“มวยไทย” ไม่ธรรมดา สมัยสุโขทัยมีสำนักสอน อยุธยามีกรมมวย!🥊🥊
“มวยไทย” ไม่ธรรมดา สมัยสุโขทัยมีสำนักสอน อยุธยามีกรมมวย! สมัยนี้สอนถึงระดับปริญญาเอก!!
...
แข่งขันมวยหญิงด้วย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑ ปรากฏในพงศาวดารว่ามีนักมวย ๒ พี่น้องชาวฝรั่งเศส แล่นสำเภาเข้ามาท้าพนันชกกับมวยไทย วางเดิมพัน ๕๐ ชั่ง ครั้นไทยจะไม่เล่นด้วยก็จะหาว่าไม่มีนักมวยดี กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ขอพระบรมราชานุญาตรับคำท้าฝรั่งเพื่อรักษาศักดิ์ศรีมวยไทย แล้วส่ง หมื่นผลาญ ซึ่งเป็นทนายเลือกวังหน้าขึ้นสู้กับฝรั่ง ศึกครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จไปทอดพระเนตรด้วย
ฝรั่งถือว่าตัวใหญ่กว่าจะใช้วิธีจับกระดูกไหปลาร้าหักลูกเดียว แต่หมื่นผลาญทาน้ำมันว่านไว้จับไม่ติด ใช้วิธีเตะถีบต่อยแล้วถอย นักมวยฝรั่งเลยโดนครบเครื่องมวยไทยไปฝ่ายเดียว ฝรั่งผู้พี่เห็นว่าน้องชายชักไม่ไหวเลยใช้มือดันหลังหมื่นผลาญไว้ไม่ให้ถอย กรมพระราชวังบวรฯทอดพระเนตรดังนั้นรับสั่งว่า ชกพนันกันตัวต่อตัวไฉนช่วยกันเป็นสองคนเล่า ว่าแล้วก็ทรงเผ่นไปที่เวที ยกพระบาทถีบฝรั่งผู้พี่กระเด็นไป ทันใดทนายเลือกทั้งหลายก็ตามเสด็จ ทำเอาฝรั่งสองพี่น้องหมอบคาเวที ต้องหามกลับสำเภา พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งหมอไปช่วยรักษาให้
เมื่อครั้งสุนทรภู่ตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาทในปลายปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ได้แต่งนิราศพระบาท ตอนหนึ่งว่า
ละครหยุดอุตลุดด้วยมวยปล้ำ ยืนประจำหมายสู้เป็นคู่ขัน
มงคลใส่สวมหัวไม่กลัวกัน ตั้งประจันจดจับกระหยับมือ
ตีเข่าปับรับโปกสองมือปิด ประจบติดเตะผางหมัดข้างหวือ
กระหวัดหวัดหวิวผวาเสียงฮาฮือ คนดูอื้อเออเอาสนั่นอึง
นิราศบทนี้แสดงให้เห็นว่า การชกมวยในสมัยนั้นจะสวมมงคลไว้ที่ศีรษะด้วยขณะชก
สมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นยุคของวรรณคดีไทย ในรัชสมัยนี้ปรากฏมีการบันทึกเรื่องมวยไว้ในวรรณคดีหลายเรื่อง บางเรื่องก็เป็นพระราชนิพนธ์ในพระองค์เอง เช่นใน “สังข์ทอง”
บัดนั้น ประชาชนคนดูอกนิษฐ์
เห็นเหาะทั้งสองข้างต่างมีฤทธิ์ ให้คิดพิศวงงงงวย
บ้างแหงนหน้าอ้าปากตะลึงตะไล แลดูภูวไนยเอาใจช่วย
เบียดเสียดเยียดยัดดังดูมวย แซ่ซร้องร้องอำนวยอวยชัย
ใน “ขุนช้างขุนแผน”
มีทั้งโขนละครมอญรำ มวยปล้ำค่ำลงจงมีหนัง
ตีประโคมฆ้องกลองให้ก้องดัง ให้หีบตั้งใส่ศพให้ครบครัน
ใน “สิงหไกรภพ”
ให้เปรียบคู่ผู้หญิงชกมวยปล้ำ ข้างหนึ่งดำข้างหนึ่งขาวสาวขยัน
กางเกงลายสายถักเสื้อกั๊กกัน ต่างตั้งมั่นเหม่นเหม่คนเฮฮา
เข้าทุบทอยต่อยตะกายป่ายปุปปับ เสียงตุบตับเตะผ่างถูกหว่างขา
กางเกงแยกแตกควากเป็นปากกา ผู้ชายฮาเฮลั่นสนั่นดัง
ต่างเหนื่อยหอบหมอบทรุดให้หยุดอยู่ จูงมือคู่ปล้ำเข้ามาหน้าที่นั่ง
ต่างประหม่าหน้าตื่นยืนเก้งกัง เขาทุบหลังให้บังคมประพรมน้ำ
แล้วลุกขึ้นยืนประจัญขยั้นขยับ เข้ายุดจับขาแข้งแย่งขยำ
กติกามวยฝรั่งขึ้น ในที่สุดมวยฝรั่งได้แพร่หลายไปตามโรงเรียนทั่วราชอาณาจักรอย่างรวดเร็ว ใน พ.ศ. ๒๔๖๒ กระทรวงธรรมการจัดให้มีการแข่งขันมวยฝรั่งระหว่างนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก กระทรวงหมาดไทยได้ร่างกติกาคุ้มครองมวยและมวยฝรั่ง เพื่อเป็นการแข่งขัน และออกกฎกระทรวงว่าด้วยเงื่อนไขในการอนุญาตให้เล่นการพนันได้ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. ๒๔๗๐
การแข่งขันมวยไทยในสมัยนี้ช่วงต้นยังนิยมการคาดเชือก แต่กำหนดจำนวนยกไว้ โดยให้สัญญาณชกและหยุดชกด้วยเสียงตะโกนหรือเสียงนกหวีด สนามมวยทีมีชื่อเสียงสมัยนั้นก็คือ สนามสวนกุหลาบ สนามสวนเจ้าเชษฐ์ ก่อนที่จะมีสนามมวยราชดำเนินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี ๒๔๘๘ และสนามมวยลุมพินีของกองทัพบกในปี พ.ศ.๒๔๙๖
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/groups/862040068215459/permalink/866755407743925/