ท่องโลกดึกดำบรรพ์: ยุคเพอร์เมียน
ทะเลทรายและป่าสนแห้งแล้งกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา สภาพแวดล้อมแสนอบอุ่นและแห้งแล้งทรหดราวกับจะแผดเผาร่างของคุณให้มอดไหม้ เนินทรายและภูเขาหินตั้งสูงตระหง่านสุดลูกหูลูกตา มีเพียงแหล่งน้ำตื้นๆ เป็นดั่งโอเอซิสใช้ประทังความหิว ต้นสนและปรงตั้งตระหง่านรอกันเรียงรายตามเชิงเขา
นี่คือโลกที่เรียกได้ว่าแห้งแล้งถึงขีดสุด ยุคเพอร์เมียนหรือราวๆ 293 ล้านปีที่แล้วนั้นแห้งแล้ง อากาศเริ่มร้อนระอุและแห้งลง ทุกทวีปเริ่มค่อยๆ แยกตัวออกจากกันช้าๆ จากมหาทวีปคล้ายกับการฉีกกระดาษแล้วกระจัดกระจายเป็นชิ้นๆ ทวีปทางใต้สุดของโลกะจเริ่มหนาวเย็นและอุดมสมบูรณ์ แต่ซีกโลกเหนือได้รับอิธิพลจากแสงอาทิตย์ที่แผดเผาเสียมาก ทะเลทรายที่ร่างของคุณยืนดูอยู่นี้ ส่วนนี้วันหนึ่งจะกลายเป็นกรุงมอสโควของประเทศรัสเซียในปัจจุบัน
สัตว์เลื้อยคลานในยุคนี้ มีหลายๆ ชนิดที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบันทุกชนิด นักวิทยาศาตร์จำแนกพวกมันตามโพรงเปิดของช่องหูในกระโหลก โดยแบ่งออกเป็นสามจำพวก ได้แก่ อแนปซิด (Anapsid) พวกนี้ไม่มีรูเปิดในกระโหลก ปัจจุบันมีเพียงเต่าและตะพาบที่เหลือรอด ซินแนปซิด (Synapsid) มีโพรงเปิดหนึ่งช่อง พวกนี้เป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสุดท้าย ไดแอปซิด (Diapsid) มีโพรงเปิดสองช่อง บรรพบุรุษของไดโนเสาร์ จระเข้ กิ้งก่า งู และนก จัดอยู่ในจำพวกนี้
คุณออกตัวเดินทางไปตามเนินทราย หญ้าหางม้า (Horsetail) งอกขึ้นตามโอเอซิส พวกมันขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งเป็นเซลล์ผงที่กระจายด้วยกระแสลมที่หอบเอาเชื้อของพวกมันให้เจริญเติบโตตามสถานที่สำคัญ ฝูงสัตว์กินพืชจำนวนหนึ่งขนาดตัวเท่าควายกำลังก้มแทะกินอาหาร นี่คือ สกูโตซอรัส (Scutosaurus) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกอแนปซิดที่อาศัยหาอาหารกินพืช ฟันแข็งๆ ของพวกมันออกแบบมาเพื่อการกัดแทะและริดใบพืช ผิวหนังของพวกมันหนาแข็งดุจเกราะถักโซ่แข็ง
ร่างเล็กๆ หน้าตาที่แปลกประหลาดโผล่กหัวขึ้นมาเหนือพุ่มไม้ ใบหน้าและเขาแบนๆ ยุ่บยั่บแสนน่าเกลียดนั้นคือเอสเตเมโนซูคัส (Estemenosuchus) เป็นสัตว์จำพวกซินแนปซิดที่กินพืชเช่นกัน พวกนี้มีขาสั้นแต่ก็บึกบืน สามารถว่ายน้ำได้หลายกิโลเมตร พวกมันก็ไม่สนใจร่างอันใหญ่โตที่นั่งแทะพืชอยู่ข้างกัน
เดินออกมาอีกหน่อย คุณเจอต้นสนใหญ่ที่มีช่อลูกสนงอกงาม สัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆ ไม่เกินฝ่ามือชนิดหนึ่งห้อยตัวลงมาจากต้นไม้ มันห้อยตัวด้วยขาหลังก่อนจะใช้ขาหน้าที่มีมือในการจับและเด็ดผลไม้เข้ามากิน ช่างแปลกประหลาด ดูเหมือนส่วนผสมของลิงและกิ้งก่า นี่คือ ซุยมิเนีย (Suminia) พวกมันเป็นซินแนปซิดที่วิวัฒนาการมาอย่างดีสำหรับชีวิตบนต้นไม้ เป็นการวิวัฒนาการแบบคู่ขนาน ซึ่งอีกหลายล้านปีข้างหน้า กว่าที่สัตว์จำพวกวานรจะวิวัฒนาการตามมา ซุยมิเนียจะรับหน้าที่ไปก่อน
ท่ามกลางความสงบที่ดำเนินไป ร่างๆ หนึ่งนั่งรอเฝ้าคอยเหยื่อจากเนินทราย เสียงฝีเท้าหนักๆ และเร็ววิ่งลงมาพร้อมกับร่างขนาดใหญ่ ส่วนหัวยาวแปลกประหลาดเหมือนถั่วลิสง ลำตัวมีมัดกล้ามยาวถึงห้าเมตรและหนักถึงห้าร้อยกิโลกรัม ขายาวทั้งสี่ตะกุยควบตะบึงผ่านพื้นทรายลงมาที่โอเอซิสข้างล่าง ซุยมิเนียส่งเสียงดังแผดร้องเสียงแหลมอย่างน่ากลัวทำให้คุณต้องหลบหลังต้นไม้ในความกลัว สัตว์กินพืชเป็นฝูงออกตัววิ่งแตกฮือกันคนละทิศละทาง มีสกูโตซอรัสที่แก่ชราวิ่งตามฝูงไม่ไหวถูกทิ้งให้ต่อกรกับนักล่าเพียงลำพัง
นักล่ายักษ์นี้ถูกเรียกว่า อินนอสทรานเซเวีย (Innostranscevia) ฟอสซิลของมันนั้นถูกค้นพบในเขตไซบีเรีย มีลักษณะผสมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลาน เห็นเขี้ยวคู่หน้าที่ยาวโค้งนั่นไหม? มันถูกออกแบบสำหรับการแทงเหยื่อให้เสียเลือดจนตาย ขาที่ยาวของมันนั้นสามารถช่วยในการออกแรงวิ่งได้อย่างรวดเร็ว สกูโตซอรัสชรายกตัวสูดอากาศให้ผิวหนังหนาของมันนั้นแข็งและดูป่องข่มขู่ดุจลูกโป่งหนัง อินนอสทราเซเวียไม่ได้โง่ มันกระโจนเข้าไปที่ลำคอและค่อยๆ ตะปบกรงเล็บลงไป ร่างของทั้งสองกอดรัดชูตัวสูงขึ้นไปบนฟ้า พยายามเท่าไหร่เพื่อจะกัดก็เอื้อมไม่ถึง ในขณะที่นักล่ากำลังพยายามจะหมายเล็งไปที่หลอดลม ร่างอันใหญ่โตของสกูโตซอรัสได้ล้มลงทับอินนอสทรานเซเวียจนหน้าทิ่มดิน เจ้ายักษ์ขยับตัวไปซ้ายทีขวาที ก่อนจะพยุงตัวอย่างช้าๆ แล้วลุกขึ้นเดินตามฝูง ครั้งนี้มันอาจจะโชคดี แต่หากหลงฝูงโดยไม่มีน้ำและอาหาร มันก็อาจจะถูกนักล่าตัวใหญ่หมายตาก็ได้
คุณได้เข้ามาดูใกล้ๆ ด้วยความพิศมัย เจ้านักล่านอนหมอบหายใจรวยรินด้วยความเจ็บปวดที่ถูกน้ำหนักถึง 5 ตันกดทับ พลางพ่นเลือดกำเดาด้วยความอ่อนแรง ในธรรมชาติ นักล่าเองหากเพี่ยงพล้ำก็อาจจะบาดเจ็บสาหัสจนออกล่าไม่ได้ เป็นกฏที่ควรพึงระวังสำหรับทุกชีวิตทุกยุคทุกสมัย
หลังจากคิดว่ามันหลับไปแล้ว จู่ๆ นักล่าขนาดยักษ์ที่คาดว่าควรจะล้มลงได้ลุกขึ้น คุณถูกมันจ้องด้วยความโมโห สายตาเกรี้ยวกราดดุจพยัฆค์ร้ายได้ทำให้คุณเริ่มออกตัววิ่ง นักล่าพาใบหน้าที่โชกเลือดและบาดแผลออกตัววิ่ง มีการคาดการว่าอินนอสทรานเซเวียสามารถวิ่งด้วยความเร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พลันแสงสว่างหมดลงพร้อมกับท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีเทาาด้วยควันปริศนา พวกคุณพากันหายใจไม่ออกพร้อมกับกลิ่นเหม็นลอยเข้าจมูก ยุคเพอร์เมียนในเขตซีกโลกเหนือได้ถูกภูเขาไฟยักษ์ที่เขตแดนตอนเหนือของไซบีเรียปล่อยเขม่าอย่างร้ายกาจ ควันพิษฟุ้งขึ้นไปหลายกิโลเมตรและเริ่มส่งผลบดบังดวงอาทิตย์ทำให้พืชพันธุ์เหี่ยวเฉา ธารลาวาร้อนระอุได้ไหลทะลักทำลายทุกสิ่งในรัศมี 25 กิโลเมตรและกว้างไกลขึ้นเรื่อยๆ สิ่งมีชีวิตที่หนักเกิน 5 กิโลกรัมจะถูกทำลายและสูญพันธุ์ลง การสูญพันธุ์นี้เองก็ส่งผลถึงสัตว์ในท้องทะเลด้วย ภายใน 93 ล้านปี สิ่งมีชีวิตเกือบ 95% ถูกทำลายจนหมด มีเพียงผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่รอดพ้นไปได้ แต่กว่าโลกจะกลับมาฟื้นฟูสภาพเช่นเดิมได้ ก็ใช้เวลาอีกนาน
เดินทางไปยังช่วง 200 ล้านปีต่อมา โลกได้เริ่มฟื้นฟูขึ้นอย่างช้าๆ พร้อมกับการมาของสัตว์เลื้อยคลานที่เหลือรอด และในที่สุด ไดโนเสาร์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างช้าๆ โลกช่วงการฟื้นฟูได้นำพาความรุ่งเรือง มาร่วมเป็นพยานในการเข้าสู่ยุคไทรแอสซิก ใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์