วันว่างเดือนห้า
การทำบุญเดือนห้า
การทำบุญเดือนห้าหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันว่างบัว ประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้านหมู่บ้านสามกอง วันว่างบัวเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ป่าช้าศาลาทวดชีเพื่ออุทิศบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากเป็นงานบุญแล้วยังเป็นวันรวมญาติที่ทุกคนในครอบต้องกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันก่อนที่จะแยกกลับไปทำงานทำหน้าที่ของตัวเอง หมู่บ้านสามกองเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆในตำบลเกาะแต้วอยู่แถบชานเมืองในจังหวัดสงขลา ลักษณะการตั้งอยู่ของบ้านเรือนค่อนข้างแออัดคล้ายมีบางช่วงบางตอนของหมู่บ้านที่บ้านเรือนตั้งอยู่ห่างกัน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม การทำเกษตรส่วนใหญ่เป็นอาชีพของคนเก่า ส่วนคนรุ่นใหม่จะไม่ทำอาชีพ ส่วนใหญ่ทำอาชีพรับจ้าง ลูกจ้างในหน่วยงานราชการ และรับราชการปะปนกันไปตามสถานภาพของครอบครัว ชาวบ้านใช้ชีวิตเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติที่เสื่อมโทรมไปกาลเวลาด้วยฝีมือของมนุษย์
ศาลาทวดชีเป็นชื่อเรียกป่าช้าสถานที่สำหรับการเผาศพของชาวบ้านในหมู่บ้านสามกองและหมู่บ้านใกล้เคียง สถานที่แห่งนี้มีมาตั้งแต่อดีต พื้นที่โดยรอบในอดีตตรงนี้ล้อมรอบไปด้วยป่ารกทึบแต่ในปัจจุปันถูกแปรสภาพเป็นสถานที่ก่อสร้างสำหรับใช้ในการจัดงานงานศพและงานบุญประจำปี ในอดีตศาลาทวดขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยนของผี ในยามคำคืนจะไม่มีใครกล้าเข้ามาในบริเวณนี้แต่ในปัจจุปันเส้นทางสายนี้เป็นถนนสายหลักเข้าไปในหมู่บ้าน คนไม่กลัวผี ผีต่างหากละที่ต้องกลัวคนมืดค่ำสักเพียงใดยังมีรถขับผ่านถนนสายนี้ กลางคืนไม่เคยเงียบสงบ เรื่องเล่าตำนานผีเฮี้ยนค่อย ๆ เลือนหายไปตามกาลเวลาเหลือเพียงความทรงจำของคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ไม่ได้สนใจเรื่องเหล่านี้แม้แต่นิดเดียวยังคงใช้ชีวิตตามปกติตามวิถีชีวิตของคนเมือง ผีไม่มีจริง
เทศกาลงานว่างบัวจะถูกจัดขึ้นในวันแรมสองค่ำเดือนห้าของทุกปี ก่อนถึงวันงานชาวบ้านในหมู่บ้านและในละแวกใกล้เคียงจะช่วยกันทำเตรียมสถานที่ทำความสะอาดบริเวณป่าช้าเพื่อใช้ในการจัดงานบุญประจำปีช่วยกันทำความสะอาดบริเวณป่าช้าจนสะอาด ชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะช่วยกันทำความสะอาดบัวใส่กระดูกของบรรพบุรุษของตัวเอง ถ้าหากครอบครัวใดไม่มีบัวใส่กระดูกจะทำการพูนหลุมกระดูกของบรรพบุรุษของตัวเองพร้อมทั้งทำความสะอาดให้เรียบร้อยพร้อมทั้งจัดแจงดอกไม้ธูปเทียนไว้ใช้สำหรับไหว้บรรพบุรุษในวันทำบุญ
( การพูนหลุม หมายถึง การขุดบริเวณหลุมฝังกระดูกขึ้นมากองจนสูง)
ในวันทำบุญชาวบ้านในหมู่บ้านสามกองและบริเวณใกล้เคียงพร้อมใจกันหิ้วปิ่นโตมาที่นี้และช่วยกันจัดสำรับสำหรับพระสงฆ์
ในตอนกลางคืนจะมีการแสดงจากวงดนตรี มโนราห์ หรือ หนังตะลุงขึ้นอยู่กับมติของกรรมการป่าช้าในแต่ละปี ภายในงานจะมีร้านขายของหลากหลายทั้งของกินและของใช้จำนวนมาก วันสนุกของผีที่ชาวบ้านเชื่อว่าจะมีเหล่าดวงวิญญาณมาเดินแวะชมงานปะปนกับคน
เมื่อถึงวันทำบุญชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมอาหารคาวหวานไว้ให้พระภิกษุฉันเพล ในระหว่างรอบางครอบครัวจะนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดบังสกุลที่หลุมหรือบัวของตัวเอง ถ้าหากครอบครัวใดไม่สะดวกจะเขียนชื่อและนามสกุลของคนตายใส่ลงในบาตรรอให้พระสงฆ์มาสวดรวมกัน การสวดแบบนี้ชาวบ้านที่นี้จะเรียกว่า การบังสกุลรวม ส่วนการที่ให้พระสงฆ์สวดแยกต่างหากจะเรียกว่า สวดบังสุกุลแยก ค่าใช้จ่ายสำหรับบังกุลแยกคิดตามจำนวนพระสงฆ์จำนวนเงินที่ถวายถูกกำหนดเอาไว้ ส่วนการบังกุลแยกค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่่กับความศรัทธาของผู้ให้ว่าจะให้เท่าไหร่ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินเอาไว้ ชาวบ้านที่กำลังเงินจะใช้วิธีบังกุลแยกเพราะเชื่อว่าบรรพบุรุษจะได้บุญมากกว่าการบังสกุลรวม
หลังจากพระสงฆ์ฉันเพลเสร็จชาวบ้านจะช่วยกันเก็บสำรับอาหารคาวหวานมาแบ่งกันบางคนนั่งล้อมวงกินข้าว บางคนกลับบ้านแล้วแต่ใครจะสะดวกแบบไหน หลังจากนั้นจะช่วยกันล้างจาน ทำความสะอาดสถานที่จนเสร็จแล้วพากันกลับบ้าน