การก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนใต้ดิน-กว่าจะมีวันนี้!!!
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรือ MRTA ถ่ายทอดประสบการณ์การขุดเจะอุโมงค์
การก่อสร้างอุโมงค์
การก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินจะใช้เครื่องขุดเจาะอุโมงค์แบบแรงดันดินสมดุลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก 6.43 เมตร ความยาว 8.35 เมตร น้ำหนักรวม 320 ตันต่อหัว โดยมีสมรรถนะในการขุดเฉลี่ยวันละ 10 เมตรต่อหัว พร้อมติดตั้งชิ้นส่วนผนังอุโมงค์ที่เป็นคอนกรีต 30 เซนติเมตร ประกอบเป็นผนังอุโมงค์ ซึ่งจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ใช้เครื่องขุดเจาะอุโมงค์ทั้งสิ้น 8 ชุด
วิธีการขุดเจาะจะให้หัวเจาะหมุนกัดดินไปข้างหน้าในแนวราบตามทิศทางที่กำหนดไว้ โดยจะมีระบบลำเลียงดินออกมาทางด้านหลังของเครื่องเจาะ แล้วใช้ระบบสายพานลำเลียงหรือการปั๊มดินออกไปเมื่อหัวเจาะเคลื่อนที่ไปได้ระยะหนึ่ง ก็จะมีการติดตั้งแผ่นคอนกรีตผนังอุโมงค์สำเร็จรูปเพื่อค้ำยันไม่ให้ดินโดยรอบหัวเจาะพังทลาย หลังจากนั้นก็จะมีการอัดฉีดน้ำปูนเพื่ออุดรอยทั้งหมด และเพื่อกันไม่ให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาในอุโมงค์
อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จะเป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยวระยะทางของการขุดเจาะ รวมทั้งสิ้น 33,018 เมตร โดยเริ่มขุดเจาะเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และเจาะอุโมงค์ทะลุตลอดเส้นทางโครงการ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ภายในอุโมงค์นอกจากจะมีการติดตั้งรางวิ่งและรางจ่ายกระแสไฟแล้ว ยังมีทางเดินฉุกเฉินในอุโมงค์ และมีการติดตั้งระบบต่างๆ เช่น ระบบหัวจ่ายน้ำดับเพลิงในอุโมงค์ทุกระยะ 500 เมตร ระบบระบายอากาศในอุโมงค์ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร เป็นต้น
ภายในอุโมงค์นอกจากจะมีการติดตั้งรางวิ่งและรางจ่ายกระแสไฟแล้ว ยังมีทางเดินฉุกเฉินในอุโมงค์ และมีการติดตั้งระบบต่างๆ เช่น ระบบหัวจ่ายน้ำดับเพลิงในอุโมงค์ทุกระยะ 50 เมตร ระบบระบายอากาศในอุโมงค์ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร เป็นต้น
อุโมงค์เป็นลักษณะคู่วางตามแนวราบ และซ้อนตามแนวดิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.7 เมตร ผนังอุโมงค์หนา 0.30 เมตร ความลึกของอุโมงค์ประมาณ 15 - 25 เมตร ทางเดินฉุกเฉิน กว้าง 0.6 เมตร