“น้ำข้าวเหนียว” เคล็ดลับความแข็งแกร่งของกำแพงเมืองจีน..!!
การก่อสร้างในยุคแรกๆของกำแพงเมืองจีนนั้น เริ่มมาก่อนสมัยราชวงศ์สุย โดยมีระบบการก่อสร้างด้วย “ดินโคลนผสมฟาง” ด้วยการนำเอาดินโคลนและฟาง หิน มาวางเป็นชั้น ๆ และกระทุ้งด้วยค้อนไม้ ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกับการบดอัดดินให้แน่น ส่วนฟางก็ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับกำแพงได้เป็นอย่างดี แต่กำแพงดินก็เสื่อมสลายไปได้ตามธรรมชาติ จนแทบจะไม่หลงเหลือโครงสร้างเดิม
ต่อมาในสมัยราชวงค์ถัง ได้เริ่มพัฒนาการก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆด้วย “อิฐ” ซึ่งมีความแข็งแรงมาก แต่มีต้นทุนที่สูงในการก่อสร้าง ดังนั้นอิฐจึงถูกสร้างอยู่เฉพาะกำแพงวัง และป้อมปราการที่สำคัญ ๆ ทั้งภายในและภายนอก ส่วนกำแพงที่อยู่นอกเมืองไปไกล ๆ นั้นด้านในเขาก็ถมด้วยดิน โคลน และทราย และนำอิฐมาใช้เฉพาะด้านหน้าเท่านั้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง ได้เริ่มนำ “น้ำข้าวเหนียว” มาเป็นส่วนผสมกับปูน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างกันให้แน่นหนาขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีแบบนี้เห็นผลได้ชัด การเผาอิฐเริ่มทำกันอย่างกว้างขวาง นักวิทยาศาสตร์ยังได้ทดลองใช้ส่วนผสมปูนกับน้ำข้าวเหนียวในการบูรณะอาคารเก่าแก่ได้รับความเสียหาย ปรากฏว่าส่วนผสมนี้มีความแข็งแกร่งสูงกว่าปูนฉาบที่ผสมปูนขาวเพียงอย่างเดียว ทำให้ส่วนผสมปูนกับน้ำข้าวเหนียวเป็นวัสดุที่เหมาะสมในการบูรณะโบราณสถาน
อ้างอิงจาก: https://kasetgo.com/t/topic/701069