โศกนาฏกรรมของเด็กหญิงขายไม้ขีดไฟ..เรื่องราวการต่อสู้ของผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่เริ่มต้นมาจากไม้ขีดไฟอันเดียว
👉🏿นี้คือเรื่องจริง..ที่เกิดขึ้นจริงกับความเหลวแหลกของสังคมในยุคสมัยก่อนที่ ค้าแรงงานอย่างกับทาส...คนทำงานระบบการทำงานที่ปราศจากความปลอดภัย การเอารัดเอาเปรียบของนายทุน จึงคร่าชีวิตคนงานสาวๆไปมากมาย และนี่จึงเป็นที่มาของเรื่องนี้
☠️โศกนาฏกรรมของเด็กหญิงขายไม้ขีดไฟ เรื่องนี้เป็นเรื่องราวการต่อสู้ของผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่เริ่มต้นมาจากไม้ขีดไฟอันเดียว คดีนิทานเด็กหญิงขายไม้ขีดไฟที่อยู่ในหนังเรื่อง Enola Holmes 2 ซึ่งมีคนงานหญิงที่ทำงานในโรงงานไม้ขีดไฟจำนวนมาก หน้าบวม และเสียชีวิตเป็นปริศนา แต่มีหญิงสาวคนหนึ่งที่นับว่าเป็นเอโนล่าในชีวิตจริงลุกขึ้นมาสืบเรื่องนี้
👉🏿ในปี 1845 มีนิทานชื่อว่า เด็กหญิงขายไม้ขีดไฟ ออกตีพิมพ์สู่สายตาชาวโลก เป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงที่ต้องขายไม้ขีดไฟในคืนวันสิ้นปี เมื่อเธอจุดไม้ขีดแต่ละก้านก็จะเห็นแต่สิ่งดี ๆ กระทั่งเธอเสียชีวิตในคืนนั้น แต่นิทานสุดเศร้านี้ดันมีเค้าโครงคล้ายเรื่องจริง!
🙄ในช่วงปี ค.ศ. 1880 อังกฤษมีสินค้าที่กำลังเป็นนิยมมาก และทุกบ้านจำเป็นต้องมีนั่นก็คือ ไม้ขีดไฟ บรรดาโรงงานไม้ขีดไฟต่างพยายามแข่งขันกันผลิตไม้ขีดไฟที่ดีที่สุด หนึ่งในนั้นรวมไปถึงโรงงานไม้ขีด ไบรอันแอนด์เมย์ ด้วย โรงงานนี้สามารถคิดค้น และผลิตไม้ขีดไฟรุ่นที่จุดติดง่ายและจุดแรงขึ้นมาได้ ทว่ามันกลับต้องแลกมาด้วยชีวิตของคนงานหญิงผู้บริสุทธิ์!
👩⚕️ในช่วงยุคสมัยนั้น ผู้หญิงไม่มีทางเลือกใด ๆ เลย ไม่ว่าจะรวยจะจนต่างก็ล้วนถูกจำกัดสิทธิ์ แต่ที่ยิ่งจนก็ยิ่งลำบากกว่ามากนัก ผู้หญิงและเด็กต้องเข้าทำงานโรงงาน รวมถึงโรงงานทำไม้ขีดไฟที่ต่างก็เน้นจ้างแรงงานผู้หญิง ทุกคนทำงานหนักระดับเลเวล 10 ต้องยืนทำงานวันละ 10 ชั่วโมงขึ้นไป แทบไม่ได้พัก หรือแม้กระทั่งจะเข้าห้องน้ำ หากสมัยนี้เราคงต้องเรียกมันว่า โรงงานนรก
🏫คนงานในโรงงานนี้มีตั้งแต่เด็ก 6 ขวบ ไปจนถึงผู้ใหญ่ ทุกคนต้องหาเครื่องมือและอุปกรณ์มาทำงานเอง ส่วนค่าแรงที่ได้ก็น้อยนิด เพียงพอแค่จ่ายค่าเช่าห้องเล็ก ๆ และซื้อข้าวกินไปวัน ๆ เท่านั้น หากแต่คนงานทุกคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพราะต่างมองว่า เพื่อนคนงานทุกคนในโรงงานเป็นคนในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีคนงานบางคนหลังเลิกงานแล้ว ก็ยังไปหางานเสริมโดยเข้าไปทำงานในโรงละครต่ออีก ขณะที่เจ้าของโรงงานรวยเอา ๆ
👉🏿🙄กระทั่งเกิดเรื่องประหลาดขึ้นในโรงงาน เมื่อคนงานหญิงบางคน เกิดอาการหน้าบวมจนผิดรูป และเสียชีวิตในระเวลาอันสั้น หากสาเหตุจริง ๆ แล้วมันคืออาการของ โรคขากรรไกรเน่า (Phossy Jaw) อันเป็นผลข้างเคียงมาจากกระบวนการทำไม้ขีดรุ่นสุดพิเศษของโรงงานนี้ เพราะส่วนผสมของมันคือ ฟอสฟอรัสขาว ที่มีผลกระทบต่อขากรรไกรและเหงือก และรุนแรงจนถึงขนาดเสียชีวิต!
☠️👩⚕️มีคนงานหลายคนที่ขากรรไกรเน่าจนต้องตัดออก บางคนเชื้อลามไปถึงสมองจนเสียชีวิต ตอนแรกทุกคนจะหน้าบวม แต่ชั่วระยะเวลาไม่นานอาการก็จะหนักขึ้นและเสียชีวิต เรื่องราวนี้ไปถึงหูของหญิงสาวคนหนึ่งที่นับว่าเป็นเอโนล่าตัวจริงของเรื่องนี้ เธอคนนี้มีชื่อว่า แอนนี่ เบแซนต์ ซึ่งป็นผู้หญิงหัวก้าวหน้าในยุคนั้น
👩⚕️เธอลงมือสืบเรื่องราวของโรงงานไม้ขีดนรกนี้ จนรู้ว่ามีการปกปิดถึงผลกระทบของฟอสฟอรัสขาว รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ของคนงานในโรงงานที่เหมือนตกอยู่ในนรก แอนนี่เขียนแฉเรื่องราวทุกอย่างที่สืบมาได้ทั้งหมดลงหนังสือพิมพ์ แต่โรงงานบังคับให้คนงานปฏิเสธว่า เรื่องราวที่แอนนี่เขียนนั้นไม่เป็นความจริง หากใครไม่ยอมก็จะถูกไล่ออก นั่นทำให้คนงานทุกคนเริ่มไม่พอใจ
แล้วในวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 1888 คนงานหญิงคนหนึ่งชื่อว่า ซาร่า แชปแมน กับเพื่อนคนงานหญิงคนอื่นๆ เดินขบวนออกจากโรงงานไม้ขีดนรกนี้เพื่อเรียกร้องขอความยุติธรรม การประท้วงของซาร่า และเพื่อนนั้นได้ผลมาก มีคนงานมาร่วมประท้วงกว่า 1,400 คน โรงงานจึงต้องหยุดงานไปชั่วคราว แต่นับว่าเป็นผลดี เพราะสื่อให้ความสนใจ และสังคมเริ่มตื่นตัวมากขึ้น
🗞️เหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นการประท้วงเรียกร้องด้านอุตสาหกรรมจากผู้หญิงเพื่อผู้หญิงด้วยกันครั้งแรก และมันกลายเป็นการจุดประกายให้คนอื่น ๆ กล้าออกมาเรียกร้องในสิทธิของตัวเอง หลังจากนั้นสภาพภายในโรงงานไม้ขีดนี้ดีขึ้น มีการแบ่งโซนให้คนงานพักกินข้าว ฯลฯ แต่สุดท้ายความเป็นจริงก็ไม่สวยงามเท่ากับในหนัง
🧔มีเจ้าของโรงงานบางรายตั้งโรงงานไม้ขีดไฟ ที่ใช้สูตรไม่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสขาวในการผลิต เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของคนงาน แต่โรงงานก็ดันเจ๊งเพราะไม่มีใครซื้อ ขณะเดียวกันทางการอังกฤษก็ยังไม่ยอมแบนฟอสฟอรัสขาว ก่อนจะยอมสั่งปรับโรงงานไบรอัน แอนด์ เมย์ ในปี 1898 กระทั่งในปี 1910 ทางการอังกฤษก็ทำการแบนฟอสฟอรัสขาวได้ทั้งหมด และด้วยมีการค้นพบสิ่งที่มาแทนที่ฟอสฟอรัสขาว โรงงานไม้ขีดจึงต่างพากันเลิกใช้ แล้วหันไปผลิตหากำไรกับสิ่งใหม่แทน (ซึ่งนั่นก็คือฟอสฟอรัสแดงที่ปลอดภัยกว่า และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน )
👩⚕️ทางด้าน ซาร่า แชปแมน นั้นหลังจากเลิกทำงานโรงงาน เธอก็แต่งงานมีลูก และเสียชีวิตเยี่ยงคนอนาถา ขณะที่บริษัทไม้ขีดนรกนั้น รุ่งเรืองไปอีกหลายทศวรรษ หลุมศพซาร่าไม่มีแม้กระทั่งป้ายบนหลุม (แต่ปัจจุบันมีการทำป้ายให้แล้ว) แม้ว่าซาร่าจะจากไปแล้ว แต่การต่อสู้ของเธอก็เป็นสัญลักษณ์และเป็นที่จดจำของทุกคน
👉🏿เรื่องราวของโรงงานไม้ขีด และการต่อสู้ของซาร่านั้น มีอยู่ในหนังเรื่อง Enola Holmes 2 ซึ่งเนื้อหานั้นตรงกับความจริงในเรื่องของโรงงาน และมีการเสริมเติมแต่งเรื่องราวของซาร่าบางส่วน เพื่อความบันเทิง...
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย,
twitter.com/lolitascak3,google และ YouTube