โมเดลป้องกันน้ำท่วมจาก เนเธอร์แลนด์ ที่ ไทย ควรศึกษาไว้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในหลายจังหวัดของประเทศ
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน และเมื่ออากาศร้อนจัดๆ ก็มักจะเกิดฝนตามมา จะด้วยเกิดจากภาวะโลกร้อนก็ตามแต่ และเมื่อเกิดฝนตกบ่อยขึ้นก็เกิดภาวะน้ำท่วมขังสะสม และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนอย่างจริงๆ ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามคือ ปัญหาน้ำท่วม น้ำระบายไม่ทัน ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่และหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย และยิ่งเป็นจังหวัดที่เป็นพื้นที่แอ่งรับน้ำอยู่ก่อนแล้ว ก็จะเกิดการท่วมหนักทุกปี และประชาชนก็จะได้รับความเดือนร้อนตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย พื้นผลทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์เป็นต้น ทางด้านแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดการในเรื่องน้ำท่วมนี้มีให้ต้องแก้ไขทุกรัฐบาล ซึ่งก็วิธีการแก้ไขก็จะแตกต่างกันออกไป ตามการบริหารงานของรัฐบาลชุดนั้นๆ แต่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเราไม่ได้มีความเตรียมพร้อมในเรื่องการบริหารจัดการน้ำมาแต่ต้น
ซึ่งที่เราเคยได้ยินข่าวเรื่องการบริหารจัดการน้ำท่วมคงมีตอนสมัยท่านบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้แสดงวิสัยทัศเอาไว้ตอนสมัยท่านเป็นนายกรัฐมนตรีและเกิดน้ำท่วมหนักครั้งหนึ่งเมื่อปี 2554 ที่จังหวัดสุพรรบุรี แต่ในบางพื้นที่กลับไม่ได้รับผลกระทบไว้ว่า “ข้อเท็จจริงคือที่สุพรรณบุรีน้ำก็ท่วมสูงเกือบทุกพื้นที่ ยกเว้นที่ตลาดสามชุก กับตลาด 100 ปี ที่มีการลงทุนสร้างเขื่อนกันน้ำสูงถึง 80 เซ็นติเมตรเอาไว้เป็นแนวยาว นอกนั้นท่วมสูงเกือบทุกพื้นที่ แต่อาศัยประสบการณ์จากการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปีก่อนๆ มาประกอบกับการติดตามข้อมูลการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ด้านตะวันตกมาอย่างต่อเนื่องตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้จัดการเรื่องน้ำท่วมภายในปีนั้นผ่านมาด้วยดี” นับตั้งแต่หมดยุคท่านบรรหาร ศิลปอาชา ประเทศไทยเราก็ไม่ได้มีการบริหารจัดการเรื่องน้ำอย่างจริงจังอีกต่อมาเลย ซึ่งได้แต่อาศัยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเอาเท่านั้น
ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการบริหารจักการน้ำของประเทศเนเธอร์แลนด์ สำหรับโมเดลป้องกันน้ำท่วมจาก ‘เนเธอร์แลนด์’ นั้นคือ การบริหารจัดการน้ำท่วมทีดีและมีมาอย่างยาวนาน ใครจะรู้ว่าประเทศที่เงียบสงบและเต็มไปด้วยความสุขอย่างประเทศ ‘เนเธอร์แลนด์’ จะเคยประสบอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้มาแล้ว
ต้องขอเล่าย้อนกลับไปในปี 1953 เกิดน้ำท่วมใหญ่จนทำให้ น้ำทะลักท่วมพื้นที่กว่า 930,000 ไร่ และมีสูญเสียชีวิตมากกว่า 2,000 คน นอกจากสาเหตุทางธรรมชาติที่มีน้ำฝนสะสมมากตลอดทั้งปี บวกกับการมาของพาายุที่หนุมให้น้ำทะเล จึงทำให้เพิ่มจำนวนปริมาณของน้ำมากสูงกว่า 10 เท่า จนทำให้เกิดการทะลักเข้าสู่ทางด้านชายฝั่งที่ติดกับทะเล จนทำให้เกิดความเสียหายเกือบ 70% ของพื้นที่ภายในประเทศ เพราะด้วยสภาพภูมิประเทศของประเทศเนเธอแลนด์ ที่อยู่ติดกับทะเลและถูกล้อมรอบด้วยชายฝั่งทั้ง 3 ด้าน ทำให้เมื่อมีจำนวนน้ำฝนสะสม ทำให้เพิ่มปริมาณของน้ำในทะเลสูงกว่าระดับพื้น เมื่อผ่านเหตุการณ์นั้นมาทำให้รัฐบาลได้คิดค้นระบบการป้องกันน้ำอย่างยั่งยืน ใช้เวลายาวนานกว่า 40 ปี รัฐบาลของประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำการวิเคราะห์และหาวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นรูปประธรรม โดยได้รวบรวมวิศวกร นักธรณีวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางทะเล รวมมือและหาทางออกของปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นมาอีก
โดยได้สร้าง ‘Delta Works’ ขึ้นมา ซึ่ง Delta Works ทำหน้าที่คล้ายกับประตูกั้นทางเดินของน้ำขนาดใหญ่ ถูกออกแบบในลักษณะของถนนและมีประตูที่ทอดยาวลงไปยังทะเล และสามารถเปิด-ปิดได้เพื่อควบคุมปริมาณของน้ำทะเลที่จะเข้ามาสู่ภายใน และป้องกันลมพายุ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ Hollandse Ijssel ทางทิศตะวันตกของประเทศ ที่สามารถป้องกันคลื่นสูงได้มากถึง 40 ฟุต จากระดับน้ำทะเลยาวถึง 600 กิโลเมตร และได้มีการสร้างประตูกั้นน้ำบริเวณแม่น้ำ Haringvliet เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการดันตัวสูงของน้ำทะเลตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้เตือนเอาไว้ โดยที่ประตูกั้นน้ำแห่งที่ 2 นี้จะทำหน้าที่คอยปล่อยน้ำเข้ามาในช่วงหน้าหนาว เพื่อไม่ให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง หลังจากกสร้างประตูกั้นน้ำบริเวณแม่น้ำ Haringvliet เสร็จสิ้น จนมาถึงในปี 1971 ก็ได้สร้างเขื่อน Brouwers ที่อยู่บริเวณทางใต้ของแม่น้ำ Haringvliet ถือเป็นการป้องกันปัญหาของน้ำท่วมได้อย่างสมบูรณ์ และจะทำให้แน่ใจได้ว่าประเทศเนเธอร์แลนด์จะไม่เจอกับปัญหาอุทกภัยอีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันกลับเกิดปัญหาตามมาคือ พื้นที่ปากแม่น้ำ Schelde มีการสร้างประตูกั้นน้ำแบบปิดเพิ่มเติมขึ้นมา หลังจากการสร้างเขื่อนบริเวณแม่น้ำ Haringvliet แต่ปัญหาของพื้นที่ของแม่น้ำ Schelde มีลักษณะเป็นน้ำจืด หากสร้างประตูกั้นทางเดินน้ำแบบปิด อาจทำให้ประชากรที่ทำการประมงเลี้ยงชีพ จะไม่สามารถหาปลาและทรัพยากรทางทะเลได้ ซึ่งต่อมารัฐบาลได้ทำการปรับโครงสร้างโดยออกแบบประตูกั้นน้ำแบบเปิด 62 ช่อง กว้าง 40 เมตร เพื่อให้การไหลเวียนของน้ำได้ในระดับปกติ ‘Delta Works’ จึงทำหน้าที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกัน นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อตัวชายฝั่งเพราะน้ำนั้นถูกเลื่อนให้อยู่ไกลจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชน ส่วนที่อยู่ด้านในเขื่อนก็ยังคงเป็นน้ำจืดไม่มีน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาปนเปื้อน สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ โดยที่ประตูระบายน้ำไม่ได้ทำหน้าที่ปิดกั้นน้ำทะเลอย่างถาวร แต่จะปิดเฉพาะเวลาที่มีคลื่นลมแรง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำทะเลทะลักเข้ามาในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชน รัฐบาลของประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้เวลากว่า 4 ทศวรรษ ในการจัดระบบป้องกันน้ำท่วมแบบบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยให้กับประชากรภายในประเทศอย่างยั่งยืน และได้ทุ่มงบประมาณไปทั้งหมด 2.4 แสนล้านบาท (เมื่อตีเป็นเงินไทย) และนอกจากนั้นยังได้สร้าง Delta Works ที่ในปัจจุบันได้กลายเป็นรูปแบบงานก่อสร้างทางวิศวกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก…และนี้จึงเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการจัดการปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน ที่ประเทศไทยควรยกเป็นกรณีศึกษาต่อไปไม่ว่าจะรัฐบาลไหนก็ตาม