UNSEEN เมืองสุพรรณ คลองแห่งหิ่งห้อยรองจากอัมพวา
เมื่อพูดถึงหิ่งห้อย ทุกคนจะพูดถึงอำพวาจังหวัดสมุทรสงครามที่มีเอกลักษณ์และประวัติศาสตร์ กับการเที่ยวเชิงธรรมชาติ แนวบ้านสวน ที่นิยมกันสำหรับชาวกรุงเทพ และคนทั่วไป
แต่นับจากนี้ เราจะมีที่เที่ยวแห่งใหม่ ที่ถูกรื้อฟื้นจากแหล่งเสื่อมโทรมที่เป็นโรงเลี้ยงสุกรที่มีแต่ของเสียและมลภาวะ ส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสียและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ นั่นคือคลองท่าว้า ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
เมื่อพูดถึงตำบลสวนแตงก็จะนึกถึงเพลงสาวสวนแตง แต่ถ้าพูดถึงคลองท่าว้า ก็ต้องนึกถึงหิ่งห้อย เพราะที่นี่กำลังจะเตรียมเปิดสถาณที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติแนวบ้านสวนล่องเรือดูหิ่งห้อยตอนกลางคืนเหมือนอำพวา โดยการผลักดันจากคนในพื้นที่ ที่มีหัวเรือใหญ่อย่าง ดร.อุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ที่ได้ร่วมผลักดัน และแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว
โดยการคุยกับเกษตรกรในพื้นที่ ที่เลี้ยงหมูไม่ให้การปล่อยของเสียคือมูลหมูลงแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งชี้แนะถึงการต่อยอดถึงการนำของเสียไปทำปุ๋ยชีวภาพ และพลังงานชีวมวลที่ยั่งยืนต่อไปอีกด้วย
โดย ดร.อุดมได้ให้สัมภาษณ์ต่อนับตั้งแต่นาทีนี้เป็นต้นไป ตนเชื่อมั่นว่าคนไทยทั้งประเทศและคนทั้งโลก จะหันมามอง ต.สวนแตง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์มีความสวยงามทางธรรมชาติที่สร้างสรรค์มาให้มนุษย์ ทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนเจ้าของพื้นที่ ที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว และเสียประโยชน์ ก็คือต้องเสียสละ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติของระบบนิเวศ ดังนั้น ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่เคยเป็นอยู่มาอย่างไรก็แล้วแต่ คำว่า นิเวศ ไม่สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ความเจริญแบบที่จะเป็นได้ เพราะบางจุดบางพื้นที่ที่พบมวลหิ่งห้อยในระยะทางประมาณ 1.5 กม. ของเส้นทางการล่องเรือ จะต้องเป็นระบบที่เราจะต้องรักษาระบบนิเวศของเขาไว้ จึงขอพี่น้องประชาชนมีความเข้าใจมีความเสียสละ “ในฐานะที่ตนเป็นตัวตั้งตัวตี เป็นผู้ริเริ่มที่จะทำเศรษฐกิจภาพรวมของจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งหมดในภาคกลางคืนฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว ทำพื้นที่ ต.สวนแตง ให้เป็นแหล่งดึงดูดเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้”
ในอนาคตตรงนี้จะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวล่องเรือชมหิ่งห้อย โดยตั้งเป้าให้เป็นอำพวาแห่งที่สอง แต่ต้องการนักท่องเที่ยวตั้งเป้าที่ 8,000 คนต่อปี ซึ่งในส่วนของอำพวาเองมีนักท่องเที่ยวทั้งปีตกอยู่ที่ 100,000 คน นับเป็น 1 ใน 10 ของอำพวา เพราะจะได้ควบคุมและดูแลพื้นที่ให้มีคุณภาพ และยั่งยืนต่อไป
















