ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แก้ไขปัญหาข้อเข่าเสื่อมให้กลับมาใช้งานได้ดีอีกครั้ง
ข้อเข่าหากเกิดการเสื่อมสภาพแล้วจะไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้อีก และมีโอกาสที่จะเสื่อมสภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ หากการเสื่อมสภาพรุนแรงมาก ไม่สามารถยืด งอเข่าได้สุด หรือข้อติดจนไม่สามารถขยับข้อเข่าได้เลย การรับประทานยาหรือการรักษาแบบประคับประคองไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไป วิธีสุดท้ายที่สามารถทำให้ข้อเข่ากลับมาใช้งานได้อีกครั้งคือ “ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม”
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม หรือการใส่ข้อเข่าเทียมนั้นเป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดีที่สุด แต่ทำไมแพทย์จึงเลือกใช้เป็นวิธีสุดท้ายในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีวิธีอะไรบ้าง ควรไปรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี มาหาคำตอบได้จากบทความนี้
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม (Knee Replacement)
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมสภาพของกระดูกผิวข้อให้กลับมามีสภาพปกติอีกครั้ง โดยการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีทั้งเพียงแค่จัดแนวกระดูกใหม่ ปรับ กรอกระดูกให้ผิวเรียบสม่ำเสมอ เปลี่ยนกระดูกข้อเข่าเฉพาะส่วน หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ระดับความรุนแรงของการเสื่อมสภาพที่ข้อเข่าของผู้ป่วย
วิธีการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีทั้งแบบผ่าตัดแผลเปิด และแบบผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ส่องกล้อง ขึ้นอยู่กับลักษณะที่ต้องการแก้ไข หากเป็นเพียงจัดแนวกระดูก ซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด หมอนรองกระดูกข้อเข่าขาด กระดูกอ่อนแตก ก็มักจะใช้การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแบบส่องกล้อง
แต่หากต้องมีการตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าใหม่ นำอวัยวะเทียมเข้าไปแทนที่ก็อาจไม่สามารถผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแบบส่องกล้องได้ จะเป็นการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแบบเปิดแผลยาวแทน
ข้อเข่าเทียม (Knee Joint Prosthesis) คืออะไร
ข้อเข่าเทียม (Knee Joint Prosthesis) เป็นอวัยวะเทียมที่จะมาทำหน้าที่ทดแทนอวัยวะที่เสื่อมสภาพไป โดยเวลาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมจะตัดกระดูกส่วนที่เสื่อมออกไปก่อน จากนั้นส่วนที่ถูกตัดไปจะแทนที่ด้วยโลหะและพลาสติกที่เป็นเกรดทางการแพทย์ที่ไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ กับร่างกายและไม่เกิดการต่อต้านอวัยวะเทียม
การใส่ข้อเข่าเทียมมักจะใช้โลหะทรงมน ที่เข้ากับโครงสร้างของกระดูกต้นขามาเสริมส่วนล่างของกระดูกต้นขา และใช้โลหะพื้นเรียบเสริมกระดูกส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง และในขณะเดียวกันก็ใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ดีมารองระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ทำหน้าที่เสมือนกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูก และอาจมีการปรับพื้นกระดูกลูกสะบ้าด้วยพลาสติกด้วย
ข้อเข่าเทียม ทำมาจากวัสดุอะไร
ข้อเข่าเทียมทำจากวัสดุโลหะสังเคราะห์และพลาสติก ซึ่งวัสดุที่มักนำมาใช้เป็นข้อเข่าเทียมได้แก่ ไทเทเนียม โคบอลต์โครเมียม เซรามิก ส่วนพลาสติกก็จะเป็นพลาสติกพิเศษ (Polyethylene) ที่มีความทนทานสูง
ประเภทของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดข้อเข่าเทียมสามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement)
ผ่าตัดข้อเข่าเทียมโดยตัดผิดข้อทั้งส่วนล่างของกระดูกต้นขากับส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง แล้วแทนที่ด้วยโลหะ ตรงระหว่างกระดูกทั้งสองจะมีแผ่นพลาสติกกั้น
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง (Unicompartmental Knee Replacement)
หากอาการเสื่อมไม่เกิดทั้งหมด แพทย์อาจเลือกการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเฉพาะด้านที่เสื่อมเท่านั้น โดยตัดทั้งกระดูกส่วนล่างของกระดูกต้นขาและส่วนบนของกระดูกหน้าแข้งเพียงด้านที่มีอาการเสื่อม และแทนที่ด้วยโลหะกั้นด้วยแผ่นพลาสติก การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแบบนี้จะช่วยให้สามารถเก็บผิวข้อเข่าที่ยังสภาพดีไว้ได้ ลดอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด และทำให้การใช้งานข้อเข่าใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด
ใครที่ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
หากใครมีอาการเหล่านี้ อาจหมายถึงโรคข้อเข่าเสื่อม ควรเข้าพบแพทย์และรับการรักษาอยากถูกต้อง
- ปวดเข่า
อาการเด่นสุดของโรคข้อเข่าเสื่อมคืออาการปวดเข่า โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหวเข่าผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเข่ามาก ไม่ว่าจะขึ้นลงบันได ขณะเดินหรือยืนนาน ๆ แม้กระทั่งการเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน จากยืนเป็นนั่งและยิ่งหากอาการปวดเข่ารุนแรงมากอาจทำให้ไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ หรือสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวได้เลย
- ข้อเข่าอักเสบ บวมแดง
โรคข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลางและระยะรุนแรงอาจพบการอักเสบบริเวณข้อเข่า จากการที่น้ำไขข้ออักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมาก แม้อยู่เฉย ๆ ก็สามารถรู้สึกเจ็บปวดได้ หากพบอาการนี้ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาการอักเสบอาจส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบ หรือข้อติดเชื้อได้
- ข้อเข่าผิดรูป
ฐานมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ หากฐานล้มส่วนบน ๆ ก็พลอยล้มตามไปด้วย เช่นเดียวกับเข่าที่เป็นจุดรับน้ำหนักของร่างกาย หากข้อเข่างอ ขาโก่งผิดรูปจะทำให้ร่างกายเสียความสมดุลไป มักจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดสะโพก และหากร้ายแรงก็สามารถส่งผลให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้เลย
- งอเข่า เหยียดเข่าได้ไม่สุด หรือไม่สามารถทำได้
ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรงแล้วมักจะเกิดอาการงอ เหยียดเข่าได้ไม่สุดหรือทำไม่ได้เลย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการใช้งานเข่าให้มากที่สุด แต่เมื่อไม่ใช้งาน กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าก็ลีบฝ่อไปด้วย ทำให้อาการปวดกลับยิ่งรุนแรงมากขึ้น
อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง ซึ่งเป็นระยะที่มักจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบประคับประคอง จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมโดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใหม่ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานเข่าได้อีกครั้ง
การตรวจวินิจฉัยอาการข้อเข่าเสื่อม
เมื่อสงสัยว่าตนเองกำลังเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมและเข้าพบแพทย์ จะมีการตรวจคัดกรองโรคด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้จะนำมาประกอบการวินิจฉัยต่อไป
- ซักถามประวัติ อาการที่ผู้ป่วยพบเจอ ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าว่าอยู่ในระดับใด
- ตรวจสภาพข้อเข่าภายนอก มีอาการบวมแดงอักเสบหรือไม่ กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรงไหม
- ตรวจสภาพข้อเข่าว่ามีความเสียหายหรือไม่ เสียหายมากน้อยเพียงใดด้วยการเอกซเรย์
- หากแพทย์สงสัยว่าอาการคล้ายกับโรคข้ออื่น ๆ ในบางครั้งแพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคข้อเข่าเสื่อมออก เช่นการตรวจเลือด การทำ MRI
วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะต้องมีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับผ่าตัด เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด และได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
- ตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หรือไม่ แต่การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมส่วนมากมักจะเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นอาจจำเป็นต้องตรวจร่างกายค่อนข้างละเอียด เช่น ตรวจกับแพทย์อายุกรรมโรคหัวใจ เป็นต้น
- แพทย์จะขอเก็บตัวอย่าง เช่น เลือด ปัสสาวะ นำส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
- การเอกซเรย์ หรือ MRI ดูสภาพข้อเข่าอย่างละเอียดก่อนการผ่าตัด เพื่อที่จะวางแผนการผ่าตัดให้ดีที่สุด
- เตรียมบริเวณที่จะต้องผ่าตัดให้พร้อม แพทย์อาจให้น้ำยาล้างบริเวณเข่า ให้ผู้ป่วยใช้ขณะอาบน้ำ เพื่อให้บริเวณที่ผ่าตัดสะอาดมากที่สุด
- หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือมีการใข้ยาประจำใด ๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนผ่าตัด เพราะยาบางประเภทอาจส่งผลร้ายแรงขณะผ่าตัดได้ เช่น ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
- หากผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ จะต้องรักษาให้หายก่อนเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม เพราะการติดเชื้อสามารถทำให้ข้อเข่าเทียมติดเชื้อได้
การจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับหลังผ่าตัด
นอกจากการเตรียมตัวก่อนเข้าผ่าตัด การเตรียมตัวให้พร้อมหลังผ่าตัดก็สำคัญกับผู้ป่วยอย่างยิ่ง เพราะหลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยอาจไม่สามารถใช้งานเข่าหรือช่วยเหลือตนเองได้ระยะหนึ่ง หากสถานที่พร้อมก็จะทำให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและฟื้นฟูร่างกายได้เต็มที่
- ควรมีผู้ช่วยเหลือในช่วงหลังผ่าตัด ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว เพราะผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก
- ติดตั้งราวจับตามผนังห้องน้ำ ทางเดิน เพื่อให้ผู้ป่วยใช้พยุงเดินได้
- ควรมีเก้าอี้ในห้องน้ำ เพื่อใช้นั่งขณะอาบน้ำได้
- ที่พักควรจะจัดอยู่ภายในชั้นเดียว งดการขึ้นลงบันได
ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
เมื่อแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจแล้วว่าจะเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะชี้แจงรายละเอียดการผ่าตัด การตรวจร่างกายผู้ป่วยเพิ่มเติม การแจ้งให้ผู้ป่วยเตรียมความพร้อม และการนัดผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม โดยมีขั้นตอนการผ่าตัดคร่าว ๆ ดังนี้
- ผู้ป่วยเข้าแอดมิดที่โรงพยาบาลก่อนเวลาผ่าตัด แพทย์จะเตรียมร่างกายผู้ป่วยให้พร้อมก่อนผ่าตัด เช่นการสวนทวาร เพื่อให้ภายในท้องไม่มีอุจจาระหลงเหลือ เป็นต้น
- เมื่อเข้าห้องผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะให้ผู้ป่วยดมยาสลบ หรืออาจฉีดยาระงับความรู้สึกที่ไขสันหลัง ซึ่งจะใช้วิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวิสัญญีแพทย์
- แพทย์ทำการเปิดแผนบริเวณเข่า ตัดเอาผิวข้อที่เสื่อมออกไป และนำผิวข้อเทียมที่ทำจากโลหะเข้ามาแทนที่ กั้นด้วยแผ่นพลาสติกที่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเพื่อรองรับแรงกระแทกและลดการเสียดสีของผิวข้อ การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมักใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง
- หลังผ่าตัดเสร็จแพทย์จะนำผู้ป่วยไปที่ห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการและรอให้ผู้ป่วยฟื้นจากยาสลบประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- เมื่อผู้ป่วยฟื้นจากยาสลบแล้วจะถูกส่งตัวไปยังห้องพักผู้ป่วยต่อไป
- ในช่วงแรกหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แพทย์อาจใส่สายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์สามารถดูปริมาณน้ำในร่างกายผู้ป่วยได้ อีกทั้งในช่วงผ่าตัดแรก ๆ ผู้ป่วยจะไม่สามารถลงน้ำหนักได้ทำให้ไม่สามารถเข้าทำธุระได้สะดวก
- แพทย์จะให้สารอาหาร น้ำเกลือผ่านเส้นเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
- แพทย์อาจมีการให้เลือดผู้ป่วยเพิ่มเติม หากผู้ป่วยเสียเลือดขณะผ่าตัดมาก และมักจะต่อท่อระบายเลือดที่บริเวณผ่าตัดจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- ระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาล อาจมีการให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรงขึ้น และเมื่อผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้แล้ว ไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ก็สามารถพักฟื้นต่อที่บ้านได้
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมก็มีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่น ๆ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีดังนี้
- การติดเชื้อ : เพราะการผ่าตัดจะต้องเปิดแผล ทำให้มีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อได้ แต่ในปัจจุบันนี้โอกาสติดเชื้อจากการผ่าตัดพบได้น้อยมาก
- หัวใจวาย : หากการผ่าตัดมีการเสียเลือดมาก อาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดอาการหัวใจวายได้
- ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน : หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมอาจพบลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจได้ ส่งผลให้เกิดภาวะผิดปกติกับหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ไม่มีการผ่าตัดใดที่มีอัตราการผ่าตัดสำเร็จ 100% แต่สามารถกำจัดปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้มากที่สุด
แนวทางปฏิบัติหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้ดีอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ดูแลตนเองให้ดีก็อาจทำให้กลับไปข้อเข่าเสื่อมอีกครั้งได้เช่นกัน หรือหากร้ายแรงก็อาจเกิดการติดเชื้อภายหลังได้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
- การใช้ไม้พยุงช่วยรับน้ำหนัก
ในช่วงแรก ๆ ของการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยไม่ควรให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากจนเกินไป สามารถใช้ไม้พยุงเพื่อรับน้ำหนักแทนข้อเข่าได้
- บริหารกล้ามเนื้อบริเวณรอบเข่าอย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมักจะมีความกังวลในการใช้งานข้อเข่า ถึงแม้ว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข้าไปแล้วก็ตามก็ยังคงหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าเช่นเดิม ซึ่งการกระทำนี้กลับทำให้อาการปวดเข่ามากขึ้น อันเนื่องมาจากไม่มีกล้ามเนื้อที่คอยซัพพอร์ตข้อเข่านั่นเอง
ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า ฝึกการเหยียด งอข้อเข่า เพื่อให้ข้อเข่าแข็งแรงสามารถใช้งานได้เป็นปกติและยืดอายุการใช้งานข้อเข่าให้นานขึ้น
- การทำกายภาพบำบัด
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมสามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงขึ้นได้ และการทำกายภาพบำบัดนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้งานเข่าเป็นปกติเร็วขึ้น
- ระวังการติดเชื้อ
ในช่วง 2 ปีหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม หากผู้ป่วยจำเป็นต้องทำฟันหรือส่องกล้องตรวจระบบปัสสาวะหรือเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อรับยาปฏิชีวนะก่อนจะทำหัตถการใด ๆ เพราะหากเกิดการติดเชื้อบริเวณดังกล่าว อาจทำให้ข้อเข่าเทียมเกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ที่ไหนดี
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นตัวชี้วัดเลยว่าผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้อีกหรือไม่ การเลือกสถานพยาบาลรักษาจึงสำคัญมาก จะเข้าผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดีสามารถดูได้จาก
- สถานพยาบาลนั้นควรมีแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะ หากเป็นไปได้ควรเลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์มากและมีเคสประสบความสำเร็จสูง
- สถานพยาบาลนั้นจะต้องปลอดภัย สะอาด มีมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นไปอย่างปลอดภัย
- สถานพยาบาลนั้นควรจะมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ มีทัศนคติที่ดีในการบริการผู้ป่วย
- สถานพยาบาลนั้นควรมีทางเลือกการรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมให้ผู้ป่วยได้เลือกหลากหลาย
- ผู้ป่วยควรเลือกสถานพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายไม่มากเกินกำลังของตน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานยาวนานเท่าไหร่
ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10-20 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานข้อเข่าของผู้ป่วยแต่ละราย ความเชี่ยวชาญของแพทย์ และวัสดุของข้อเข่าเทียม
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมกี่วันถึงเดินได้ปกติ
ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมผู้ป่วยสามารถเดินได้โดยใช้ไม้พยุง และหลังจากนั้นผู้ป่วยอาจสามารถเดินได้เป็นปกติโดยไม่ต้องใช้ไม้พยุง
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมพักฟื้นกี่วัน
หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแล้วปกติแพทย์จะให้ผู้ป่วยพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 4-10 วัน หากผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักได้บ้างแล้ว พอเดินได้บ้าง และไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ก็จะให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อได้
ข้อสรุป
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่สามารถแก้ปัญหาอาการปวดเข่า ปัญหาการใช้งานข้อเข่าได้ดีที่สุด แต่ทุกการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยง จึงมักเป็นตัวเลือกสุดท้ายหากการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรดูแลข้อเข่าตนเองให้ดี หลีกเลี่ยงการเร่งให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น เพื่อไม่ให้อาการเสื่อมของข้อเข่ารุนแรงจนต้องผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง แต่หากข้อเข่าเสื่อมและผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแล้วก็ยิ่งต้องดูแลตนเองให้ดี เพราะหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแล้วผู้ป่วยยังสามารถกลับมาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้อีกหากมีการใช้งานไม่เหมาะสม