ใครเป็นผู้ออกแบบ "ชะลอม" โลโก้ของ APEC 2022 THAILAND?
ชะลอม โลโก้ APEC 2022 Thailand เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (Asia Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) เป็นแหล่งบ่มเพาะความคิดเพื่อกำหนดมาตรฐานและนโยบายในประเด็นใหม่ๆ ของโลก ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานเศรษฐกิจให้มีความทันสมัยเป็นสากล และเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้น การที่ไทยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 จึงนับเป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งของไทยที่จะเป็นผู้นำในการร่วมชับเคลื่อนและกำหนดนโยบายและทิศทางของภูมิภาคให้เป็นที่ประจักษ์ในสายตาประชาคมโลกต่อไป
หนึ่งในไฮไลต์ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี 2565 คือ งานเปิดตัวโลโก้เอเปค ที่ห้างไอคอนสยาม เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วม งานนี้จัดขึ้น โดยดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานเปิดงาน
โลโก้เอเปคนี้จะช่วยสะท้อนหัวข้อหลักและความร่วมมือที่ไทยผลักดัน สร้างความตระหนักรู้และความรู้สึกมีส่วนร่วมในสังคมตระหนักรู้และความรู้สึกมีส่วนร่วมในสังคมและเป็นโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถและศักยภาพของตนเอง
“ชะลอม”คือแบบที่ชนะการประกวด เป็นภาชนะใส่สิ่งของและสื่อถึงการค้าขายของไทยในสมัยก่อน ผู้ออกแบบคือ นายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า แรงบันดาลใจที่ทำให้เขาใช้ชะลอม มาจากความคิดว่าสัญลักษณ์นี้จะต้องสะท้อนถึงความเป็นไทยและตัวตนของเอเปค อีกทั้งชะลอมสื่อถึงหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคในปี 2565 คือ OPEN: ชะลอมมีลักษณะปลายเปิดไว้ใช้ใส่สิ่งของต่าง ๆ จึงเสมือนว่าเป็นการสื่อการค้าลงทุนที่เปิดกว้าง
CONNECT: เพราะชะลอมมีไว้ใส่สิ่งของเพื่อขนส่ง จึงเปรียบได้กับความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาค BALANCE: ชะลอมทำจากวัสดุธรรมชาติ จึงถือว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับรูปแบบเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นวาระสำคัญของไทยและกำลังผลักดันในเวทีเอเปค 2565 นี้
นอกจากงานเปิดตัวโลโก้เอเปคแล้ว ในวันเดียวกันนั้น ยังได้มีการจัดงานเสวนา APEC Media Focus Group ซึ่งเป็นงานที่เชิญสื่อมวลชนมาร่วมเสวนาเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจ โดยหวังว่าสื่อมวลชนจะช่วยเป็นสะพานส่งต่อความตระหนักรู้ไปยังประชาชน อีกทั้งกระทรวงการต่างประเทศได้จัดกิจกรรมระดมสมองกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และสื่อมวลชนในลักษณะเช่นนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 เพื่อพัฒนาและเตรียมประเด็นที่ใช้ในการประชุมเอเปค 2565 ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทยและบริบทของโลก
สำหรับหัวข้อพูดคุยและบรรยากาศภายในงานเสวนานั้น ธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี 2565 โดยเริ่มต้นจากประเด็นบทบาทของสื่อมวลชน ที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชน เพื่อทำให้เกิดความตระหนัก เข้าใจ ใช้ประโยชน์ และมีส่วนร่วม (Inform – Inspire – Integrate – Involve) ในสังคม
โลโก้ APEC 2022 นั้นออกแบบโดย นายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
..
🇹🇭🇹🇭 #ชะลอม โลโก้ APEC 2022 "ชะลอม" เป็นตราสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปค ปี 2565 ของไทย สื่อถึงประเพณีและวิถีชีวิตชุมชนไทย การออกแบบและหัตถศิลป์สะท้อนภูมิปัญญาชาวบ้านในการนำวัตถุดิบมาแปลงสภาพเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้สะดวก มีนวัตกรรม ทนทาน และร่วมสมัยจนถึงปัจจุบัน ชะลอมเป็นเครื่องจักสานของไทย ใช้เป็นภาชนะใส่สิ่งของต่างๆ และเป็นสิ่งของสัญลักษณ์การค้าขายของไทยมาแต่โบราณ เส้นตอกไม้ไผ่ที่สอดประสานกันทั้งแข็งแรงและยืดหยุ่น เหนียวแน่นและคงทน โอบอุ้มเศรษฐกิจภูมิภาคให้ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” เส้นตอกไม้ไผ่สานกันเป็นชะลอม ๒๑ ช่อง สื่อถึง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ชะลอมสื่อหัวข้อหลัก “OPEN, CONNECT, BALANCE” ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2565 ของไทย ได้แก่ OPEN - ชะลอมสื่อถึงการค้าที่เปิดกว้าง CONNECT - ชะลอมเป็นสิ่งบรรจุสินค้าหรือส่งของสำหรับใช้ในการเดินทาง และสื่อถึงความเชื่อมโยง BALANCE – ชะลอมทำจากวัสดุธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy- BCG) สีเส้นตอก 3 สี ได้แก่ สีน้ำเงิน สื่อถึง OPEN การเปิดกว้าง สีชมพู สื่อถึง CONNECT การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสีเขียว สื่อถึง BALANCE ความสมดุล ชะลอม ยังสื่อถึงการร่วมสานพลังและจุดแข็งที่หลากหลาย ร่วมมือเพื่อสร้างภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น ครอบคลุม และยั่งยืน สำหรับประชาชนรุ่นหลัง ชะลอมยังเป็นสัญลักษณ์ของการค้า การเดินทาง ความเชื่อมโยงในภูมิภาค ซึ่งเป็นหัวใจของเอเปค #APEC2022 #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #ตราสัญลักษณ์เจ้าภาพเอเปคปี 2564 #ชะลอม #โลโก้APEC2022 #NNT
Posted by สวท.ระนอง FM 107.25 MHz on Monday, November 22, 2021
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/ranongradio/videos/493064135182760/?app=fbl
https://www.apec2022.go.th/th/logo-chalom-apec-2022-thailand-th/