แร้ง: นกผู้ปิดทองหลังพระ
แร้ง: นกผู้ปิดทองหลังพระ
"แร้ง" มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ มีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสำหรับคนรักนก ถือเป็นความสุขของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่ในประเทศไซปรัส ซึ่งการใช้เหยื่อพิษอย่างมากมายทำให้แร้งแทบจะสูญพันธุ์ นักรณรงค์จึงลงมือปฏิบัติ
Melpo Apostolidou จาก BirdLife Cyprus กล่าวว่า "ทั่วทั้งเกาะเรามีแร้งเพียงแปดตัวเท่านั้น" ซึ่งเรากำลังประสานงานกับกองทุนที่ได้รับทุนจากสหภาพยุโรป เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรแร้ง ในไซปรัส “ที่มีจำนวนต่ำที่สุดของประเทศใด ๆ ในยุโรป”
ในประเทศไซปรัส วัฒนธรรมการใช้สารพิษต้องห้าม เพื่อลดจำนวนศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขจิ้งจอกและสุนัข ถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้แร้งใกล้สูญพันธุ์
นักอนุรักษ์อ้างว่าการเติมเต็มของสายพันธุ์แร้งจะดีต่อธรรมชาติและบ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมของระบบนิเวศในท้องถิ่น การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่านกแร้งไม่เพียงแต่ "บริการกำจัดซากสัตว์ที่คุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายของโรค เช่นโรคพิษสุนัขบ้า
แร้งเป็นนักกินซาก มันทำลายซากสัตว์ได้รวดเร็วมาก ถ้าไม่มีแร้ง ซากเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยไว้จนเน่า ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคระบาด เช่น แอนแทรกซ์ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้วัวควายตายเฉียบพลัน สามารถติดสู่คนและอาจถึงแก่ชีวิต”
“แร้งมีความสำคัญมากในการควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค มีงานวิจัยที่แอฟริกา ทดลองเอาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ รวมถึงเชื้อแอนแทรกซ์ใส่ในซากวัวให้แร้งกิน แล้วนำมูลแร้งไปเพาะเชื้อ พบว่าไม่เจอเชื้อก่อโรคเลย เหตุผลก็คือในกระเพาะอาหารของแร้งมีความเป็นกรดสูงมาก ฆ่าเชื้อได้หมด”
หากมีซากสัตว์ตายสักตัวแล้วไม่มีแร้งคอยกำจัดซาก ซากนั้นก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี ซึ่งปนเปื้อนสู่ดิน สู่น้ำ และอาจก่อให้เกิดโรคติดต่อในสัตว์ป่า รวมทั้งอาจติดมาถึงคนได้ ตัวอย่างที่ชัดที่สุดเกิดขึ้นที่อินเดีย