ประเทศที่ยังมีกฎหมายให้ประหารชีวิต
ในช่วงที่ผ่านมานี้ ทั้งในไทยและต่างประเทศ เกิดเหตุรุนแรงขึ้นมากมาย
โดยเฉพาะเหตุอาชญากรรมโดยฝีมือมนุษย์ ที่หลายครั้งก็รุนแรงและน่าเศร้าจนยากเกินบรรยาย
ในบรรยากาศแบบนี้เอง ที่คนในสังคมจะได้กลับมาถกเถียงกันอีก ว่า 'โทษประหารชีวิต'
ยังคงมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ยิ่งในสังคมใหญ่ที่เกิดเหตุรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โทษประหารชีวิตยังคงจำเป็นอยู่หรือไม่ เป็นเรื่องที่เรามาสามารถมาถกเถียงกันได้
โทษประหารชีวิต (death penalty) หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment)
เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย
คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้
เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ"
คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร
คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว)
ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งใน 58 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิต ในขณะที่แนวโน้มทั่วโลก
มุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต ปัจจุบันมี 140 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก
ที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว
สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์
ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน
ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย
มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่
ในระดับนานาชาติ มีแนวโน้มที่จะมีประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา มีอีก 3 ประเทศที่ประกาศยกเลิกโทษนี้
ได้แก่ประเทศปาปัวนิวกินี ประเทศแอฟริกากลาง และประเทศอิเควทอเรียลกินี
ซึ่งถือเป็นประเทศลำดับที่ 108 - 110 ที่ยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตไปแล้ว