คือ:
1. ทางการลาวต้องดำเนินการสอบสวนอย่างรวดเร็ว ครบถ้วนรอบด้าน เป็นอิสระ และเป็นกลาง ต่อเหตุการณ์การสังหารครั้งนี้
2. ประชาคมนานาชาติ และหน่วยงานของสหประชาชาติ ต้องเรียกร้องให้ทางการลาวรับประกันให้มีการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน