ไทยคือต้นฉบับศิลปะ-วัฒนธรรมของกัมพูชา!!
เปิดหลักฐาน! ไทยคือต้นฉบับศิลปะ-วัฒนธรรมของกัมพูชา อ้างอิงเอกสารทางวิชาการฝั่งเขมร
กระแสการอ้างสิทธิ์วัฒนธรรมและสิ่งต่างๆที่เป็นของไทยโดยชาวกัมพูชา ทั้งสิ่งที่มีมาตั้งแต่ในยุคสมัยโบราณ มาจนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีรัฐบาลเขมรให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผย การสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จและโฆษณาชวนเชื่อของกัมพูชา ได้ช่วยปลุกให้สังคมไทย หันมาสนใจประวัติศาสตร์ของชาติอย่างกว้างขวาง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในขณะที่ทางฝั่งกัมพูชา ได้ทำการอ้างสิทธิ์อย่างไม่ถูกต้องมาก่อนแล้ว เป็นเวลานานหลายสิบปี แต่ด้วยการที่ยังไม่มีการเผยแพร่ให้คนไทยได้รับทราบ มากเท่ากับในยุคปัจจุบัน ความเชื่อผิดๆที่ชาวกัมพูชาได้รับการปลูกฝัง จึงเสมือนเป็นความจริง และยากที่จะลบล้างไปจากความเชื่อที่มีการสั่งสมมานาน หรือทราบอยู่แก่ใจ แต่ไม่ต้องการยอมรับความผิดพลาด อย่างไรก็ตาม ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ปัญหาการอ้างสิทธิ์และลอกเลียนแบบ ทั้งด้านวัฒนธรรมและความเป็นไทยโดยชาวกัมพูชา ได้ช่วยให้ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้รับการสนใจมาก่อน ได้รับการเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบเป็นวงกว้าง และคนไทยส่วนใหญ่ ก็อาจจะไม่เคยรับทราบมาก่อนด้วยซ้ำ ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ได้มีการบันทึกอย่างเป็นทางการในรูปแบบต่างๆ ทั้งงานวิชาการ สารคดี บันทึกทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่สื่อรูปแบบใหม่ๆเช่นวิดีโอ ที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงต่างๆ ที่พิสูจน์ว่า ชาวกัมพูชามีความเชื่อที่ผิดๆมานาน แต่ด้วยการที่มีการนำเอาความเป็นไทยไปใช้เป็นวงกว้าง จึงถือว่าเป็นการเสียหน้า และอาจจะสร้างความอับอายให้กับประเทศของตัวเองได้ วิธีการเดียวที่ทำได้ ก็คือการกล่าวหาประเทศต้นฉบับอย่างไทย ว่าเป็นคนที่ได้ขโมยวัฒนธรรมของกัมพูชาไปตั้งแต่ยุคอังกอร์ เพียงเพราะว่าวัดฮินดูมีอายุเก่าแก่ ราวกับว่าเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง
ในคลิปนี้ เราจะพูดถึงที่มาที่ไป ของการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยเข้าสู่กัมพูชา ซึ่งมีความเชื่อมโยงในหลายมิติ ทั้งในส่วนของศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ การแต่งกาย งานสถาปัตยกรรม ประเพณี วรรณกรรม หรือแม้แต่ภาษา และยังมีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของกัมพูชา ที่มีการขึ้นทะเบียนกับทาง UNESCO อย่างน้อย 2 รายการ นั่นก็คือ Royal Ballet หรือ นาฏศิลป์ราชสำนัก อีกรายการหนึ่งที่มีการขึ้นทะเบียน แต่อยู่ในคนละหมวดหมู่กัน นั่นคือ ละครโขลวัดสวายอันเดท ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่จำเป็นจะต้องมีการดำรงรักษาเอาไว้อย่างเร่งด่วน คนละหมวดหมู่กับโขนของไทย โดยละครโขลวัดสวายอันเดท เป็นเพียงการกิจกรรมละครของชุมชนที่อยู่ใกล้กับวัดสวายอันเดท ที่ห่างออกไปจากทางฝั่งตะวันออกของกรุงพนมเปญราว 10 กิโลเมตร เป็นเรื่องของการรักษากิจกรรมการแสดงของชุมชนหนึ่งไม่ให้สูญหายเท่านั้น แต่กัมพูชา กลับนำเอามรดกทางวัฒนธรรมชนิดนี้ มาตีกินว่าเป็นโขนแบบไทย และได้รับการรับรองจาก UNESCO แล้ว ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในระดับสากล หรือใช้ UNESCO เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมของตัวเองขึ้นมา เพื่อนำไปเป็นข้ออ้าง ในการเคลมวัฒนธรรมของไทย ฉะนั้น หากเขมรมีการอ้างอิงว่าโขนของเขมรได้รับการรับรองจาก UNESCO แล้ว สามารถฟันธงไปได้เลยว่า นั่นคือข้อมูลอันเป็นเท็จ เพราะโขนของไทย ได้รับการรับรองโดย UNESCO ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ที่เป็นละครรำที่สวมใส่หน้ากากของไทย ในขณะที่ของกัมพูชา เป็นเพียงกิจกรรมการแสดงของชุมชนหนึ่ง ใกล้วัดที่มีชื่อว่าสวายอันเดทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนาฏศิลป์ราชสำนักเขมรนั้น เป็นการจดทะเบียนในระดับเดียวกับโขนของไทย คือเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งมีการสอดแทรกการแต่งกายในแบบโขนของไทยเข้าไปด้วย และจะเป็นประเด็นหลักที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ ว่านาฏศิลป์ราชสำนักเขมร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยไปสู่กัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมา เรื่องของการแต่งกายเหมือนกับไทยในสมัยโบราณของกัมพูชา หลายคนอาจจะเคยรับทราบและผ่านตามาบ้างแล้วว่า เป็นการได้รับอิทธิพลมาจากไทย ผ่านทางราชสำนักเขมร แต่ยังไม่มีการให้รายละเอียดที่สามารถอ้างอิงได้ในเชิงวิชาการ รวมถึงต้นกำเนิดที่ชัดเจน แรงจูงใจในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่กัมพูชา ในช่วง 200 กว่าปีหลัง ที่การแต่งกายของตัวละครในนาฏศิลป์ไทยและกัมพูชา มีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งการแพร่เผยวัฒนธรรมในครั้งนี้นี่เอง ที่ทำให้งานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบไทย เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดในกัมพูชา ตั้งแต่พระราชวังในกรุงพนมเปญ ไปจนถึงวัดวาอารามต่างๆ เรียกว่าเป็นจุดกำเนิดของกัมพูชาเวอร์ชั่นไทยก็ว่าได้ และด้วยการที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เอง จึงทำให้กัมพูชา ใช้ศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมา เป็นแกนหลักในการสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง จนลามไปสู่ศิลปร่วมสมัยต่างๆ ทั้งที่มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ในเรื่องต้นกำเนิดของเชื้อชาติแต่อย่างใด เรียกว่ากลุ่มไทกระไดอื่นๆ ยังมีความเหมือนกับของไทยน้อยกว่าเขมรด้วยซ้ำ
ที่ผ่านมา การนำเอาข้อมูลอ้างอิง มาประกอบการชี้แจงกับชาวเขมร เรามักจะได้รับการตอบกลับจากบางคนว่า เป็นข้อมูลจากทางฝั่งไทย ที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ แต่วันนี้ เราจะนำเอาบทความทางวิชาการของชาวกัมพูชาที่ชื่อ สันฟัลลา นักวิชาการอิสระชาวกัมพูชา ในเรื่องอิทธิพลของจิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์ ในพระบรมมหาราชวังของสยาม ที่มีต่อจิตรกรรมฝาผนังรีมกีในพระราชวังกัมพูชา ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน Journal of Khmer Studies ฉบับที่ 8 ประจำปี 2007 มาตีแผ่ให้เห็นข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นงานเขียนทางวิชาการที่มีการอ้างอิงมาจากตำราภาษาอังกฤษต่างๆของชาวตะวันตก เป็นส่วนใหญ่
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/groups/852534415338281/permalink/1282232385701813/