แมลงหัวถั่วต้ม! 🥜 การมีหัวเป็นถั่วต้มมันดียังไงนะ?
แมลงหัวถั่วต้ม! 🥜 การมีหัวเป็นถั่วต้มมันดียังไงนะ? Peanut Bug หรือ ชื่อเต็มๆว่า Peanut Headed Lanternflies เป็นจั๊กจั่นงวงชนิดนึง จากอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ดูรูปแล้วงงละสิ ผมก็งง...
หัวที่เหมือนถั่วลิสงของเขานั้นจริงๆคล้ายๆกับหงอนที่ใหญ่ยักษ์ยื่นออกเชื่อมกับหัวจริงๆที่อยู่ด้านล่าง เจ้าหัวปลอมนี้ยังมีตาปลอมอีก ซึ่งหากดูดีๆจากด้านข้างจะละม้ายคล้ายกับหัวจระเข้ หรือ กิ้งก่า เพราะมีเส้นตัดด้านล่างที่ดูคล้ายๆกับปากยิ้มๆที่มีฟันเป็นซี่ๆห่างๆ ประมาณว่าหากให้เด็กอนุบาลมาวาดรูปจระเข้ก็อาจจะได้ประมาณนี้ หลอกคนแบบเราไม่ได้ แต่น่าจะหลอกแมลงด้วยกันได้ 555 จึงเป็นที่มาของอีกชื่อของเขาที่เรียกว่า alligator bug (แมลงจระเข้) และยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ว่า การที่น้องมีหัวคล้ายกิ้งกา ทำให้กิ้งก่าคิดว่าเป็นพวกเดียวกันจึงไม่กินเขา
เจ้าหัวปลอมนี้กลวงด้านใน น้ำหนักเบา ประโยชน์อื่นของหัวโตๆนี้คือในช่วงผสมพันธุ์เขาจะเอาหัวโขกต้นไม้ ก็จะเกิดเสียงที่ sexy ยวนเย้าตัวเมียให้เข้ามาหา (ตัวเมียก็มีหัวถั่วแบบนี้เหมือนกัน)
ตัวเขาเองไร้พิษภัยใดๆ จึงต้องใช้กลยุทธ์ลวงโลกแบบนี้ มีทั้งหัวปลอม แล้วยังมีตาปลอมที่ปีกอีก หากต้มศัตรูแล้วไม่ผ่าน อย่างน้อยสุดถูกกัดผิดที่ ที่หัวปลอมหรือตาปลอมก็ยังอาจจะรอดตายได้ แล้วน้องยังสามารถตดใส่ศัตรูได้ เขาว่าเหม็นมากๆ
การมีหัวประหลาดยังทำให้คนเข้าใจผิดอีกเยอะเช่น มันมีตำนานในอเมริกากลางว่า เจ้าแมลงหัวถั่วนี้มีพิษร้ายแรงนัก หากใครโดนกัด จะถึงตายได้ การแก้พิษมีทางเดียวคือการต้องมีsexภายใน 24ชม! (กรูขอเดาเลยว่าผู้ชายเป็นคนคิดๆ555) แต่คนเขาเชื่อกันจริงๆนะ น้องเลยถูกใส่ร้ายป้ายสี ถูกฆ่าไปเยอะ แต่จริงๆแล้วน้องมีปากเป็นหลอดกัดก็ไม่ได้!
อีกอย่างนึงก็คือ เพราะน้องอยู่ในตระกูลจั๊กจั่นงวง หรือ ที่ฝรั่่งเรียกว่า Lanternflies ที่เมืองไทยก็มี (หน้าตาต่างกัน แต่ก็สวยและแปลก ดูรูปสุดท้าย) เราจะเห็นบ่อยตามต้นลำใยในหน้าร้อน แมลงเหล่านี้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ (ปากเป็นหลอดกัดไม่ได้เช่นกัน) และจะมีหงอนยาวยื่นออกมาจากหัว นานแสนนานมาแล้ว ประมาณปีคศ 1705 หนังสือธรรมชาติวิทยาเกี่ยวกับแมลงขายดีเล่มนึง* ได้ตีพิมพ์ว่า Lanternfiles ทุกชนิด ตอนผสมพันธุ์จะมีแสงสว่างจ้าออกมาจากส่วนหัว สว่างจนสามารถใช้อ่านหนังสือได้ เหมือนกับตะเกียง! ต้มคนทั้งโลกจนทุกคนเรียกเจ้าแมลงตระกูลนี้ว่า Lanternflies (แมลงตะเกียง) ซึ่งในยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ลองแล้วลองอีกก็ไม่ค้นพบว่ามีชนิดใดที่หัวเรืองแสงได้ แต่ก็สายเกินกว่าจะไปเปลี่ยนชื่อเขาแล้ว เลยเรียกกันมาผิดๆจนถึงทุกวันนี้
สรุปว่าเจ้าแมลงหัวถั่ว หัวไม่เรืองแสง แม้ชื่อจะเหมือนว่าเรืองแสงได้ก็ตาม และก็ไม่มีพิษร้าย กัดก็ไม่ได้ ไม่ต้องถอนพิษด้วยการมีsex...จงอย่าไปหลงเชื่อไอ้หนุ่มที่ไหนฮิๆ 😁
'แมลงหัวถั่วมีไว้ต้มกิ้งก่าตาถั่ว' - อีกผลงานการสร้างสรรค์ของธรรมชาติที่ตลกและประหลาด... เขียนเสร็จหิวอยากกินถั่วต้มขึ้นมาเฉยเลย 🥜🥜🥜
ชื่อวิทยาศาสตร์: FULGORA LATERNARIA
*หนังสือที่สร้างความเข้าใจผิดของ Lanternfiles คือ ‘Metamorphosis insectorum Surinamensium' เขียนโดย Maria Sibylla Merian นักเขียนชื่อดังคน German ที่ทั้งเขียนและวาดภาพประกอบด้วย ภาพในหนังสือนี้สวยมาก เป็นยุคก่อนภาพถ่าย เขาเข้าใจกันว่าคนเขียนเข้าใจผิดระหว่าง Lanternfiles กับ Bioluminescent Click Beetle ที่อยู่ที่แถบเดียวกัน หนังสือนี้ตีพิมพ์ในปี คศ 1705
อันนี้เป็นvideoที่ดีมากๆเห็นน้องจากทุกๆมุม👇👇
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/ETRuSeG80-E