เมื่อผู้คนในอดีตบังเอิญตายแล้วฟื้น กลัว ถูกฝังทั้งเป็น จึงมีการคิดโลงที่ช่วยเอาชีวิตรอดขึ้นมา
เมื่อผู้คนในอดีตบังเอิญตายแล้วฟื้น กลัว ถูกฝังทั้งเป็น จึงมีการคิดโลงที่ช่วยเอาชีวิตรอดขึ้นมา
ทาโฟโฟเบีย (Taphophobia) คือภาวะความกลัวจากการถูกฝังทั้งเป็น หากย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 19 มีรายงานว่าผู้คนหลายร้อยคนถูกฝังทั้งเป็นโดยบังเอิญ จากการที่คนรอบตัวคิดว่าพวกเขาเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขของผู้รอดชีวิตเท่านั้น และยังมีอีกมากมายที่เราไม่เคยรู้เพราะพวกเขาไม่เคยรอดชีวิตออกมาบอกให้เราได้ทราบ
และนั่นจึงทำให้นักประดิษฐ์ในสมัยนั้นพยายามคิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “Safety Coffin” หรือ “โลงปลอดภัยไว้ก่อน” ที่ช่วยให้ผู้คนที่ถูกฝังทั้งเป็นมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น โลงเหล่านี้มีความน่าสนใจและได้รับการจดสิทธิบัตรเพื่อนำไปสร้างขึ้นมาจริง ๆ แทบทั้งสิ้น
1. โลงที่ช่วยให้คุณปีนออกไปเองได้
โลงดังกล่าวถูกจดสิทธิบัตรในปี 1868 โดยเป็นหนึ่งในการจดสิทธิบัตรโลงศพที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา แนวคิดของโลงนี้คือคุณจะถูกฝังอยู่ในโลงที่มีรูระบายอากาศ จากนั้นหากคุณดึงคันโยกก็จะสามารถเปิดช่องเล็ก ๆ และปีนออกมาเองได้ แต่หากคุณไม่ตื่นขึ้นมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พวกเขาก็จะฝังคุณ
โดยพื้นฐานแล้ว ผู้คิดค้นโลงนี้เสนอว่า ทางออกที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ถูกฝังทั้งเป็นก็คือการไม่ฝังเลย
2. โลงสั่นกระดิ่ง
โลงที่ถูกจดสิทธิบัตรในปี 1885 อ้างว่าเป็น ‘สัญญาณช่วยชีวิตสำหรับผู้ถูกฝังที่อยู่ในภวังค์” มันไม่ได้ถูกออกแบบแค่ให้คุณแจ้งคนข้างนอกให้ทราบเท่านั้น แต่ยังรักษาตัวคุณให้อยู่รอดข้างในได้อย่างยาวนานอีกด้วย
เริ่มจากการดึงเชือกเพื่อให้อากาศไหลเข้าสู่โลง เพื่อให้คนที่อยู่ข้างในหายใจได้ มีโคมไฟที่ติดตั้งอยู่ภายในโลงเพื่อให้คนภายนอกส่องเข้าไปดูว่าเผื่อว่าคนในโลงยังมีชีวิตอยู่ และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ คุณสามารถส่งสัญญาณว่ายังมีชีวิตอยู่ด้วยการทำให้ขนนกเคลื่อนไหวหรือการสั่นกระดิ่ง
3. โลงท่ออากาศ
โลงที่ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1894 นี้จะการติดตั้งท่อขึ้นไปเหนือพื้นดินเพื่อให้ผู้ถูกฝังหายใจได้จากการดูดท่ออากาศนี้ จากนั้นหากคุณตื่นขึ้นมาก็สามารถส่งสัญญาณด้วยการใช้ศีรษะโขกไปที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณ ซึ่งจะทำให้ธงสีแดงตั้งขึ้น เป็นสัญญาณให้คนภายนอกรู้ว่าคุณยังมีชีวิตอยู่
4. โลงที่ต้องใช้หัวโขก
โลงที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1899 มีช่องหน้าต่างที่เป็นกระจก ที่ทำให้คนอื่นสามารถเห็นคนที่ถูกข้างในโลงได้อย่างชัดเจน และหากแน่ใจแล้วว่าเสียชีวิตแล้วจึงทำการปิดหน้าต่างได้
แต่สมมุติว่าเกิดความผิดพลาด คนที่อยู่ในโลงยังไม่เสียชีวิต คุณสามารถใช้ศีรษะโขกกระจกอุปกรณ์ที่จะทำให้กระจกหน้าต่างแตกออก และส่งเสียงดังเพื่อขอความช่วยเหลือได้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะถูกฝังลงดิน
5. โลงติดเตาเผา
โลงนี้ถูกจดสิทธิบัตรในปี 1899 โดยถูกออกแบบมารองรับทั้งในกรณีที่คุณยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตไปแล้ว หากคุณยังมีชีวิตอยู่ ท่อจากเตาที่ติดอยู่จะส่งอากาศจากภายนอกเข้ามาให้คุณหายใจได้
แต่หากคุณเสียชีวิตไปแล้ว เตาดังกล่าวจะถูกใช้เป็นเตาเผาร่างของคุณเพื่อไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นออกมาภายนอกผ่านท่อระบายอากาศ
6. โลงรหัสมอร์ส
โลงดังกล่าวถูกจดสิทธิบัตรในปี 1904 โดยมีการติดตั้งระบบที่ซับซ้อนผ่านวงจรไฟฟ้าแบบปิด เมื่อผู้ถูกฝังปิดวงจรดังกล่าว ถังเก็บออกซิเจนจะเปิดออก สัญญาณก็จะถูกส่งผ่านสายสัญญาณที่อยู่ข้างนอกและรอการช่วยชีวิต และในทางเทคนิคแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรู้รหัสมอร์สเพื่อเอาชีวิตรอด เพราะหากมีสัญญาณถูกส่งออกไป ก็เป็นที่สงสัยได้ว่าคนในโลกอาจยังมีชีวิตอยู่
7. โลงยุคใหม่
โลงนี้ถูกจดสิทธิบัตรในปี 2014 ที่ผ่านมา โดยอ้างถึงความกังวลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาที่น่าสนใจ
ในบางศาสนาจะต้องทำการฝังร่างผู้เสียชีวิตภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง สิทธิบัตรดังกล่าวจึงอ้างว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีคนถูกฝังทั้งเป็น
สำหรับโลงสมัยใหม่ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน เพราะสิ่งที่คุณต้องทำเพียงแค่การกดปุ่มเท่านั้น
ถ้าดูๆแล้วคนสมัยก่อนนี้ก็เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากๆเลยนะครับ จากความรอบคอบ คิดแม้กระทั่งตายแล้วก็กลัวฟื้นขึ้นมาอีกจะทำยังไงให้ตัวเองมีชีวิตรอด เยี่ยมมากๆเลยนะครับสำหรับความคิดแตกต่างออกไปนำไปสู่วิธีการใหม่ๆหรือความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆครับ
สรุปง่ายๆก็คือว่าคนที่ตายแล้วเกิดฟื้นขึ้นมาแล้วอยู่ในโลงถ้าออกไม่ได้ก็ต้องตายแบบทรมานซ้ำสองเข้าไปอีก ก็เลยคิดหาวิธีทำอย่างไรที่จะทำให้รอดชีวิตได้เมื่ออยู่ในโลงและถูกฝังนี่คือที่มาของวิทยาการการปิดโลงช่วยชีวิตพวกนี้
โลงต่างๆที่คนยุคก่อนคิดประดิษฐ์ขึ้นขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดในขณะที่ถูกฝังทั้งเป็น หรือตายแล้วฟื้นจะทำยังไงคนที่ตายแล้วฟื้นจะส่งสัญญาณให้คนเป็นข้างบนรู้ได้ว่าตัวเองฟื้นจากความตายแล้วคือ ไม่ตายนั่นเอง แต่สุดท้ายมันก็คงไม่มีประโยชน์อะไรหรอกคงจะตายอยู่ดีนั่นแหละชักดิ้นชักงอ ขาดอากาศหายใจหายใจไม่ออกตายตามเดิม
อ้างอิง vox/buried-alive-safety-coffins ,วิกิพีเดีย